"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

‘ไอทีเอส’ ระบบขนส่งอัจฉริยะ ฝันของคนใช้…ความจริงของคนสร้าง



Please visit my blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com


'ไอทีเอส' ระบบขนส่งอัจฉริยะ ฝันของคนใช้…ความจริงของคนสร้าง
 



รถแล่นฉิวจากต้นสายสู่ปลายทางคือ ภาพในจินตนาการอันสวยหรูของผู้ใช้รถใช้ถนน พ.ศ.นี้ ด้วยปริมาณรถยนต์ที่มีนับแสนๆ คันต่อวันบนถนนเพียงไม่กี่เส้น




'ไอทีเอส' ระบบขนส่งอัจฉริยะ

     ขณะที่มีพื้นที่ไม่ถึง 2,000 ตารางกิโลเมตรในเขตเมืองหลวง กลายเป็นต้นตอของปัญหาการจราจรที่ยากจะเยียวยา แม้ปัจจุบันจะมีระบบขนส่งประเภทอื่นๆ ทั้งรถไฟลอยฟ้า เรือด่วนและโครงการขุด ต่อ ย่อ สร้างระบบการขนส่งด้านอื่นๆอีกมากมายมาคอยช่วยแบ่งเบาภาระบนท้องถนนไปบ้างแล้วก็ตาม
 
     แต่การแก้ปัญหาข้างต้นยังคงไม่ได้รับการยอมรับเท่ากับการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยอย่าง "ระบบขนส่งอัจฉริยะ หรือไอทีเอส (Intelligent Transport Systems)" ซึ่งแม้รัฐบาลไทยจะมีแนวคิดนำระบบดังกล่าวเข้ามาใช้ในประเทศเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว แต่ก็ดูเหมือนว่าผลลัพธ์ในทางปฏิบัตินั้นยังคงเป็น "คำถาม" ที่ใครหลายคนยังคงรอ "คำตอบ" จนถึงทุกวันนี้
    ไอทีเอส ฮีโร่ปัญหาจราจร
     นายครรชิต ผิวนวล คนไทยคนแรกที่ค้นคว้าเกี่ยวกับระบบการจราจรทางเว็บไซต์ และอดีตที่ปรึกษาทางด้านการจราจรของรัฐบาลไทยมายาวนานกว่า 30 ปีบอกว่า "ไอทีเอส" เป็นเครื่องมือและวิธีการที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาการจราจรที่ดีที่สุดในยุคนี้ เนื่องจากเป็นการวิเคราะห์และประเมินตั้งแต่ต้นทางของปัญหาการจราจร และหาทางนำเทคโนโลยีมาช่วยแก้ปัญหา
 
     เขาระบุว่า ในต่างประเทศไอทีเอส เป็นระบบที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย โดยเฉพาะสหรัฐฯ และหลายประเทศในแถบเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น โดยบางส่วนเป็นการลงทุนของภาคเอกชน เพื่อนำระบบอัจฉริยะ เช่น โมบาย เซอร์วิส เข้ามาให้บริการซ่อมเครื่องถ่ายเอกสาร ติดตั้งเคเบิล ทีวี ซ่อมทีวี หรือแม้แต่ธุรกิจรถบรรทุกขนาดใหญ่ก็เริ่มนำไอทีเอสเข้ามาใช้ เพื่อหาช่องทางและวิธีการที่ช่วยให้ธุรกิจเคลื่อนตัวได้เร็ว และตอบสนองลูกค้าได้ดีที่สุด ด้วยต้นทุนการขนส่งและเดินทางในระดับต่ำ
     ระบบไทยเริ่ม "ตั้งไข่"
     ขณะที่ สถานการณ์ของระบบ "ไอทีเอส" ในไทยเขายอมรับว่า ยังคงอยู่ในจุดเริ่มต้น แต่อย่างน้อยก็ได้เริ่มเกิดภาพพอให้เห็นเป็นรูปเป็นร่างบ้างแล้ว เช่น การพัฒนาระบบควบคุมจราจรแบบแบ่งเป็นพื้นที่
 
     "ไอทีเอสในไทย เกิดมานานแล้ว ตั้งแต่เริ่มมีการใช้ระบบควบคุมการจราจรแบบแบ่งเป็นพื้นที่เมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว แต่ก็ยังไม่ค่อยได้ผล เพราะเป็นระบบที่ยังไม่เรียลไทม์" นายครรชิต กล่าว
 
     อย่างไรก็ตามเขาบอกว่า แนวคิดการพัฒนาระบบไอทีเอสในไทยยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การพัฒนาระบบขนส่งจราจาอัจฉริยะยังไม่เป็นภาพที่ชัดเจนในวันนี้
 
     ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการพัฒนาที่จำเป็นต้องอาศัยทั้งความร่วมมือระหว่าง "รัฐ" และ "ภาคเอกชน" เพื่อร่วมกันต่อจิ๊กซอว์ระบบการขนส่งอัจฉริยะที่ไม่สามารถยกให้เป็น "หน้าที่" ของฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งได้
 
     ปัจจุบันการลงทุนพัฒนาระบบไอทีเอสของไทยยังคงอิงกับภาครัฐเป็นผู้ลงหลักวางโครงสร้างพื้นฐานให้มั่นเหมาะก่อน รวมทั้งการดำเนินการด้านข้อมูลเพื่อเปิดทางให้เอกชนนำไปต่อยอด
     ระบบคุมไฟแดง-ให้ข้อมูลเกิดได้ก่อน
     นายครรชิต บอกว่า เนื่องจากภาพรวมของไอทีเอสทั้งระบบสามารถแยกย่อยได้มากกว่า 16 กลุ่ม ตั้งแต่ระบบการจัดการอุบัติเหตุ ระบบจัดการการเดินรถ ระบบการจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการให้ข้อมูลผู้เดินทาง และระบบควบคุมสัญญาณไฟจราจร ซึ่งล้วนแต่มีผลโดยรวมต่อการทำให้การขนส่งสามารถเคลื่อนตัวได้อย่างอัจฉริยะ
 
     แต่สำหรับประเทศไทยระบบไอทีเอสที่เหมาะสมที่สุด และสามารถดำเนินการได้คือ "การควบคุมสัญญาณไฟจราจร" และ "ระบบให้ข้อมูลผู้เดินทาง" 
 
     ปัจจุบันภาครัฐได้เริ่มเดินหน้าแผนงานพัฒนาระบบไอทีเอสดังกล่าวไปบางส่วนแล้ว โดยเฉพาะ "ระบบให้ข้อมูลผู้เดินทาง (Traveler Information)" ซึ่งมีทั้งศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งจราจร สังกัดกระทรวงคมนาคม (สนข.) เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาในแบบของตัวเอง และเริ่มมีการเชื่อมโยงและทำงานประสานกันมากขึ้น
 
     เขาให้เหตุผลว่า เนื่องจากเนคเทคไม่ได้มีบทบาทในการกำหนดนโยบาย หรือควบคุมการจราจรของประเทศโดยตรง แต่ก็มีความเชี่ยวชาญและมีทรัพยากรบุคคลพร้อมในการพัฒนาและวิจัยเพื่อนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาของประเทศ จึงทำให้เกิดเป็นการร่วมกันพัฒนาระบบไอทีเอสที่จะสามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างแน่นอน
 
     "ตอนนี้เราเริ่มอยู่ในขั้นที่ 3 แล้ว คือ การนำเสนอข้อมูลทั่วไปออกมาเป็นแผนที่ง่ายๆ หรือที่เรียกว่าขั้นทีไอซี (ทราเวล อินฟอร์เมชั่น เซ็นเตอร์) ให้ผู้ใช้นำไปใช้ในการตัดสินใจเดินทาง โดยสองขั้นแรกเป็นการเก็บข้อมูล และการนำข้อมูลแต่ละส่วนมารวมกัน (ทราฟฟิก ดาต้า เซ็นเตอร์) ซึ่งถือว่าเป็นขั้นที่ยากที่สุด และเป็นสิ่งที่รัฐบางต้องทำ เพราะต้องใช้กำลังคนในการรวบรวมข้อมูลที่มีปริมาณและความซับซ้อนมาก ก่อนจะเปิดทางให้เอกชนเข้ามาร่วมนำข้อมูลไปต่อยอดเป็นโซลูชั่น หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ" นายครรชิต กล่าว
     แนะกระตุ้นผู้ใช้รับรู้
     อย่างไรก็ตาม นายครรชิตบอกว่า นอกเหนือจากระบบการขนส่งที่ฉลาดมากขึ้นแล้ว การให้ความรู้ในกลุ่มผู้ใช้ก็มีผลต่อการพัฒนาระบบไอทีเอสให้สามารถใช้งานได้อย่างสมบูรณ์แบบด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะการกระตุ้นให้คนเริ่มเห็นความสำคัญของการหาข้อมูล และเริ่มเข้าใจว่ามีข้อมูลประเภทนี้ให้ค้นได้แล้ว เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้จริงจัง 
 
     เขาเชื่อว่า ภายในปีนี้ผู้ใช้ถนนทุกรายจะสามารถเข้ามาสำรวจสภาพการจราจร เพื่อประกอบการตัดสินใจเดินทางทั้งข้อมูลของ สนข.และเนคเทค ได้ผ่านหน้าเว็บไซต์ของทั้ง 2 หน่วยงาน
 
     "ไอทีเอสมีมานานแล้ว แต่ก็ยังไม่เวิร์ค เพราะขาดคนที่มีความเข้าใจอย่างแท้จริง แต่อย่างน้อยตอนนี้ก็ถือว่าเราเดินมาถูกทางแล้ว เพราะจริงๆ ควรให้ความสำคัญกับการจัดการจราจรให้มีประสิทธิภาพก่อน แล้วค่อยมาคิดต่อเติมในภายหลังถึงจะเรียกว่าเป็นระบบไอทีเอสที่สมบูรณ์แบบ" นายครรชิต กล่าว






แหล่ง : กรุงเทพธุรกิจ (www.bangkokbiznews.com)
โดย : WebMaster
วันที่ : 6/6/2552
 
    http://www.ksmecare.com/News_Popup.aspx?ID=4788

See all the ways you can stay connected to friends and family

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew