เปิด FTA ภาคขนส่ง-โลจิสติกส์ (จบ) ผู้ประกอบการไทยจะอยู่รอดและปรับตัวอย่างไร ?
นายสุวิทย์ รัตนจินดา ประธานสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์และนายกสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (TIFFA) กล่าวในฐานะประธานกลุ่มการขนส่งทางน้ำ ว่า ปัญหาการขนส่งทางน้ำจากการเปิดเสรีทางการค้า ทางกลุ่มได้มีการพิจารณาในภาพรวมของกลุ่มอาเซียนแล้วเห็นว่า ประเทศที่น่าจะเป็นคู่แข่งของไทยคงจะเป็นประเทศสิงคโปร์กับมาเลเซีย
ทั้งนี้ปัญหาใหญ่สรุปได้ 7 ประเด็นหลัก ได้แก่
ทั้งนี้ปัญหาใหญ่สรุปได้ 7 ประเด็นหลัก ได้แก่
1.ประเด็นการโอนสัญชาติของกลุ่มชาติไม่ใช่กลุ่มอาเซียนมาเป็นกลุ่มอาเซียน เพื่อดำเนินธุรกรรมในกลุ่มประเทศ อาเซียน แล้วสามารถเข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทยได้ ยกตัวอย่าง มีบริษัทข้ามชาติไปเปิดบริษัทในสิงคโปร์ ถือสัญชาติสิงคโปร์ ถือว่าได้สิทธิที่จะมาลงทุนในประเทศไทยฐานะประเทศในกลุ่มอาเซียน เรื่องนี้คือช่องโหว่ทางกฎหมายที่เป็นข้อผูกพันในอาเซียน เพราะฉะนั้นแนวทางแก้ไขคิดว่ารัฐบาลควรมีมาตรการป้องกันและตรวจสอบการเข้ามาของกลุ่มชาติที่ไม่ใช่กลุ่มอาเซียนที่มาใช้สิทธิประโยชน์ในการเปิดเสรี เช่น ตรวจสอบจากการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นในบริษัท กลุ่มบริษัทข้ามชาติเหล่านั้นมีต้นกำเนิดจากประเทศใด เพราะผู้ได้รับสิทธิควรจะเป็นบริษัทที่เป็นชาติในกลุ่มอาเซียนเท่านั้น
2.กลไกทางกฎหมายยังไม่สามารถตรวจสอบบริษัทที่แฝงตัวเป็นนอมินีได้ เพราะปัจจุบันยังไม่เปิดแข่งขันเสรี ยังมีปัญหาตรงนี้อยู่ เนื่องจากตอนนี้มีคนไทยเป็น นอมินีให้บริษัทข้ามชาติ จึงอยากให้รัฐบาลตรวจสอบอย่างเข้มข้นในประเด็นนี้
3.ผู้ประกอบการไทยยังขาดความสามารถและความพร้อมในการออกไปลงทุนในต่างประเทศ เพราะถ้าจะแข่งขันในเชิงรุกจำเป็นต้องสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการไทยไปขยายเครือข่ายกิจการลงทุนในต่างประเทศให้ได้ โดยกระทรวงพาณิชย์น่าจะมีบทบาทเข้ามาส่งเสริม ในการจัดทำ business matching ระหว่างผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ในอาเซียนด้วยกัน
4.บริษัทขนส่งทางน้ำของไทยมีเงินทุนจำกัด ถ้าเปิดเสรีทางการค้าจะส่งผลให้บริษัทขนส่งทางน้ำรายใหญ่ของต่างชาติเข้ามาซื้อกิจการของคนไทยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการขนส่งทางเรือภายในประเทศ โดยเฉพาะภาวะปัจจุบันปริมาณของเรือมีมากกว่าสินค้า ทุกคนขาดทุนอยู่แล้ว
เพราะฉะนั้นการเปิดเสรีจะทำให้คู่แข่งเข้ามาในระบบมากขึ้น เมื่อเปิดเสรีจะทำให้มีบริษัทใหญ่ๆ เข้ามาเทกโอเวอร์กิจการในบริษัทที่มีปัญหาขาดเงินทุนเหล่านี้ จะทำให้เกิดปัญหามากขึ้นในการเปิดเสรีดังนั้นต้องเสริมสร้างกรอบความร่วมมือระหว่างภาคการขนส่งประเภทต่างๆ เช่น ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และตัวแทนออกของเข้าด้วยกัน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของผู้ประกอบการไทย
5.ข้อจำกัดด้านเงินทุน เทคโนโลยี องค์ความรู้ที่จะทำให้ผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เช่น ประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย ดังนั้นรัฐบาลควรจะจัดสรรเงินทุนในการอบรมด้านเทคโนโลยี บุคลากร และองค์ความรู้ต่างๆ ให้แก่ภาคเอกชน ก่อนเปิดเสรีควรมีการจัดสรรงบประมาณมาช่วยเหลือ ผู้ประกอบการของไทย
6.การเปิดเสรีอาจจะทำให้เกิดผลดีระยะสั้น แต่ระยะยาวอาจทำให้เกิดการผูกขาดของผู้ประกอบการรายใหญ่ โดยการเปิดเสรีในภาคผู้ใช้บริการอาจมองว่าดี มีทางเลือกมากขึ้น มีการแข่งขันมากขึ้น ราคาจะถูกลง แต่ในระยะยาวหลังการเปิดเสรีแล้วผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดเล็กอยู่ไม่ได้ จะมีข้อจำกัด เหลือแต่ผู้ประกอบการรายใหญ่จะเกิดการผูกขาด จะทำให้ต้นทุนในการขนส่งและการใช้บริการสูงขึ้น ดังนั้นภาครัฐควรมีการออก พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทย เรามีการพูดเรื่องนี้ตั้งแต่เมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว มีการผลักดันเข้าสู่คณะกรรมการโลจิสติกส์แห่งชาติ แต่เรื่องนี้ก็ยังค้างอยู่ เราอยากเร่งรัดเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม
7.กฎระเบียบภาครัฐบางส่วน เช่น ระบบศุลกากรไม่มีการรองรับสถานะของ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ โดยเฉพาะประเด็น พ.ร.บ.ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ซึ่งออกโดยกระทรวงคมนาคม เป็นกฎหมายเรียบร้อยแล้ว แต่กรมศุลกากรยังไม่มีการระบุสถานะของผู้ประกอบการ
เพราะฉะนั้นพอมีผู้ประกอบการเข้ามาเชื่อมโยงการขนส่งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศให้เกิดความคล่องตัว ระเบียบการของกรมศุลกากรไม่เอื้ออำนวยเป็นการขาดการบูรณาการในสถานะทางด้านกฎหมายของภาครัฐ ทั้งที่ควร จะไปพร้อมกัน
ดังนั้นภาครัฐควรจะมีการบูรณาการกฎระเบียบและฐานข้อมูลของกรมศุลกากรให้การรองรับสถานะของผู้ให้บริการการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบโดยเร็ว
หมายเหตุ - สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้จัดเสวนาระดมความคิดเห็นเรื่อง "เปิด FTA ภาคขนส่งโลจิสติกส์...ผู้ประกอบการไทยจะอยู่รอดและปรับตัวอย่างไร ? โดยรวบรวมและนำเสนอแนวทางความต้องการของภาคธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มผู้ให้บริการทางบกและทางราง 2.กลุ่มผู้ให้บริการทางน้ำ 3.กลุ่มผู้ให้บริการทางอากาศ และ 4.กลุ่มผู้ให้บริการตัวแทนออกของและชิปปิ้ง
หน้า 10
2.กลไกทางกฎหมายยังไม่สามารถตรวจสอบบริษัทที่แฝงตัวเป็นนอมินีได้ เพราะปัจจุบันยังไม่เปิดแข่งขันเสรี ยังมีปัญหาตรงนี้อยู่ เนื่องจากตอนนี้มีคนไทยเป็น นอมินีให้บริษัทข้ามชาติ จึงอยากให้รัฐบาลตรวจสอบอย่างเข้มข้นในประเด็นนี้
3.ผู้ประกอบการไทยยังขาดความสามารถและความพร้อมในการออกไปลงทุนในต่างประเทศ เพราะถ้าจะแข่งขันในเชิงรุกจำเป็นต้องสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการไทยไปขยายเครือข่ายกิจการลงทุนในต่างประเทศให้ได้ โดยกระทรวงพาณิชย์น่าจะมีบทบาทเข้ามาส่งเสริม ในการจัดทำ business matching ระหว่างผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ในอาเซียนด้วยกัน
4.บริษัทขนส่งทางน้ำของไทยมีเงินทุนจำกัด ถ้าเปิดเสรีทางการค้าจะส่งผลให้บริษัทขนส่งทางน้ำรายใหญ่ของต่างชาติเข้ามาซื้อกิจการของคนไทยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการขนส่งทางเรือภายในประเทศ โดยเฉพาะภาวะปัจจุบันปริมาณของเรือมีมากกว่าสินค้า ทุกคนขาดทุนอยู่แล้ว
เพราะฉะนั้นการเปิดเสรีจะทำให้คู่แข่งเข้ามาในระบบมากขึ้น เมื่อเปิดเสรีจะทำให้มีบริษัทใหญ่ๆ เข้ามาเทกโอเวอร์กิจการในบริษัทที่มีปัญหาขาดเงินทุนเหล่านี้ จะทำให้เกิดปัญหามากขึ้นในการเปิดเสรีดังนั้นต้องเสริมสร้างกรอบความร่วมมือระหว่างภาคการขนส่งประเภทต่างๆ เช่น ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และตัวแทนออกของเข้าด้วยกัน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของผู้ประกอบการไทย
5.ข้อจำกัดด้านเงินทุน เทคโนโลยี องค์ความรู้ที่จะทำให้ผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เช่น ประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย ดังนั้นรัฐบาลควรจะจัดสรรเงินทุนในการอบรมด้านเทคโนโลยี บุคลากร และองค์ความรู้ต่างๆ ให้แก่ภาคเอกชน ก่อนเปิดเสรีควรมีการจัดสรรงบประมาณมาช่วยเหลือ ผู้ประกอบการของไทย
6.การเปิดเสรีอาจจะทำให้เกิดผลดีระยะสั้น แต่ระยะยาวอาจทำให้เกิดการผูกขาดของผู้ประกอบการรายใหญ่ โดยการเปิดเสรีในภาคผู้ใช้บริการอาจมองว่าดี มีทางเลือกมากขึ้น มีการแข่งขันมากขึ้น ราคาจะถูกลง แต่ในระยะยาวหลังการเปิดเสรีแล้วผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดเล็กอยู่ไม่ได้ จะมีข้อจำกัด เหลือแต่ผู้ประกอบการรายใหญ่จะเกิดการผูกขาด จะทำให้ต้นทุนในการขนส่งและการใช้บริการสูงขึ้น ดังนั้นภาครัฐควรมีการออก พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทย เรามีการพูดเรื่องนี้ตั้งแต่เมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว มีการผลักดันเข้าสู่คณะกรรมการโลจิสติกส์แห่งชาติ แต่เรื่องนี้ก็ยังค้างอยู่ เราอยากเร่งรัดเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม
7.กฎระเบียบภาครัฐบางส่วน เช่น ระบบศุลกากรไม่มีการรองรับสถานะของ ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ โดยเฉพาะประเด็น พ.ร.บ.ผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ซึ่งออกโดยกระทรวงคมนาคม เป็นกฎหมายเรียบร้อยแล้ว แต่กรมศุลกากรยังไม่มีการระบุสถานะของผู้ประกอบการ
เพราะฉะนั้นพอมีผู้ประกอบการเข้ามาเชื่อมโยงการขนส่งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศให้เกิดความคล่องตัว ระเบียบการของกรมศุลกากรไม่เอื้ออำนวยเป็นการขาดการบูรณาการในสถานะทางด้านกฎหมายของภาครัฐ ทั้งที่ควร จะไปพร้อมกัน
ดังนั้นภาครัฐควรจะมีการบูรณาการกฎระเบียบและฐานข้อมูลของกรมศุลกากรให้การรองรับสถานะของผู้ให้บริการการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบโดยเร็ว
หมายเหตุ - สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้จัดเสวนาระดมความคิดเห็นเรื่อง "เปิด FTA ภาคขนส่งโลจิสติกส์...ผู้ประกอบการไทยจะอยู่รอดและปรับตัวอย่างไร ? โดยรวบรวมและนำเสนอแนวทางความต้องการของภาคธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มผู้ให้บริการทางบกและทางราง 2.กลุ่มผู้ให้บริการทางน้ำ 3.กลุ่มผู้ให้บริการทางอากาศ และ 4.กลุ่มผู้ให้บริการตัวแทนออกของและชิปปิ้ง
หน้า 10
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น