"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประชาไท | Prachatai.com



 From: ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์ <service@prachatai.com>
Date: มิ.ย. 11, 2009 5:02 ก่อนเที่ยง
Subject: ประชาไท | Prachatai.com
To: 

ประชาไท | Prachatai.com
Add to Google

Link to ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์

กระทรวงยุติธรรม ตั้งศูนย์ข้อมูลความมั่นคงจังหวัดภาคใต้

Posted: 10 Jun 2009 02:45 PM PDT

<!--break-->

ที่กระทรวงยุติธรรม นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ รองอธิบดีและโฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และนายสมโชค บุญกำเนิด รองผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ร่วมแถลงข่าวถึงการตั้งศูนย์ข้อมูลความมั่นคงจังหวัดภาคใต้ โดยได้นำเครื่องจีทีสแกน ซึ่งสามารถสแกนร่องรอยสารเสพติด ระเบิดและอาวุธปืน มาประกอบการแถลงข่าว

นายชาญเชาว์ กล่าวว่า ศูนย์ข้อมูลความมั่นคงจังหวัดภาคใต้ เป็นการทำงานร่วมกันของผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการพิสูจน์หลักฐาน ดีเอ็นเอ สารพันธุกรรม วัตถุพยานในการคลี่คลายคดี และผู้เชี่ยวชาญจากดีเอสไอ ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการประมวลข้อมูลมีความถนัดด้านการสื่อสารอิเล็กทรอนิคส์ และด้านการสืบสวนสอบสวน ทั้ง 2 หน่วยงานเอามารวมกันในส่วนนี้ หากทหารในพื้นที่สงสัยได้เบาะแสมาเบื้องต้นต้องการขยายผล ก็ติดต่อมาที่ศูนย์ข้อมูลฯ โดยไม่ใช่หน่วยปฏิบัติ ยกเว้นจะมีการขอให้เข้าไปที่เกิดเหตุ

“ผมต้องสร้างศูนย์ข้อมูลฯ นี้ขึ้นมาเพื่อให้การข่าวจับต้องได้และโปร่งใส เป็นเทคนิคในการบริหารกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพราะถ้าเราปล่อยให้การข่าวเป็นเรื่องการสืบสวนเพียงอย่างเดียวและเป็นการซื้อข่าวโดยไม่มีการจัดระบบ จะเป็นสิ่งที่ไม่มีหลักประกันให้กับประชาชน การจัดระบบฐานข้อมูลเป็นวิธีหนึ่งในการสร้างสมดุลและถ้าพัฒนาสำเร็จจะพัฒนาเป็นการสร้างศูนย์ข้อมูลอาชญากรรม คราวนั้นจะเป็นพยานหลักฐานได้ เราจะไม่ปล่อยให้งานด้านการข่าวเป็นเรื่องของการซื้อข่าว ลอยลม หรือเป็นสายลับ นี่เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการบริหารจัดการเพื่อความโปร่งใส” นายชาญเชาว์กล่าว

นายชาญเชาว์ กล่าวด้วยว่า ประชาชนที่ให้ข้อมูลเป็นเบาะแสกับศูนย์ฯ จะเป็นการให้ข้อมูลในทางลับ หากมีการเปิดเผยหรือต้องไปเบิกความต่อศาลเป็นพยานให้การพนักงานสอบสวน ก็จะมีการคุ้มครองพยานชัดเจน ส่วนการรวบรวมข้อมูลทุกประเภท ในส่วนงานนิติวิทยาศาสตร์ มี 2 ด้านประกอบด้วยการพิสูจน์ที่สามารถยืนยันได้เลยว่าคนร้ายคือใครและอีกด้านหนึ่ง เมื่อพิสูจน์แล้วอาจไม่ใช่พยานหลักฐานที่ศาลจะลงโทษได้ทันทีและเป็นเพียงแต่การชี้ช่อง ดังนั้นประโยชน์สูงสุดที่ชาวบ้านจะได้ จึงต้องเอามารวมกันระหว่างคนที่เชี่ยวชาญด้านการสืบสวนสอบสวนและคนที่เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่ใช่นิติวิทยาศาสตร์บอกอะไรแล้วแปลว่าใช่เลย

“ในฐานข้อมูล ไม่ได้หมายความว่าทุกคนเป็นคนร้ายหมด ยกตัวอย่างเรื่องการติดต่อสื่อสาร ผมทำงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้มา 7 ปี เป็นไปได้ว่าเบอร์โทรศัพท์ผมก็อยู่ในนั้น เพราะฉะนั้นงานศูนย์ข้อมูลไม่ใช่ศูนย์ข้อมูลอาชญากรรม ชาวบ้านต้องมั่นใจ จึงต้องเน้นย้ำว่าข้อมูลหมายถึงอะไร ไม่ใช่ข้อมูลอาชญากรรม และไม่ใช่เหวี่ยงแหกับพี่น้องประชาชนไปเสียทุกคน วันนี้เราจะทำให้เห็นเลยว่าเรามีความโปร่งใส เป็นส่วนหนึ่งของงานการข่าว ฉะนั้นคนที่เอาประโยชน์ไปจากฐานข้อมูลของเราต้องเข้าใจตรงนี้” นายชาญเชาว์กล่าว

ถามถึงวิธีการรวบรวมข้อมูลของดีเอสไอว่ารวมถึงการดักฟังโทรศัพท์ซึ่งอาจละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่ นายชาญเชาว์ กล่าวว่า “ที่มาของฐานข้อมูลต้องได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าเป็นข้อมูลที่ได้มาจากการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเราไม่ถือว่าเป็นฐานข้อมูลในนี้”

ด้าน พ.ต.อ.ณรัชต์ กล่าวว่า เรื่องความมั่นคงกับสิทธิเสรีภาพต้องสมดุลกัน ถ้าในกรุงเทพฯ มีเหตุการณ์ปกติ ตำรวจทั่วไป กฎหมายธรรมดาดูแลได้ก็ว่าไป แต่เขตพื้นที่ภาคใต้มีการประกาศกฎอัยการศึก โดยหลักสากลเขาก็ต้องยอมแลกสิทธิเสรีภาพบางอย่างเพื่อควบคุมอาชญากรรม

พ.ต.อ.ณรัชต์ กล่าวว่า นับตั้งแต่มีเหตุการณ์ปล้นปืน เมื่อปี 2547 ดีเอสไอเริ่มสืบสวน รวมพยานจัดโครงสร้างกลุ่มงานความมั่นคง ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ภาคใต้อย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการทำงานในคดีพิเศษ 3-4 คดี ซึ่งเป็นที่สนใจ อาทิ คดีปล้นปืน ได้มีการออกหมายจับผู้ต้องหากับพวก คดีระเบิดหน้าโรงแรม ซี เอส ปัตตานี รวมถึงเหตุระเบิดในภาคใต้หลายแห่ง ภายหลังจากส่งเจ้าหน้าที่ไปทำงานร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทหารและตำรวจ ทางดีเอสไอก็ได้พบตัวตนของตัวเองที่เป็นจุดแข็ง คือความเชี่ยวชาญชำนาญในการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงในการรวบรวมข้อมูลการติดต่อสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ สื่อดิจิตอล ที่เชื่อมโยงผู้ต้องสงสัยที่เข้าข่ายกระทำความผิด

ขณะนี้มีฐานข้อมูลที่ใหญ่พอสมควรในการวิเคราะห์ข้อมูลส่งให้หน่วยงานความมั่นคงที่ร้องขอมา และต่อมามีสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ที่ทำงานร่วมกัน เคียงบ่าเคียงไหล่ตำรวจ  ทำให้เกิดการบูรณาการและได้รับความน่าเชื่อถือสูงมาก

นายสมโชค กล่าวว่า เครื่องจีทีสแกน สามารถตรวจสารเสพติด สารระเบิด หรือดีเอ็นเอผู้กระทำผิด ซึ่งนับแต่เกิดเหตุที่กรือเซะ และตากใบ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ก็ได้ลงไปช่วยเก็บข้อมูลกรณีภาคใต้ เริ่มเก็บดีเอ็นเอและวัตถุพยานขึ้นมาอย่างเป็นกิจจะลักษณะ จนขณะนี้เก็บมาแล้ว 22,193กรณี เป็นดีเอ็นเอที่มาจากตัวบุคคล 21,391 รายการและดีเอ็นเอจากวัตถุพยาน 802 รายการ ส่วนการใช้เครื่องมือตรวจสอบทางด้านนิติวิทยาศาสตร์นั้น บอกได้เพียงว่ามีสารปนเปื้อนหรือไม่ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าผู้เกี่ยวข้องสุจริตหรือไม่ เพราะขึ้นอยู่กับการสืบสวนสอบสวน นอกจากนั้น เมื่อเกิดเหตุระเบิด ทางนิติวิทยาศาสตร์ ก็สามารถใช้อุปกรณ์เครื่องมือช่วยเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ว่าจะมีเหตุระเบิดซ้ำอีกหรือไม่

“ในการปิดล้อมตรวจค้น ทางสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ไม่มีความเชี่ยวชาญเชิงกฎหมาย ที่อยู่ๆ เราจะดิ่งเข้าไปปิดล้อมตรวจค้นและตามอำนาจหน้าที่ของเราไม่ชัดขนาดนั้น แต่เราไปในฐานะผู้ช่วยของพนักงานสอบสวน ผู้ช่วยของทหารในภาคใต้ โดยเมื่อเจ้าหน้าที่ทหารตำรวจปิดล้อมก็ขอความร่วมมือเรา ในฐานะผู้ชำนาญการ ในที่สุดได้ดีเอ็นเอ บางครั้งเจอโทรศัพท์ เจอสารระเบิด เจอเทปพันสายไฟที่พันระเบิด รวมทั้งบุคคลต้องสงสัย เราเก็บเอามาเป็นฐานข้อมูลทั้งสิ้น เราเก็บมาตั้งแต่กรณีตากใบ วันดีคืนดี เราพบว่ามี นาย ก.นาย ข. ตั้งแต่รุ่นตากใบในปี 2547-48 วันดีคืนดี ณ ปี 2549-2550 เราไปพบดีเอ็นเอของคนที่อยู่ในที่เกิดเหตุในการวางระเบิดบ้าง ในบ้านหลังหนึ่งบ้าง ตรวจพบดีเอ็นเออันเดียวกับของนาย ก. นาย ข. เป็นการบ่งชี้ว่าอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับกลุ่มที่เริ่มทำงานที่ตากใบและเริ่มมากระจายงานในพื้นที่ต่างๆ ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ อันนี้คือสิ่งที่โยงกันเป็นระบบ ค่อนข้างเห็นชัด

ส่วนสถิติปี 2552 ที่ผ่านมา งานต่างๆ มีเยอะที่ไปช่วยทหารออกตรวจข้อมูล เก็บข้อมูลผู้ต้องสงสัย 900 กว่าคน ซึ่งเต็มใจให้เก็บข้อมูลเพื่อพิสูจน์ว่าไม่ได้ทำผิด ซึ่งคนที่ถูกเก็บดีเอ็นเอ ก็ระวังตัวเอง ไม่ไปทำผิดแน่นอนและได้ฝึกคนเหล่านี้ตรวจดีเอ็นเอด้วยเพราะเจ้าหน้าที่ของเราไม่พอ พบพานวัตถุซึ่งเป็นสารระเบิดและยาเสพติด 6 พันกว่ารายการ และสารประกอบวัตถุระเบิดอีก 6 ร้อยกว่า สารเสพติดอีก 177 รายการ รวมทั้งบุคคลสูญหาย อีก ปัจจุบันเรามีสาระบบ 149 รายการเฉพาะภาคใต้ ทั้งหมดนี้คือสาระที่ทำอยู่

ขอยกตัวอย่างเคสที่มีการเก็บและพบข้อเท็จจริงสามารถโยงมาจับกุมคนในการดำเนินคดีได้ คดีแรกลอบวางระเบิดทางรถไฟ ส่งผลให้มีการบาดเจ็บและเสียชีวิตที่ จ.นราธิวาส ซึ่งผลการตรวจฐานข้อมูลวัตถุพยานครั้งแรก พบว่าดีเอ็นเอหรือสารพันธุกรรมไปตรงกับผู้ต้องสงสัยที่ร่วมชุมนุมที่ตากใบ แล้วต่อมาได้ไปแจ้งพนักงานสอบสวนเข้าควบคุมดำเนินคดีตามขั้นตอน ตัวอย่างที่ 2 คือการส่งจดหมายข่มขู่ชาวบ้าน พอตรวจได้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ส่งจดหมายได้แลบลิ้นเลียซองก่อนปิดซอง แล้วตรงนั้นเอามาสกัดเป็นดีเอ็นเอส่วนบุคคลได้หรือแสตมป์ก็ด้วย ในที่สุดตรวจพบว่าเป็นวัตถุพยานที่ส่งจากเหตุการณ์ต่างๆ ใน จ.นราธิวาส ผลจากการปิดล้อมตรวจค้นเลยนำเอาบุคคลผู้ต้องสงสัยทั้งครอบครัวมาตรวจดีเอ็นเอแล้วจึงพบข้อเท็จจริงว่าเป็นดีเอ็นเอของคนในบ้านไหน อีกรายการหนึ่งคือเทปกาวที่พันระเบิดมีลายนิ้วมือติด ก็นำมาสกัดพบโยงใยกับกลุ่มคนที่ปฏิบัติงานด้านนี้ในที่อื่นๆ สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นใคร” นายสมโชคกล่าว

เมื่อถามถึงกรณีเหตุระเบิดล่าสุดในภาคใต้ พ.ต.อ.ณรัชต์ กล่าวว่า ทางเจ้าหน้าที่ได้ตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมต่างๆ ส่วนดีเอสไอได้ทำงานด้านการติดต่อสื่อสาร แต่ไม่สามารถบอกรายละเอียดได้ว่าทำอะไร เพื่อไม่ต้องการให้คนร้ายรู้เท่าทัน ส่วนกรณีเหตุระเบิดเมื่อ 2 วันที่แล้วก็คงมีการทำงานร่วมกัน แต่ชั้นนี้อาจจะเร็วเกินไปยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะเรียนให้ทราบได้ว่าเราวิเคราะห์ฟันธงได้ว่าเกิดอะไร

ด้านเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ ซึ่งปฏิบัติงานในพื้นที่ กล่าวว่า กรณีที่เจาะไอร้อง เมื่อฝ่ายข่าวสืบสวนมาได้ว่ากลุ่มใดต้องสงสัย ก็จะหาข้อมูลส่งมาให้เราวิเคราะห์เครือข่ายเพื่อเข้าปิดล้อมตรวจค้นเครือข่าย เพื่อตรวจสอบหาการกระทำผิดให้ได้

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่ามีกี่เครือข่าย เจ้าหน้าดีเอสไอ กล่าวว่า ฐานข้อมูลเก็บจากคดีพิเศษ อาทิยาเสพติด จากนั้นทำการเชื่อมโยงติดต่อขยายผลมาเรื่อยๆ ซึ่งจริงๆ แล้วจะเป็นกลุ่มก้อนใหญ่ โดยมีการเชื่อมกันอยู่โดย ไม่สามารถบอกเป็นจำนวนเครือข่ายได้ แต่เป็นกลุ่มก้อนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้ชี้ชัดจากพยานหลักฐานว่าเครือข่ายยาเสพติดเกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบในพื้นที่ เพราะระบุได้เพียงว่ามีการติดต่อกัน

ครส. ออกแถลงการณ์แนะรัฐใช้ยุทธศาสตร์การเมืองนำการทหาร แก้วิกฤติการณ์ความรุนแรงที่ภาคใต้

Posted: 10 Jun 2009 01:45 PM PDT

<!--break-->

(9 มิ.ย. 52) คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ออกแถลงการณ์ “วิกฤติการณ์ความรุนแรงที่ภาคใต้ กรณี 11 ศพที่มัสยิดอัลกูลกร” (บางแหล่งที่มาอ่าน มัสยิดอัลฟุรกอน) จากเหตุการณ์คนร้ายไม่ทราบฝ่ายและสังกัดใช้อาวุธสงครามกราดยิงมัสยิดอัลกูลกร ที่หมู่บ้านไอปาแย ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ขณะชาวบ้านกำลังทำพิธีละหมาดตามความเชื่อทางศาสนา เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 11 ราย และมีประชาชนได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก เมื่อเวลาประมาณ 20.30 น. ของวันที่ 8 มิถุนายนที่ผ่านมา

โดยเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ดำเนินการตรวจสอบและสอบสวนข้อเท็จจริงดังกล่าวอย่างเร่งด่วน เพื่อนำผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมให้ได้ เพราะสถานการณ์ดังกล่าวถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่เลวร้ายและอาจนำมาสู่สถานการณ์ที่ยากควบคุมในอนาคต ทั้งยังมีหลายเหตุการณ์ในอดีตที่เจ้าหน้าที่รัฐมาเป็นคู่กรณีความขัดแย้งในการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือคุกคามเสียเอง หลายกรณียังไม่ถูกคลี่คลายความเคลือบแคลงความสงสัยหรือได้รับความผิดตามกระบวนการยุติธรรม จนทำให้กระบวนการยุติธรรมล้มเหลวในการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ เยียวยาผู้ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในพื้นที่ความไม่สงบ ดังเช่นกรณีตากใบ

พร้อมให้รัฐบาลปฏิรูปการทำงานของกองทัพในพื้นที่ เพราะเป็นที่ชัดเจนว่าในขณะนี้ยังใช้นโยบายการทหารนำการเมือง โดยกองทัพมีอำนาจเด็ดขาดทั้งด้านการทหารและการพัฒนาที่ควรเป็นหน้าที่ของฝ่ายพลเรือน และควบคุม-กำกับการทำงานของกองทัพอย่างใกล้ชิด เพื่อให้นโยบายการแก้ปัญหาของรัฐบาลมีเอกภาพ ไม่มีหน่วยย่อยในการปฏิบัติการตามภารกิจที่สร้างความสับสนและเข้าใจผิด ไม่ให้เกิดข้อครหาว่าบางเหตุการณ์มีเจ้าหน้าที่และกลุ่มผลประโยชน์เกี่ยวข้อง เพราะเหตุการณ์ในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำของผู้ก่อการร้ายกลุ่มใดก็ตาม แต่ข้ออ้างของกองทัพก็ยังไม่สามารถสร้างความน่าเชื่อและความไว้วางในในพื้นที่ได้

ทั้งนี้ การที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้ในพื้นที่ ถือเป็นความบกพร่องอย่างร้ายแรงที่สุด และไม่มีทางที่จะสร้างความน่าเชื่อถือได้เลย หากยังทำงานแบบลูบหน้าปะจมูกในปัจจุบันนี้ หรือปล่อยให้เจ้าหน้าที่ที่กระทำผิดลอยนวลในอดีตที่ผ่านมา

“คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) เห็นว่า รัฐบาลจะต้องปฏิรูปกองทัพและการทำงานในพื้นที่อย่างเร่งด่วน ภายใต้หลักนิติรัฐ กระบวนการยุติธรรมและหลักการสิทธิมนุษยชน ให้รัฐบาลพลเรือนมีอำนาจเต็มในการกำกับดูแลกองทัพ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของการปกครองโดยพลเรือน โดยใช้ยุทธศาสตร์การเมืองนำการทหาร และให้มีการทบทวนและประเมิน พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ดังกล่าวอย่างจริงจัง” แถลงการณ์ระบุ

 
 
 
แถลงการณ์คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.)
วิกฤติการณ์ความรุนแรงที่ภาคใต้ กรณี 11 ศพที่มัสยิดอัลกูลกร
 
สืบเนื่องจากสถานการณ์ความรุนแรงและไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่รัฐบาลและกองทัพยังไม่สามารถแก้ไขเยียวยาสถานการณ์ได้ โดยล่าสุดเกิดเหตุการณ์ละเมิด-คุกคาม-ทำลายสิทธิมนุษยชนครั้งรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยคนร้ายไม่ทราบฝ่ายและสังกัดใช้อาวุธสงครามกราดยิงมัสยิดอัลกูลกร ที่หมู่บ้านไอปาแย ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ขณะชาวบ้านกำลังทำพิธีละหมาดตามความเชื่อทางศาสนา เมื่อเวลาประมาณ 20.30 น. ของวันที่ 8 มิถุนายนที่ผ่านมานั้น เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 11 ราย และมีประชาชนได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก
 
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ขอประณามผู้กระทำการอย่างโหดร้ายป่าเถื่อนดังกล่าว ไม่ว่าจะมาจากการกระทำของกลุ่มก่อความไม่สงบกลุ่มใด หรือบุคคลใด การฆาตกรรมหมู่อย่างโหดร้ายรุนแรงครั้งนี้ ถือเป็นสัญลักษณ์ของความบกพร่องของรัฐบาลและความล้มเหลวของกองทัพในการควบคุมสถานการณ์และแก้ปัญหาตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังไม่สามารถสร้างความไว้วางใจแก่ประชาชนในพื้นที่ได้ แม้ว่าโฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าจะออกมาแถลงว่า ยังไม่ทราบว่าเป็นการกระทำของกลุ่มใด และยืนยันว่าไม่ใช่การกระทำเพื่อสร้างสถานการณ์ของเจ้าหน้าที่รัฐอย่างแน่นอน แต่อาจเป็นการกระทำของกลุ่มก่อความไม่สงบเพื่อโยนความผิดให้เจ้าหน้าที่รัฐหรือเป็นเสี้ยมให้ประชาชนขัดแย้งกันเองก็ตาม คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ซึ่งได้ติดตามสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาโดยตลอด มีความเห็นและข้อเรียกร้องดังนี้
 
1. ขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ดำเนินการตรวจสอบและสอบสวนข้อเท็จจริงดังกล่าวอย่างเร่งด่วน เพื่อนำผู้กระทำการฆาตกรรมหมู่ครั้งนี้มาลงโทษตามกระบวนการยุติธรรมให้ได้ เพราะสถานการณ์ดังกล่าวถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่เลวร้ายและอาจนำมาสู่สถานการณ์ที่ยากควบคุมในอนาคต ท่ามกลางรอยร้าวที่ยากสมานท์ในพื้นที่และความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประชาชน ตลอดจนเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชนที่ไม่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ทั้งยังมีหลายเหตุการณ์ในอดีตที่เจ้าหน้าที่รัฐมาเป็นคู่กรณีความขัดแย้งในการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือคุกคามเสียเอง หลายกรณียังไม่ถูกคลี่คลายความเคลือบแคลงความสงสัยหรือได้รับความผิดตามกระบวนการยุติธรรม จนทำให้กระบวนการยุติธรรมล้มเหลวในการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ เยียวยาผู้ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในพื้นที่ความไม่สงบ ดังเช่นกรณีตากใบ เป็นต้น
 
2. ขอให้รัฐบาลปฏิรูปการทำงานของกองทัพในพื้นที่ เพราะเป็นที่ชัดเจนว่าในขณะนี้ ยังใช้นโยบายการทหารนำการเมือง โดยกองทัพมีอำนาจเด็ดขาดทั้งด้านการทหารและการพัฒนาที่ควรเป็นหน้าที่ของฝ่ายพลเรือน และควบคุม-กำกับการทำงานของกองทัพอย่างใกล้ชิด เพื่อให้นโยบายการแก้ปัญหาของรัฐบาลมีเอกภาพ ไม่มีหน่วยย่อยในการปฏิบัติการตามภารกิจที่สร้างความสับสนและเข้าใจผิด ไม่ให้เกิดข้อครหาว่าบางเหตุการณ์มีเจ้าหน้าที่และกลุ่มผลประโยชน์เกี่ยวข้อง เพราะเหตุการณ์ในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำของผู้ก่อการร้ายกลุ่มใดก็ตาม แต่ข้ออ้างของกองทัพก็ยังไม่สามารถสร้างความน่าเชื่อและความไว้วางในในพื้นที่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ยังไม่สามารถสร้างเครดิตให้เกิดความไว้วางใจได้ ทั้งจากความไม่เที่ยงธรรม การเลือกปฏิบัติ หรือการ ไม่ลงโทษเจ้าหน้าที่ที่กระทำผิด ทั้งนี้ การที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้ในพื้นที่ ถือเป็นความบกพร่องอย่างร้ายแรงที่สุด และไม่มีทางที่จะสร้างความน่าเชื่อถือได้เลย หากยังทำงานแบบลูบหน้าปะจมูกในปัจจุบันนี้ หรือปล่อยให้เจ้าหน้าที่ที่กระทำผิดลอยนวลในอดีตที่ผ่านมา
 
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) เห็นว่า รัฐบาลจะต้องปฏิรูปกองทัพและการทำงานในพื้นที่อย่างเร่งด่วน ภายใต้หลักนิติรัฐ กระบวนการยุติธรรมและหลักการสิทธิมนุษยชน ให้รัฐบาลพลเรือนมีอำนาจเต็มในการกำกับดูแลกองทัพ และเสริมสร้างความเข้มแข็งของการปกครองโดยพลเรือน โดยใช้ยุทธศาสตร์การเมืองนำการทหาร และให้มีการทบทวนและประเมิน พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ดังกล่าวอย่างจริงจัง
 
9 มิถุนายน 2552
แถลงโดย นายเมธา มาสขาว เลขาธิการ ครส.
 

 

 

 

“สนมท.” ประณามคนร้าย เหตุการณ์กราดยิงผู้บริสุทธิ์ในมัสยิดอัลฟุรกอน

Posted: 10 Jun 2009 11:34 AM PDT

<!--break-->

 
10 มิ.ย.52 สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ ประณามการกระทำอันโหดเหี้ยมและไร้มนุษยธรรมของคนร้ายที่กราดยิงผู้บริสุทธิ์ ที่กำลังปฏิบัติศาสนกิจในมัสยิดอัลฟุรกอน จ.นราธิวาส โดยกล่าวถึงเหตุการณ์กลุ่มคนร้ายใช้อาวุธปืนสงคราม ทั้งเอ็ม 16 และปืนลูกซอง ระดมยิงเข้าไปในมัสยิดอัล- ฟุรกอน หมู่ที่ 8 บ้านไอปาแย ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ในคืนวันที่ 8 มิ.ย.2552 เวลาประมาณ 20.30 น.ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านกำลังทำพิธีละหมาด เป็นเหตุให้มีผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตมากถึง 11 คนและได้รับบาดเจ็บอีกกว่า 13 คน โดยหนึ่งในผู้เสียชีวิตคือโต๊ะอิหม่ามประจำมัสยิด ซึ่งเป็นผู้นำทางด้านศาสนา
 
แถลงการณ์ระบุด้วยว่า เหตุการณ์ในครั้งนี้ นับว่าเป็นสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สร้างความสูญเสียต่อ ชาวมุสลิมมากที่สุดอีกเหตุการณ์หนึ่งในรอบ 5 ปี ซึ่งถือเป็นการกระทำที่โหดเหี้ยมอำมหิตและไร้มนุษยธรรมอย่างที่สุด ที่ไม่เพียงแต่สร้างหวาดกลัว เศร้าโศก และหดหู่ใจอย่างแสนสาหัสต่อผู้สูญเสียและชาวบ้านในพื้นที่เท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อชาวบ้านในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งหมดอีกด้วย
 
“สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (สนมท.) ขอประณามอย่างรุนแรงต่อการกระทำที่โหดเหี้ยมอำมหิตและไร้ซึ่งมนุษยธรรมของ กลุ่มคนร้ายที่กระทำต่อชาวมุสลิมผู้บริสุทธิ์ในครั้งนี้ และขอเรียกร้องให้ภาครัฐเร่งสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและชี้แจงต่อสาธารณ ชนอย่างเปิดเผยและชัดเจน เพื่อลดความระแวงที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งเร่งให้การช่วยเหลือครอบครัวผู้สูญเสียเป็นการด่วน และภาครัฐควรทบทวนแนวนโยบายในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีความ ละเอียดอ่อนและคำนึงถึงความสอดคล้องต่อวิถีการดำเนินชีวิตตามแบบฉบับของ ศาสนาของคนในพื้นที่ให้มาก รวมไปถึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมกันประณามพฤติกรรมดังกล่าว และใช้วิจารณญาณในการรับและเผยแพร่ข้อมูล พร้อมเร่งให้ความช่วยเหลือแก่พี่น้องมุสลิมผู้สูญเสียดังกล่าว” แถลงการณ์ระบุถึงข้อเรียกร้อง
 

 

 
 
 
แถลงการณ์
 
เรื่อง      ขอประณามการกระทำอันโหดเหี้ยมและไร้มนุษยธรรมของคนร้ายที่กราดยิงผู้บริสุทธิ์ที่กำลังปฏิบัติศาสนกิจในมัสยิดอัลฟุรกอน จังหวัดนราธิวาส
 
 
จากเหตุการณ์กลุ่มคนร้ายใช้อาวุธปืนสงคราม ทั้งเอ็ม 16 และปืนลูกซอง ระดมยิงเข้าไปในมัสยิดอัล- ฟุรกอน หมู่ที่ 8 บ้านไอปาแย ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ในคืนวันที่ 8 มิ.ย.2552 เวลาประมาณ 20.30 น.ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านกำลังทำพิธีละหมาด เป็นเหตุให้มีผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตมากถึง 11 คนและได้รับบาดเจ็บอีกกว่า 13 คน โดยหนึ่งในผู้เสียชีวิตคือโต๊ะอิหม่ามประจำมัสยิด ซึ่งเป็นผู้นำทางด้านศาสนา
 
เหตุการณ์ในครั้งนี้ นับว่าเป็นสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สร้างความสูญเสียต่อชาวมุสลิมมากที่สุดอีกเหตุการณ์หนึ่งในรอบ 5 ปี ซึ่งถือเป็นการกระทำที่โหดเหี้ยมอำมหิตและไร้มนุษยธรรมอย่างที่สุด ที่ไม่เพียงแต่สร้างหวาดกลัว เศร้าโศก และหดหู่ใจอย่างแสนสาหัสต่อผู้สูญเสียและชาวบ้านในพื้นที่เท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อชาวบ้านในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งหมดอีกด้วย
 
ทั้งนี้ทางสมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย (สนมท.) ขอประณามอย่างรุนแรงต่อการกระทำที่โหดเหี้ยมอำมหิตและไร้ซึ่งมนุษยธรรมของกลุ่มคนร้ายที่กระทำต่อชาวมุสลิมผู้บริสุทธิ์ในครั้งนี้ และขอเรียกร้องให้ภาครัฐเร่งสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและชี้แจงต่อสาธารณชนอย่างเปิดเผยและชัดเจน เพื่อลดความระแวงที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งเร่งให้การช่วยเหลือครอบครัวผู้สูญเสียเป็นการด่วน และภาครัฐควรทบทวนแนวนโยบายในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีความละเอียดอ่อนและคำนึงถึงความสอดคล้องต่อวิถีการดำเนินชีวิตตามแบบฉบับของศาสนาของคนในพื้นที่ให้มาก รวมไปถึงขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมกันประณามพฤติกรรมดังกล่าว และใช้วิจารณญาณในการรับและเผยแพร่ข้อมูล พร้อมเร่งให้ความช่วยเหลือแก่พี่น้องมุสลิมผู้สูญเสียดังกล่าว
           
หากแม้แต่ศาสนสถานยังถูกโจมตีและผู้ปฏิบัติศาสนกิจยังถูกทำร้าย ทั้งที่พึงได้รับการปกป้องและยกเว้นจากการโจมตีแม้ในภาวะสงคราม แล้วยังจะพอมีที่ใดอีกบ้างในดินแดนแห่งนี้ที่จะปลอดภัยพอสำหรับคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้?
 
ด้วยจิตศรัทธา
สมาพันธ์นิสิตนักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทย
วันที่ 10 มิถุนายน 2552
 

 

แฮรี่ นิโคไลดส์ : กล้วยที่แพงที่สุดในประเทศไทย

Posted: 10 Jun 2009 11:02 AM PDT

 

ภายหลังได้รับพระราชทานอภัยโทษและเนรเทศออกจากประเทศไทย จากความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แฮรี่ นิโคไลดส์ เขียนถึงบรรยากาศภายในคุกและกระบวนการยุติธรรมไทย ผ่านเรื่องราวของนักโทษคนหนึ่งที่เขาได้พบระหว่างที่อยู่ในเรือนจำคลองเปรม พร้อมภาพแสดงความเป็นอยู่ในเรือนจำไทย
 
บุคคลที่แฮรี่อ้างอิงถึงคือ เบนาม โมอาฟี นักโทษชาวสวีเดน เชื้อสายอิหร่าน ซึ่งถูกตัดสินจำคุก 22 ปีด้วยข้อหากรรโชกทรัพย์ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคดีที่เกิดขึ้นยังเป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์ในชั้นอุทธรณ์ แต่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพที่นักโทษผู้นี้ได้พบเจอในคุกของไทย คือเรื่องราวที่แฮรี่ นำเสนอออกมาเป็นงานชิ้นแรกเกี่ยวกับประเทศไทยหลังจากเขาที่เขาถูกเนรเทศออกไป
 
กรณีของ เบนาม โมอาฟี นักโทษเชื้อสายอิหร่าน-สวีดิช เป็นกรณีที่องค์กร “Fair Trial International” กำลังรณรงค์เพื่อให้เขาได้รับความยุติธรรมจากกระบวนการยุติธรรมไทย  http://www.fairtrials.net/index.php/cases/spotlight/benny_benham_jantharakul/ 
 
นายวรสิทธิ์ พิริยะวิบูลย์ ทนายความของเบนาม กล่าวกับประชาไทว่า เบนามพยายามเรียกร้องสิทธิของผู้ต้องขัง และดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เนื่องจากการละเมิดกฎหมายของเจ้าหน้าที่เป็นจำนวน 169 คดีแล้ว
 
หมายเหตุ ประชาไท เซ็นเซอร์และตัดข้อความบางส่วน

แฮรี่ นิโคไลดส์ : กล้วยที่ราคาแพงที่สุดในประเทศไทย
แฮรี่ นิโคไลดส์
9 มิถุนายน 2009

 
ด้วยความพยายามอย่างที่สุดจากผู้คุม เบนาม โมอาฟี เชื้อสายอิหร่าน-สวิดิช ซึ่งเกิดในเตห์ราน ในปี 1968 ปฏิเสธที่จะตาย เขาถูกพิพากษาจำคุกในประเทศไทย 22 ปี ในความผิดฐานกรรโชกทรัพย์ ปล้นทรัพย์และแบล็กเมล์ ซึ่งเป็นความผิดที่เขาไม่ได้กระทำ
 

 
หลัง 8 ปีของการถูกละเมิด การทารุณ ความหิว และการขังเดี่ยว ภาวะทุพโภชนาการ ความเจ็บป่วย และเงื่อนไขที่ผลักให้คนๆ หนึ่งต้องเสียจริต  เบนาม หรือที่เพื่อนร่วมห้องขัง ในเรือนจำคลองเปรม รู้จักกันในนามว่า “เบนนี” ได้รับปริญญานิติศาสตร์บัณฑิตไทย และเรียนรู้การเล่นเครื่องดนตรีไทย เขายังได้ฟ้องร้องการละเมิดกฎหมายของผู้คุมและเจ้าหน้าที่ตำรวจและทนายความ กว่า 130 กรณี[1]
 
โดยรัฐบาลที่ถูกเปลี่ยนหลายครั้ง และโดยการรัฐประหาร เบนนีได้เรียนรู้มากมายเกี่ยวกับประเทศไทย อดีตผู้นำ ตลอดจนบุคคลแถวหน้าของพรรคการเมือง ก่อนลงเอยที่คุกเดียวกับเขา
 
เดือนนี้ เขายื่นคำร้องให้มีการพิจารณาคดีของเขาอีกครั้ง เป็นการแสวงหาโอกาสจากความคลุมเครือและไม่ชัดเจนของประมวลกฎหมายอาญาของไทย ซึ่งอนุญาตให้มีการพิจารณาคดีใหม่เพียง 1 ครั้งในรอบ 10 ปี
 
เบนนีเผชิญกับเรื่องเลวร้ายมามาก และไม่มีอะไรจะเสีย อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลไม่จัดการต่อกรณีของเขา เจ้าหน้าที่ในองค์กรตุลาการไทย เจ้าหน้าที่ระดับสูงที่อยู่ในกรุงเทพฯ คงถูกทำให้อับอายต่อหน้าประชาคมโลก
 
เบนนี โมอาฟี ถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยในวันที่ 14 กันยายน ปี 2000 เขาถูกกล่าวหาว่า ทำร้ายร่างกาย ปล้น และลักพาตัวชาวซีเรียคนหนึ่งจากห้องพักของโรงแรมในกรุงเทพฯ ด้วยความพยายามที่จะช่วยเหลือครอบครัวชาวอิหร่าน 2 ครอบครัวจากการทะเลาะกับบุคคลที่ 3 ที่สุดแล้วเบนนีพบว่า ตัวเองถูกกล่าวหาว่า ใช้ปืน ปล้นและกรรโชกชาวซีเรีย
 
ตามคำให้การของชาวซีเรียผู้นั้น ศาลพบว่า เบนนีมีความผิดตามข้อกล่าวหา และยังผิดฐานครอบครองอาวุธปืน
น่าประหลาดว่า ชาวซีเรียผู้นั้นรอจนถึง 14 วันหลังการถูกละเมิดกว่าที่เขาจะไปร้องทุกข์ และยังใช้เวลานานกว่านั้นในการแก้ไขคำฟ้องเพื่อรวมเอาประเด็นอาวุธปืนเข้าไปด้วย
 

 
ขณะนี้เบนนีอยู่ในคุกที่มีนบุรี ซึ่งเป็นเรือนจำที่ตั้งอยู่ในเขตรอบนอกกรุงเทพฯ เขาต้องใช้เวลามากกว่า 8 ปีอยู่ใน 6 เรือนจำ และ 17 แดนขัง เนื่องจากเขาถูกย้ายทุกครั้งที่เขาเปิดโปงเรื่องการคอร์รัปชั่น หรือการละเมิดที่เกิดขึ้นโดยระบบของเรือนจำ
 
เขารณรงค์เรียกร้องสิทธิและโอกาสให้แก่ผู้ต้องขังอื่นๆ ด้วย เขาเพิ่งจะท้าทายผู้อำนวยการเรือนจำเกี่ยวกับราคาที่สูงเกินปกติของกล้วยที่ขายในเรือนจำ ซึ่งส่งผลให้เพื่อนผู้ต้องขังได้เห็นเขาถูกแยกไปคุมขังอยู่แดนที่เล็กกว่าและโดดเดี่ยวกว่าของเรือนจำมีนบุรีในทันที แต่เรื่องนี้ก็ไม่สามารถหยุดยั้งเบนนีจากความพยายามอย่างต่อเนื่องในการเขียนจดหมายถึงเอ็นจีโอและองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งเขาหวังว่าวันหนึ่งจะช่วยเขาได้
 

 
ซาบีน แซงเกอร์ หัวหน้าทีมกฎหมายขององค์กรเพื่อการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมสากล (The Fair Trial International) ตั้งตาคอยข่าวสารจากเบนนี “จดหมาย ของเขาเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ได้อ่าน เขาเป็นคนที่มีความหวัง แม้แต่ในยามที่มืดมิด เจ้าความคิด มีความรู้ และไม่สามารถจะข่มขู่ได้ ขณะที่เขาจัดการเกี่ยวกับกรณีของตัวเอง เขาก็เปิดหูรับฟังเพื่อนร่วมคุก และยืนหยัดต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ของเรือนจำเพื่อเพื่อนของเขา
 
“ในช่วง 8 ปีครึ่งที่อยู่กับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมในต่างประเทศ ผมได้เห็นคนจำนวนมากได้รับโอกาส และได้แสดงความเข้มแข็งของตนเอง ศักดิ์ศรี และความน่าเห็นใจในช่วงเวลาที่ยากลำบาก เบนนีเป็นตัวอย่างที่ดีของบุคคลที่คุกทำให้ผู้นั้นกลายเป็นคนที่ดีขึ้น”
 

 

 
 
ขณะที่เบนนีได้แสดงความมีมนุษยธรรมและความเห็นอกเห็นใจแก่ผู้อื่น แต่สิ่งเดียวกันนั้นกลับไม่เกิดขึ้นจากรัฐบาลของเขาเอง เป็นเรื่องเศร้าที่ว่า สถานทูตสวีเดนได้แสดงความเห็นอกเห็นแต่เพียงเล็กน้อยต่อชะตากรรมของเขา ขณะที่ก็ไม่เคยเข้าฟังการพิจารณาคดีของเขาเลย
 
ลูเซีย ทริกเกอร์ ทนายความชาวสวีเดน ซึ่งใกล้ชิดกับบุคคลที่ดูแลกรณีของเบนนีอยู่กล่าวว่า ทางการสวีเดนพยายามให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มที่แก่เบนนี แต่การตัดสินใจที่สำคัญอยู่ที่ทางฝ่ายไทย สำหรับเบนนีแล้ว ดูเหมือนทางการไทยจะได้ตัดสินใจลงไปแล้ว และทางสวีเดนก็หลงลืมเขาไปแล้วเช่นกัน
 

 
เพื่อนร่วมคุกซึ่งต้องโทษประหารในคลองเปรมฯจำเบนนีได้ดี แม้ว่าจะเป็นการขัดต่ออนุสัญญาว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ทว่าตรวนและโซ่ล่ามขา กลับเป็นสิ่งที่ถูกใช้ในการควบคุมและลงโทษนักโทษในคุกไทย แต่หลังจากการยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุดในนามของนักโทษ เบนนีประสบความสำเร็จในการยกเลิกการใส่โซ่ตรวน  
 
เบนนี ยังเป็นที่รู้จักดีของผู้พิพากษาในศาลอาญา เมื่อเขาถูกเรียกตัวไปศาล ตามธรรมเนียมปฏิบัติของท้องถิ่น เขาจะถูกสั่งให้ถอดรองเท้าและถุงเท้า และแม้ว่าจะถูกข่มขู่และคุกคามจากเจ้าหน้าที่ เขาก็ยังคงแข็งขืน แต่ท้ายที่สุดเขาก็ถูกใช้กำลังบังคับให้ถอดรองเท้าและถุงเท้าจนได้
 
หน้าบัลลังก์ของผู้พิพากษา เขาได้กล่าวร้องขอต่อศาลให้ยอมรับเขาในฐานะมนุษย์ ซึ่งผู้พิพากษาเห็นใจ และเขาได้รับการอนุญาตให้สวมถุงเท้าและรองเท้าได้ หลังจากเหตุการณ์นี้ ผู้ต้องขังจำนวนมากก็ได้ร้องขอเช่นเดียวกัน
 

 
เบนนีเป็นผู้โชคดีที่คดีของเขาได้เข้าสู่ชั้นอุทธรณ์ เขาระบุว่า ในระบบกฎหมายไทยนั้น คุณเป็นผู้กระทำผิดจนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่าบริสุทธิ์ วันไต่สวน การพิจารณาคดีของเขาหยุดชะงักอย่างเนิ่นนาน และจบลงด้วยการเลื่อนพิจารณา จากรายงานสืบสวนที่เป็นอิสระขององค์กรการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม ระบุว่า พบข้อพิรุธต่อกรณีของเขา
 
ความพยายามของเขาในการที่จะให้คดีของตนเองได้รับการพิจารณาก็ถูกทำให้ชะงักลง เพราะประจักษ์พยานที่สามารถจะให้การยืนยันได้ต่างเดินทางกลับประเทศอิหร่านหลังจากที่เขาถูกกล่าวหาได้ไม่นาน นายวรสิทธิ์ พิริยะพิบูลย์ ทนายความชาวไทยที่ว่าความให้เบนนี (ผู้ซึ่งให้อุทิศตัวให้กับการเปิดเผยสิ่งที่เขาเชื่อว่าเป็นการตัดสินคดีที่ผิดพลาดต่อผู้บริสุทธิ์)เพิ่งเดินทางไปยังเตห์ราน เพื่อทำคำให้การของประจักษ์พยาน
 
บันทึกคำให้การเหล่านี้ ในที่สุดได้รับรองโดยกระทรวงการต่างประเทศของอิหร่าน และยื่นพร้อมเอกสารอื่นๆ ในคำร้องขอพิจารณาคดีอีกครั้งในประเทศไทย
 
มันเป็นการเดินทางที่ยาวนานของเบนนี เขาได้เรียนรู้ระบบอย่างดี ในระบบนี้ คุณต้องจ่ายเงินในขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการยุติธรรม หากปราศจากเงิน ก็คือการพิพากษา และจะถูกส่งไปยังกรงขังลิง ซึ่งสามารถจ่ายให้กับผู้คุมเรือนจำได้ กล้วยที่ราคาแพงที่สุดในราชอาณาจักรไทย ก็คือกล้วยที่ขายอยู่ในคุก 
 
--------------------------------------------------------------------------------
 
แฮรี่ นิโคไลดส์ เป็นนักเขียนชาวออสเตรเลีย ซึ่งเคยถูกจำคุกในเรือนจำที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2008 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2009 ด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เขาได้พบเบนนี อาฟี ในคุก
 
หมายเหตุ
[1] ข้อมูลจำนวนคดีที่เบนามฟ้องศาลปกครองในบทความของแฮรี่ ระบุว่ามีจำนวน 130 คดี แต่จากการสอบถามจากทนายความขอเบนาม ระบุว่า ขณะนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 169 คดีแล้ว
[2] ที่มาของข่าว:http://www.eurekastreet.com.au/

สมัชชาคนจน “หัวนา-ราษีไศล” ยืนยัน อยู่ยาวจนกว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไข

Posted: 10 Jun 2009 10:33 AM PDT

<!--break-->

 

(9 มิ.ย. 2552) ศรีสะเกษ สมัชชาคน เขื่อนราษีไศล-เขื่อนหัวนา ชุมนุมต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ตามติดการแก้ไขปัญหาของกรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หลังพบนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ที่ผ่านมา และได้ข้อตกลงให้มีการประชุมแก้ไขปัญหาเร่งด่วนในวันที่  11 มิถุนายน ที่จะถึงนี้ ยืนยันจะอยู่ที่สันเขื่อน ติดตามการแก้ไขปัญหาจนกว่าจะแล้วเสร็จ
 
ความคืบหน้า การชุมนุมของสมัชชาคนจน เขื่อนราษีไศล-เขื่อนหัวนา ที่บริเวณสันเขื่อนราษีไศล อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมได้จัดกิจกรรมบริเวณสันเขื่อนอย่างต่อเนื่อง โดยวันที่ 6 มิถุนายน จัดเวทีให้ข้อมูลเกี่ยวกับเขื่อนที่กำลังจะสร้างในแม่น้ำโขง โดย นางสาวเปรมฤดี ดาวเรือง มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ พร้อมด้วย นางสาวสดใส สร่างโศรก นักวิชาการจากสถาบันวิจัยจุฬาฯ ตลอดจน การบอกเล่าสถานการณ์ในพื้นที่เขื่อนราษีไศลและเขื่อนหัวนา ของแกนนำชาวบ้านทั้งสองพื้นที่
 
 
ต่อมาในวันที่ 7 มิถุนายน ได้มีการรณรงค์ทำความเข้าใจในหมู่บ้านรอบๆเขื่อนราษีไศลและตัวอำเภอราษีไศล นายสุข จันทร แกนนำชาวบ้านเขื่อนราษีไศล กล่าวว่า “การมาชุมนุมที่สันเขื่อนเพราะปัญหาเขื่อนราษีไศลและเขื่อนหัวนายังไม่ได้รับการแก้ไข หลายรัฐบาลมาแล้วที่ไม่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา อยากให้ประชาชนเข้าใจถึงความเดือดร้อนของเรา พวกเราไม่ได้มาสร้างความเดือดร้อนให้ใคร ซึ่งเราจะยังชุมนุมต่อเพื่อทำการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองและติดตามการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด จนกว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไข”
 
นอกจากนี้นายระพี ผ่องบุพกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้มารับฟังปัญหาของกลุ่มผู้ชุมนุมที่บริเวณสันเขื่อน พร้อมพูดคุยพบปะเยี่ยมเยียนผู้ชุมนุม
 
จากนั้น วันที่ 8 มิถุนายน กลุ่มผู้ชุมนุมทำการรณรงค์ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ความคืบหน้าของการถมลำมูนเดิมเพื่อปิดเขื่อนหัวนา การรับรองผลการตรวจสอบที่ดินที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนหัวนา การแก้ไขปัญหาที่ล่าช้าของหน่วยงานรัฐ รวมถึงการจำกัดสิทธิของประชาชนในการแก้ไขปัญหา บริเวณพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนหัวนา อ.ราษีไศล และ อ.อุทุมพรพิสัย
 
นายสำราญ หอกระโทก แกนนำชาวบ้านเขื่อนหัวนา กล่าวว่า “พวกเราได้จัดขบวนรณรงค์ในพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจกับชาวบ้านให้มีความเข้าใจที่ตรงกันและติดตามสถานการณ์เกี่ยวกับเขื่อนหัวนา ซึ่งเป็นโครงการรัฐที่กำลังมีความเคลื่อนไหวเพื่อดำเนินการให้แล้วเสร็จ ซึ่งหากให้มีการดำเนินต่อโดยที่ยังไม่ได้มีการศึกษาผลกระทบด้านต่างๆ ก็จะก่อให้เกิดผลเสียต่อชาวบ้าน เหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนราษีไศล ที่การศึกษาผลกระทบและการตรวจสอบทรัพย์สินยังไม่เสร็จแล้ว มาเก็บกักน้ำก่อน ทำให้ปัญหาหลายอย่างตามมา ปัจจุบันก็ยังไม่ได้ค่าชดเชยจากการสร้างเขื่อนแล้วนำท่วมไร่นา สูญเสียที่ดินทำกิน และป่าสาธารณะไปเป็นจำนวนมาก โดยที่รัฐบาลไม่แก้ไขปัญหาให้เรียบร้อยก่อนที่จะปิดเขื่อนเพื่อเก็บกักน้ำ”
 
นายแดง คาวี แกนนำชาวบ้านเขื่อนหัวนา กล่าวว่า “ที่ผ่านมา 6 วันก็ยังไม่มีความคืบหน้าอะไร กรมชลประทานพยายามที่จะเข้ามาแบ่งแยกมวลชน ด้วยการสร้างความสับสนในการตรวจสอบที่ดินทำกินและรายชื่อผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน อย่างไรก็ตามพวกเรารู้ว่าเมื่อมาถึงขั้นนี้แล้ว เราก็เห็นทิศทางของตัวเอง เมื่อมีการชุมนุมแล้วถ้าไม่บรรลุเป้าหมายการแก้ปัญหา พวกเราก็จะไม่ถอย ซึ่งตอนนี้ก็กำลังเตรียมการเจรจากับสำนักงานชลประทานที่ 8 รวมทั้งเตรียมข้อมูล เตรียมเอกสาร เพื่อไปประชุมกับคณะทำงานแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจนของรัฐบาลในวันที่ 11 มิถุนายน ที่จะถึงนี้”
 
พร้อมกันนี้ในเวลา  14.00 น. นายประดิษฐ์ โกศล ตัวแทนสมัชชาคนจน ได้อ่านแถลงการณ์ ฉบับที่ 2 “ขอให้กรมชลฯ กลับใจ เพื่อแก้ไขปัญหาชาวบ้าน”
 
รายละเอียดในแถลงการณ์ระบุว่า การแก้ไขปัญหากรณีเขื่อนราษีไศลและเขื่อนหัวนา ผ่านมาแล้ว  16 ปี ผ่านการบริหารงานของ 9 นายกรัฐมนตรี  10 รัฐบาล 2 หน่วยงาน แต่ชาวบ้านยังคงเดือดร้อนเหมือนเดิม แม้ว่าในปี พ.ศ. 2543 คณะรัฐมนตรีมีการตัดสินใจแก้ไขปัญหาทั้งสองเขื่อน
 
แถลงการณ์ ระบุอีกว่า ก ร ณี เ ขื่ อ น หั ว น า มีมติให้ระงับการถมลำน้ำมูนเดิม เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และตรวจสอบทรัพย์สินผู้ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากเขื่อนหัวนา แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประเด็นที่ไม่เคยห่างหายไปจากความกังวลของชาวบ้านเลย คือ การนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีโดยนักการเมือง ให้มีการถมลำน้ำมูนเดิม เพื่อบังคับน้ำให้ไหลผ่านบานประตูเขื่อนหัวนา ทั้งที่ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาผลกระทบ การตรวจสอบทรัพย์สินผู้ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ ใช้เวลา 7 ปี แต่ยังไม่แล้วเสร็จ เพราะกรมชลฯหน่วงเหนี่ยว ไม่อยากรับรองสิทธิ์ ล่าสุดมติการประชุม 29 มกราคม 2552 ถูกเจ้าหน้าที่กรมชลประทานบิดเบือน โดยแก้ไขคำสั่งแต่งตั้งกรรมการไม่ให้มีอำนาจรับรองการตรวจสอบทรัพย์สิน
 
ขณะที่ ก ร ณี ร า ษี ไ ศ ล มีมติให้เปิดประตูน้ำ เพื่อบรรเทาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการแพร่กระจายของดินเค็ม และผลกระทบทางสังคม ตลอดจนเพื่อพิสูจน์สิทธิในที่ดิน แต่จนกระทั่งปัจจุบัน รัฐบาลยังไม่สามารถคลี่คลายปัญหาดังกล่าวได้แม้แต่ประเด็นเดียว
โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาค่าชดเชยที่เหลือ ได้หลักการที่ชัดเจนหมดแล้วว่า ให้ใช้มติคณะรัฐมนตรี  1 กุมภาพันธ์ 2543 ในการพิสูจน์ที่ดินทำกินและจ่ายในราคาไร่ละ 32,000 บาท แต่หลังจากนั้นกลไกการแก้ปัญหา ซึ่งอยู่ในมือกรมชลประทาน กลับไม่ทำงาน มีการเล่นแง่หน่วงเหนี่ยวตลอดเวลา นอกจากนั้นปัญหาอื่นๆ ยังไม่มีความคืบหน้า เช่นกรณี นานอกอ่างและการศึกษาผลกระทบ
 
นอกจากนี้ แถลงการณ์ ระบุทิ้งท้ายว่า สมัชชาคนจน เขื่อนหัวนาและเขื่อนราษีไศล ได้ชุมนุมที่สันเขื่อนราษีไศลเป็นเวลา 6 วันแล้ว และขอประกาศว่า การแก้ไขปัญหาที่ย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew