"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

'ชิราคาวา-โก' หมู่บ้านในตำนาน

วันที่ 8 มิถุนายน 2552 เวลา 00:00 น.

‘ชิราคาวา-โก’ หมู่บ้านในตำนาน




ภาพหมู่บ้านหลังคามุงหญ้าที่มีเพียง 10 หลังคาเรือนซึ่งซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางหุบเขาที่มีหิมะปกคลุมเกือบตลอดทั้งปี อาจเหลือเพียงแค่ความทรงจำ เพราะสภาพอากาศที่เลวร้ายซึ่งส่งผลต่อการดำรงชีวิต ทำให้กลุ่มชนชาวไฮคิ (Heiki) ที่เคยอพยพจากเกียวโต ซึ่งมีฐานะเป็นเมืองหลวง   ในขณะนั้น ตัดสินใจทิ้งถิ่นฐานอีกครั้ง
 
ณ ที่ราบเชิงเขาฮาคูซานอันศักดิ์สิทธิ์ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ตัดสินใจที่จะซื้อที่ดินในบริเวณนี้ไว้ ด้วยความตั้งใจที่จะอนุรักษ์ธรรมชาติให้คงอยู่ โดยจัดตั้งสถาบัน   สิ่งแวดล้อมโตโยต้าชิราคาวา-โกขึ้น โดยได้รับ  แรงบันดาลใจจากชื่อหมู่บ้าน แม้จะอนุรักษ์ผืนป่าโดยรอบเอาไว้แต่หมู่บ้านเล็ก ๆ ตรงนั้นกลับเหลือเพียงตำนาน แต่ใช่ว่าบ้านโบราณแบบที่เคยเห็นในการ์ตูนญี่ปุ่นแนวย้อนยุคจะไม่มีหลงเหลือ ให้เห็น
 
ท่ามกลางเทือกเขาแอลป์ของญี่ปุ่น ห่างจากเมืองทาคายามาไปราว 50 กิโลเมตร ที่นี่คน 600 คน ยังคงใช้ชีวิตในหมู่บ้านที่ชื่อโอกิมาชิ (Ogimachi) ส่วนหนึ่งของชิราคาวา-โก ที่อยู่ริมแม่น้ำโชกาว่า (Shogawa) ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกที่มีชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1995 โดยมีบ้านแบบญี่ปุ่นกลางใหม่กลางเก่ากับบ้านแบบกัสโชสึคุริ (Gassho-zukuri) ผสมปนเป กันอยู่
 
บ้านแบบกัสโชสึคุริ เป็นบ้านชาวนาโบราณที่มีอายุมากกว่า 250 ปี คำว่า “กัสโช” มีความหมายว่า พนมมือ ซึ่งเป็นการบ่งบอก         ถึงลักษณะรูปแบบของบ้านที่มีหลังคามุงด้วยฟางข้าวชันถึง 60 องศา คล้ายสองมือที่พนมเข้าหากัน ตัวบ้านมีความยาวประมาณ 18  เมตร และมีความกว้าง 10 เมตร สร้างขึ้นโดยไม่ใช้ตะปู
 
เพราะมีองค์ประกอบหลักของบ้าน  แต่ละหลังเป็นไม้และฟางข้าว สิ่งที่ควรระวังเป็นอันดับหนึ่งของชุมชนนี้ก็คือเรื่องไฟ และการสูบบุหรี่ถือเป็นหนึ่งในข้อห้ามเช่นเดียวกับการจุด พลุ เพราะบ้านแต่ละหลังจะต้องต่อสู้กับศัตรู    3 แบบคือ การเสื่อมโทรมตามกาลเวลา ไฟ และหิมะ
 
การร่วมแรงร่วมใจกันซ่อมแซมหลังคาจากผู้คนในหมู่บ้านซึ่งเรียกกันว่า ยูอิ (Yui) เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตผู้คนที่อาศัยอยู่ในชิราคาวา-โก เพราะนี่คือหนึ่งในปัจจัยที่จะรักษามรดกโลกอันล้ำค่านี้ไว้ หลังฤดูเกี่ยวข้าวสิ้นสุดลงก่อน    ที่ท้องฟ้าอันสดใสและอากาศกำลังเย็นสบายของฤดูใบไม้ร่วงกำลังจะผ่านเข้าสู่ ฤดูหนาว พวกเขาจะลงแรงกันอย่างแข็งขันเพื่อเปลี่ยนหลังคาให้เสร็จภายใน 4 วัน โดย 3 วันแรกจะเป็นการถอดเอาหลังคาเก่าออก และจะใส่หลังคาใหม่เสร็จภายในเวลาเพียง 1 วัน
 
ขณะที่การระวังไฟจะมีการแต่งตั้ง   หน่วยลาดตระเวนออกตรวจตรารอบ ๆ บริเวณหมู่บ้านอยู่อย่างสม่ำเสมอ และในบางครั้งการฉีดน้ำด้วยสปริงเกอร์ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งจำเป็นของหมู่บ้าน แห่งนี้ แม้ว่าจะอยู่ท่ามกลางหุบเขาที่แวดล้อมด้วยความชุ่มชื้นจากผืนป่า และละอองน้ำจากสายน้ำสีเขียวมรกตที่อยู่เบื้องล่าง
 
ส่วนในช่วงฤดูหนาวภายใต้ภาพความสวยงามของหมู่บ้านที่อยู่ท่ามกลางหิมะขาว โพลนนั้น นี่กลับเป็นอีกห้วงเวลาที่ชุมชนต้องต่อสู้กับธรรมชาติ ในช่วงเดือนธันวาคมถึงมีนาคม ท่ามกลางหิมะที่ปกคลุมหนาถึง 2-3 เมตร พวกเขาจำเป็นต้องปีนขึ้นไปบนหลังคาเพื่อกวาดหิมะลงมาเพื่อไม่ให้มันมาเกาะ แน่นจนทำให้หลังคาฟางข้าวกลายสภาพเป็นน้ำแข็ง
 
แต่ใช่ว่าจะมีแต่การต่อสู้กับสภาพอากาศอันหนาวเหน็บเท่านั้น ในช่วงเวลาเดียวกันนี้โดยเฉพาะในคืนวันเสาร์ของเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ หมู่บ้านแห่งนี้จะเปิดไฟที่ประดับตกแต่ง เพื่อเผยให้เห็นมนต์เสน่ห์แห่งความ สวยงามในยามค่ำคืน
 
ขณะที่กระแสลมแรงขนาดไต้ฝุ่นหรือน้อยกว่าไม่เคยส่งผลกระทบต่อหมู่บ้านที่ ตั้งอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำ เพราะบ้านเรือนที่ตั้งโดยหันหลังคาไปทางทิศตะวันตกและตะวันออกนั้น จึงทำให้ปลอดภัยจากกระแสลมที่พัดจากเหนือลงใต้ไปตามลำน้ำ
 
ก่อนศตวรรษที่ 16 ในบริเวณนี้ เคยมีบ้านแบบกัสโชเพียง 50 หลัง จนมาถึงช่วงปลายสมัยเอโดะเพิ่มขึ้นเป็น 80 หลัง ก่อนจะเพิ่มขึ้นรวมกันแล้วกว่า 100 หลังในช่วงกลางสมัยเมจิ โดยมีถนนสายเล็ก ๆ เชื่อมโยงหมู่บ้านทั้งหมดไว้ด้วยกัน จนในปี ค.ศ. 1890 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ตัดถนนมายังหมู่บ้านแห่งนี้ นับตั้งแต่นั้นแบบสไตล์ญี่ปุ่นแบบใหม่ก็เริ่มเกิดขึ้น ปัจจุบันมีบ้านแบบกัสโชดั้งเดิมอยู่ในเขตชิราคาวา-โกทั้งสิ้น 113 หลัง และบ้านสไตล์ญี่ปุ่นอีก 329 หลัง
 
การเยี่ยมเยือนโอกิมาชิแบบผ่านมาแล้วก็ผ่านไปเพียงครึ่งวันหรือหนึ่งวัน อาจไม่ทำให้สัมผัสความงดงามของหมู่บ้านนี้ได้เต็มที่ หลายคนจึงเลือกที่จะพักค้างคืนในหมู่บ้านอันเงียบสงบเพื่อใช้เวลาในการสำรวจ ชีวิตและ ความเป็นไปที่ยังคงอยู่ราวกับเข็มนาฬิกาไม่เคย   หมุน แต่หากมีเวลาเพียงเล็กน้อย บ้านวาดะเกะ (Wadake) บ้านฟูรูซาโต (Furusato) และวัดเมียวเซนจิ ซึ่งสร้างขึ้นจากไม้และฟางข้าวเช่นกัน น่าจะเป็นจุดสำคัญที่ต้องแวะเข้าไปเยี่ยมชม แม้ว่าอาจจะต้องจ่ายค่าเข้าชมอีกคนละ 300  เยนก็ตาม
 
นอกจากค่าเที่ยวชมแล้ว บางคนอาจต้องสลายเงินเยนไปกับของที่ระลึกน่ารักสไตล์ญี่ปุ่นซึ่งมีขายเฉพาะ ในเขตนั้น ๆ ไอศกรีมหลากหลายรสที่มีโมเดลคอยยั่วยวนให้น้ำลายหก หรือ เต้าเจี้ยวหมักหมูย่างบนใบไม้สูตรเฉพาะของ    ชิราคาวาที่มีโอกาสได้ลิ้มลอง.
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=201348&NewsType=1&Template=1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew