"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ฮอลลีวูดเขาคัดเลือกนวนิยายเอาไปทำเป็นภาพยนตร์อย่างไร

 จากหนังสือสู่ภาพยนตร์ / ตามรอยคึกฤทธิ์

ทองแถม นาถจำนง5/6/2552

 

                                                                       จากหนังสือสู่ภาพยนตร์

 

                บทเรียนเรื่องฮอลลีวูดเขาคัดเลือกนวนิยายเอาไปทำเป็นภาพยนตร์อย่างไร   น่าสนใจมาก   วันนี้ขอนำเสนอต่อไปดังนี้

                ผู้ที่เป็นบรรณาธิการของสำนักงานหาเรื่องจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ มากมาย  ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  เป็นต้นว่าจะหาดารามาแสดงให้เหมาะสมกับเค้าเรื่องได้หรือไม่   จะต้องใช้ทุนรอนประมาณสักเท่าไรในการสร้างเป็นภาพยนตร์  เมื่อทำเป็นภาพยนตร์แล้วจะฉายในต่างประเทศได้ดีเพียงไร  เรื่องที่กำลังพิจารรานั้นเหมือนกับภาพยนตร์เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เคยทำมาแล้วหรือไม่  เมื่อทำเป็นภาพยนตร์ขึ้นแล้ว  เรื่องนั้นจะเป็นอย่างไรบ้าง  จะถูกเซนเซอร์หรือไม่และที่ตรงไหนบ้าง   บรรณาธิการจะต้องพิจารณาอีกด้วยว่า  เรื่องนั้นเป็นบทละครหรือเป็นหนังสือนวนิยาย  เมื่อนำขึ้นเล่าบนเวทีแล้วจะมีคนดูมากหรือไม่  หรือเมื่อพิมพ์เป็นเล่มออกจำหน่ายแล้วจะมีคนอ่านมากหรือไม่  ในการนี้บรรณาธิการจะต้องคิดล่วงหน้าเป็นเวลาแรมเดือนหรือแรมปีก่อนที่ละครจะขึ้นเวทีหรือก่อนหนังสือจะพิมพ์เสร็จออกจำหน่าย  และจะต้องคำนึงไว้ด้วยว่าเรื่องที่กำลังพิจารณานั้นกว่าจะทำเป็นภาพยนตร์เสร็จก็อาจกินเวลาอีกสองหรือสามปี  ถึงตอนนั้นคนดูหนังจะว่าอย่างไรบ้าง

                การทำงานของพวกบรรณาธิการต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว  เป็นการทำงานแข่งกับเวลาโดยแท้  ความผิดพลาดก็ย่อมจะมีมากเป็นธรรมดา  ในปีหนึ่ง ๆ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่ฮอลลีวูดจะซื้อเรื่องประมาณ 500 หรือ 600 เรื่อง   แต่เรื่องที่จะเอามาทำภาพยนตร์ได้เพียงราว ๆ  300 เรื่องหรือน้อยกว่านั้น   สำหรับเรื่องที่เหลือนั้นจะเรียกว่าเสียเปล่าก็ไม่ได้  เพราะฮอลลีวูดจะเก็บไว้ดัดแปลงแก้ไขทำภาพยนตร์ต่อไป  จะทิ้งจริง ๆ เพียงร้อยละ 5 เท่านั้น   เรื่องที่ยังเอามาทำภาพยนตร์ไม่ได้นั้น  จะได้รับการพิจารณาแล้วพิจารณาอีก  จะถูกส่งให้คนเขียนบทภาพยนตร์คนนั้นบ้างคนนี้บ้างลองเขียนดู  เผื่อว่าอาจมีใครสามารถทำเป็นบทภาพยนตร์ขึ้นได้บางเรื่อง   เช่นเรื่องอั๊กลี่อเมริกันก็แต่งขึ้นใหม่เลย  ไม่ตรงกับเรื่องในหนังสือ  คงเหลือที่ตรงกันแต่ชื่อเรื่อง ประเทศ  และตัวบุคคลบางคนเท่านั้น  ทั้งนี้เพราะคนแต่งเรื่องอั๊กลี่อเมริกันยังเป็นนักเขียนหน้าใหม่  แฟนยังน้อย  ฮอลลีวูดก็ดัดแปลงเรื่องเอาได้ตามใจ  แต่ถ้าหากไผเจอเรื่องของนักเขียนหน้าเก่าที่มีแฟนทั่วประเทศ  มีคนรู้จักสำนวนและลีลาการประพันธ์แล้วเป็นจำนวนมากมายและเป็นอย่างดี   ฮอลลีวูดก็ไม่กล้าเปลี่ยนเรื่องหรือเปลี่ยนลีลาเหมือนกัน   และภาพยนตร์เรื่อง “The night of the Iguana” (คืนนั้นสวรรค์มืด) ซึ่งเคยฉายในกรุงเทพก็
เป็นตัวอย่างอันดีของกรณีที่กำลังพูดถึงนี้
                นายเทนเนสซี  วิลเลียมส์  เป็นนักเขียนที่ชาวอเมริกันนิยมและยกย่องทั่วประเทศ  เพราะนายเทนเนสซี วิลเลียมส์ เขียนหนังสือไม่เหมือนใคร  เขาเขียนเรื่องที่เกี่ยวกับกิเลสและตัณหาของคนอย่างไม่ปิดบัง  และภาษาที่ใช้ก็มักจะเป็นคำพูดตรงๆ อย่างที่คนธรรมดามักจะกระดากไม่นำมาใช้   บางทีนายเทนเนสซี
วิลเลียมส์ก็แนะทางออกในปัญหาศีลธรรมอย่างแหวกแนว  ไม่อยู่ในกรอบที่สังคมยอมรับกันทั่วไป  อย่างในเรื่อง คืนแห่งอิกวานา หรือ คืนนั้นสวรรค์มืด นั้น   นายเทนเนสซี วิลเลียมส์ได้เขียนถึงคนหลายคนที่มีกิเลสตัณหาอยู่ในใจอย่างรุนแรง  และชีวิตก็ต้องดิ้นรนและมีทุกข์  เพราะแต่ละคนไม่ยอมรับในกิเลสตัณหานั้น   และพยายามผูกมัดมันไว้เหมือนกับที่เขาเอาตัวอิกวานาผูกไว้  สัตว์ตัวนั้นก็ดิ้นรนเพื่อหาอิสรภาพ  พระฝรั่งที่ถูกสึกแล้วคนหนึ่ง (นายริชาร์ด เบอร์ตัน) ต้องเดือดร้อนวุ่นวายเพราะพยายามผูกมัดกามกอเลสในใจตน   ครูสาวแก่คนหนึ่งหาความสุขไม่ได้เพราะมีความรู้สึกในจิตใต้สำนึกอยากจะเล่นเพื่อนกับเด็กสาวที่ตนเป็นผู้ดูแล     สาวใหญ่คนหนึ่งที่ต้องหาเศษหาเลยกับเด็กหนุ่ม ๆ เพราะสามีปฏิบัติไม่ได้ถึงใจ (อาวา การ์ดเนอร์)  ก็กลายเป็นคนวู่วามคุ้มดีคุ้มร้าย  ชีวิตของทุกคนในเรื่องไม่มีปกติสุข  เพราะแต่ละคนไม่ยอมรับรู้ในกิเลสตัณหาของตน  แต่กลับไปมัดมันไว้เหมือนกับตัวอิกวานามันดิ้นอยู่ในอก  ทุกคนก็เดือดร้อนไปต่าง ๆ กัน  บางคนอาละวาดทางกายถึงกับจับมันมัดเอาไว้จริง ๆ   ในที่สุดก็มีศิลปินสาวทึมทึก (เดบอราห์ คาร์) ผู้ที่ได้ผ่านชีวิตผ่านกิเลสมามากแล้ว  มาแนะหนทางให้  วิธีนั้นเป็นวิธีแหวกแนว คือให้แก้มัดปล่อยตัวอิกวานาให้เป็นอิสระเสียเถิด  สงสารมัน  เมื่อตัวอิกวานาในหัวใจของแต่ละคนถูกตัดปล่อยเป็นอิสระแล้ว  ชีวิตของทุกคนก็เป็นปกติสุข   (เมืองมายา)
http://www.siamrath.co.th/uifont/Articledetail.aspx?nid=3469&acid=3469

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew