"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ลำดับเหตุการณ์ประท้วง ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน เมษายน-มิถุนายน 2532

ลำดับเหตุการณ์ประท้วง ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน เมษายน-มิถุนายน 2532
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มิถุนายน 2552 19:13 น.
ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2532 ชาวจีนนับแสนล้อมรูปจำลองรูปปั้นเทพีแห่งเสรีภาพในนิวยอร์ก(กลาง) สูง 10 เมตร ขณะนั้นฝูงชนปักหลักเรียกร้องประชาธิปไตยแม้รัฐบาลประกาศกฎอัยการศึกในกรุง ปักกิ่งแล้ว
       บรรดานักศึกษาจีนผู้มีอุดมคติสังคมประชาธิปไตยชูธงนำการประท้วงครั้ง ใหญ่ในประวัติศาสตร์จีน ที่มีผู้เข้าร่วมกว่าล้านคน หลังจากการเสียชีวิตของอดีตผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์นักปฏิรูป “หู เย่าปัง” ที่บริเวณจัตุรัสเทียนอันเหมินในเดือนเมษายนปี 2532 (1989) และจบลงด้วยการปราบปรามกลุ่มประท้วงอย่างนองเลือดด้วยกำลังทหารในวันที่ 3 และ 4 มิถุนายน ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับร้อย หรืออาจเป็นพันชีวิต
       
       วันที่ 4 มิถุนายนนี้ เป็นวันครบรอบ 20 ปี รำลึกเหตุการณ์ประท้วงฯที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์จึงได้ลำดับเหตุการณ์การประท้วงครั้งประวัติ ศาสตร์ยุคสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่กินเวลา 6 สัปดาห์ระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน ปี 2532 ดังต่อไปนี้
       
       เมษายน
       
วันที่ 15:
หู เย่าปัง ผู้นำนักปฏิรูปแห่งพรรคคอมมิวนิสต์เสียชีวิต หูได้ชื่อเป็นนักปฏิรูปถูกปลดออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคฯในปี 2529 เนื่องจากท่าทีที่อ่อนในการโต้ตอบการประท้วงของกลุ่มนักศึกษาซึ่งเริ่ม เคลื่อนไหวเรียกร้องการปฏิรูปการเมืองในเดือนธันวาคมของปีก่อนหน้านั้น
       
       วันที่ 17: กลุ่มนักศึกษาเริ่มเปิดฉากประท้วงที่บริเวณจัตุรัสเทียนอันเหมิน จัดพิธีวางพวงมาลาไว้อาลัยแด่หู เย่าปัง พร้อมติดป้ายคำขวัญต่างๆเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย
       
       วันที่ 18: กลุ่มนักศึกษายื่นข้อเรียกร้องจากรัฐบาลจีน โดยมีข้อเรียกร้องสำคัญคืออิสระในการแสดงความคิดเห็นและการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย

ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2532 กลุ่มนักศึกษาเดินขบวนประท้วงและตะโกนสโลแกนเชิดชูยกย่อง หู เย่าปัง ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์และนักปฏิรูปเสรีนิยม ในวันนั้นกลุ่มนักศึกษาหลายพันคนหลั่งไหลมาเดินขบวนบริเวณอนุสาวรีย์ วีรบุรุษกลางจัตุรัสเทียนอันเหมิน เพื่อมาแสดงความไว้อาลัยแก่อสัญกรรมของหู เย่าปัง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทางการจีนไม่อนุญาต
       วันที่ 22: วันสุดท้ายของพิธีฝังศพของหู เย่าปัง นักศึกษาและประชาชนกว่า 2 แสนคนมารวมตัวกันที่มหาศาลาประชาคมบริเวณจัตุรัสเทียนอันเหมิน
       
       วันที่ 25: เติ้ง เสี่ยวผิง ผู้นำผู้กุมอำนาจเบ็ดเสร็จสูงสุดในพรรคคอมมิวนิสต์จีนในขณะนั้นกล่าวว่าการ เคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ประท้วงมีจุดประสงค์ล้มล้างรัฐบาล ถ้อยแถลงดังกล่าวถูกตีพิมพ์โดยหนังสือพิมพ์ประชาชนจีน(พีเพิลเดลี่) ในวันต่อมา และสร้างความขัดแย้งอย่างรุนแรง
       
       วันที่ 27: กลุ่มประท้วงนำโดยนักศึกษาจำนวนมหาศาลเดินทางเข้าสู่กรุงปักกิ่ง การประท้วงอย่างสันติขยายวงกว้างไปทุกพื้นที่ของเมืองหลวง

ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2532 หวัง ตัน (กลาง) ผู้นำนักศึกษาที่มีความเห็นไม่สอดคล้องกับรัฐบาล และตัวแทนจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง กำลังแถลงการณ์แก่กลุ่มผู้สื่อข่าวในกรุงปักกิ่ง
       พฤษภาคม
       
วันที่ 4:
วันครบรอบ 70 ปี การประท้วง “4 พฤษภาคม” ของกลุ่มผู้รักชาติในปี 2462 (1919) โหมการประท้วงขยายวงกว้างใน 50 กว่าตำบลของกรุงปักกิ่ง ขณะที่นายจ้าว จื่อหยาง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ออกมาเป็นผู้เจรจากับกลุ่มนักศึกษา
       
       วันที่ 13: มหาวิทยาลัย 20 แห่ง ได้ยกเลิกชั้นเรียน ขณะที่นักศึกษารวมตัวกันประท้วงที่บริเวณจัตุรัสเทียนอันเหมิน
       
       วันที่ 15: การเดินทางเยือนจีนครั้งประวัติศาสตร์ของประธานาธิบดีมิกฮาอิล กอร์บาชอฟแห่งสหภาพโซเวียตเพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตของสองประเทศ หยุดชะงัก
       
       วันที่ 17: กลุ่มนักศึกษา กลุ่มแรงงาน และคนจากทุกภาคของสังคมราว 1.2 ล้านคนร่วมประท้วงในกรุงปักกิ่ง
       
       วันที่ 18: การเจรจาระหว่างนายกรัฐมนตรีหลี่ เผิงกับแกนนำกลุ่มผู้ประท้วงเริ่มเปิดฉากขึ้นในวันนี้

ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม จ้าว จื่อหยางเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน(กลาง) กำลังพูดกับกลุ่มนักศึกษาที่กำลังอดอาหารประท้วงในตอนเช้าที่จัตุรัสเทียน อันเหมิน ขณะนั้นจ้าว จื่อหยางถึงกับหลั่งน้ำตาพลางบอกให้นักศึกษากลับไป จ้าวถูกปลดออกจากตำแหน่งโทษฐานแสดงความเห็นใจนักศึกษา ถูกกักบริเวณในบ้านพักเกือบ 16 ปี จนเสียชีวิตในปี 2548
       วันที่ 19: จ้าว จื่อหยาง ในฐานะเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนเดินทางถึงบริเวณจัตุรัสเทียนอันเหมิน และขอร้องทั้งน้ำตาให้ผู้ชุมนุมประท้วงที่ตกอยู่ในอารมณ์รุ่มร้อนออกจาก พื้นที่ด้วยท่าที่อ่อนนุ่ม การปรากฎตัวครั้งนี้นับเป็นการปรากฏต่อสาธารณชนครั้งสุดท้ายของเขา
       
       วันที่ 20: รัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์ประกาศกฎอัยการศึก กองกำลังทหารจีนถูกเรียกมายังจัตุรัสเทียนอันเหมินเพื่อเข้าปราบปรามผู้ประท้วง
       
       วันที่ 26: จ้าว จื่อหยางถูกปลดออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ และถูกทางการกักตัวขังไว้ในบ้านพักในวันที่ 28 พฤษภาคม
       
       วันที่ 29: กลุ่มนักศึกษานำรูปปั้นจำลองอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพของสหรัฐฯ มาวางตรงหน้าของภาพท่านประธานเหมา เจ๋อตง ผู้สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในบริเวณจัตุรัสเทียนอันเหมิน ขณะที่นักศึกษาเริ่มเหน็ดเหนื่อยและมีจำนวนน้อยลง
       
       มิถุนายน
       วันที่ 1 : รัฐบาลจีนออกรายงานแผนต่อสู้การปฏิวัติจลาจลเป็นครั้งแรก
       
       วันที่ 2 : พรรคคอมมิวนิสต์สั่งการให้กองกำลังปลดแอกประชาชนแห่งชาติจีนพร้อมอาวุธเข้าสลายการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน

(ซ้าย)ภาพถ่ายเมื่อ วันที่ 3 มิถุนายน 2532 นักศึกษากำลังตะโกนบอกให้ทหารกลับบ้านขณะที่ฝูงชนจำนวนมหาศาลกำลังเคลื่อน เข้ามายังกรุงปักกิ่ง ,ภาพบรรดาทหารที่ถูกระดมมาปราบปรามกลุ่มประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน อ่อนล้าและเครียดมากระหว่างปฏิบัติการปราบกลุ่มประท้วงในคืนนั้น ซึ่งเด็ดชีวิตผู้คนหลายร้อยคน(ขวา)
       วันที่ 3: กลุ่มนักศึกษาและประชาชนร่วมกันต้านรถถังของทหารบริเวณทางแยกสำคัญของกรุง ปักกิ่ง โดยในค่ำคืนดังกล่าว มีประกาศผ่านโทรโข่งเรียกร้องให้ประชาชนเปิดถนนหลายสาย ส่วนนักศึกษาได้จัดเตรียมอาวุธเพื่อป้องกันตนเอง
       
       วันที่ 3-4 : รัฐบาลจีนส่งทหารติดอาวุธและรถถังเข้าระดมยิงนักศึกษาที่เรียกร้อง ประชาธิปไตย ซึ่งเชื่อกันว่ามีผู้เสียชีวิตหลายร้อย หรืออาจเป็นพันคน

ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2532 เด็กสาวคนหนึ่งได้รับบาดเจ็บระหว่างการปะทะระหว่างทหารและนักศึกษาที่ จัตุรัสเทียนอันเหมิน ในกรุงปักกิ่ง
       

ภาพถ่ายวันที่ 5 มิถุนายน เพียง 1 วันหลังจากเหตุการณ์ปราบปรามผู้ประท้วง ชายหนุ่มคนหนึ่งกระโดดเข้าขวางรถถังที่วิ่งดาหน้าอยู่บนถนนเทียนอัน ซึ่งอยู่ใจกลางกรุงปักกิ่ง แล้วยังปีนขึ้นไปบนหน้ารถถังเพื่อขอร้องพลขับ แต่ผู้เห็นเหตุการณ์พากันไปลากเขาลงมา
       

ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2532 รถถังของกองทัพปลดแอกประชาชนแห่งชาติจีน และทหาร กำลังเฝ้ายามบริเวณถนนฉางอัน ซึ่งเป็นเส้นทางเข้าสู่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ในกรุงปักกิ่ง 2 วันหลังการปราบปรามกลุ่มประท้วง
       วันที่ 5-20 : สื่อต่างชาติทั่วโลกประณามการใช้ความรุนแรงของรัฐบาลจีน
       
       วันที่ 24: นายเจียง เจ๋อหมิน (ซึ่งต่อมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจีน) ขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แทนนายจ้าว จื่อหยางที่ถูกปลดจากตำแหน่งไปก่อนหน้านั้น

http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9520000062391

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew