"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ลั่น 4 เดือนผุด "เขื่อนไม้ไผ่"กู้แผ่นดิน

ลั่น 4 เดือนผุด “เขื่อนไม้ไผ่”กู้แผ่นดิน

ข่าววันที่ 11 มิถุนายน 2552 แหล่งข่าวจาก สยามรัฐ

 

 

                     ลั่น 4 เดือนผุด เขื่อนไม้ไผ่กู้แผ่นดิน

 

 

** บางขุนเทียนจี้กทม.ทำจริง/ชี้สัญญาณเตือนชายฝั่งไทยย่อยยับ

 

    กทม.ย้ำแค่รอ คุณชายอนุมัติปุ๊บเปิดประมูลหาผู้รับเหมาปั๊บ นักวิชาการระบุไม่รีบทำวันนี้ 40 ปี แผ่นดินหายอีก 3 กม. ชี้ถ้ากทม.แก้ไม่ได้ อย่าหมายชายฝั่งทั่วไทยจะเหลือ

   

    เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.52  เวลา 13.00 น. ที่ลานชายทะเลบางขุนเทียน เขตบางขุนเทียน กลุ่มชาวบ้านเครือข่ายรักษ์ทะเลกรุงเทพ จาก 6 ชุมชนชายทะเลบางขุนเทียนได้จัดเวทีเสวนาเนื่องในโอกาส 149 วัน การเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าฯกทม.ของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์   บริพัตร  เกี่ยวกับการแก้ปัญหาชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะซึ่งเรื้อรังมากว่า 40 ปี สูญเสียแผ่นดินกว่า 3,000 ไร่ ขณะที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขจากกทม.ตามที่ผู้ว่าฯสุขุมพันธุ์รับปากไว้ขณะหาเสียง

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ได้มีตัวแทนจากกทม.คือ นายชัยนาท  นิยมธูร  ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบหลัก สำนักการระบายน้ำ และผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมืองและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม  สำนักผังเมือง กทม. ร่วมชี้แจง รวมทั้งมีผู้แทนจากองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ  (IPCN)  และ ดร.อานนท์   สนิทวงศ์   อยุธยา  ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมด้วย

    ทั้งนี้  กลุ่มชาวบ้านได้สอบถามความคืบหน้าโครงการสร้างเขื่อนสลายกำลังคลื่นของกทม.ว่าอยู่ในขั้นตอนใด ซึ่งนายชัยนาทกล่าวว่า จากการประชุมกับชาวบ้านเมื่อวันที่ 17 มี.ค.52  ได้ข้อสรุป 2 แนวทางคือ ทำแนวไม้ไผ่แก้ปัญหาเฉพาะหน้า, เสนอของบประมาณทำเขื่อนกันคลื่นถาวรรูปตัวที หรือทีกรอยน์ จะใช้งบประมาณปี 53  ได้นำเสนอผู้บริหารกทม.แล้ว  สำหรับการทำเขื่อนไม้ไผ่  สำนักงบประมาณอนุมัติหลักการแล้ว  ขณะนี้รอการอนุมัติจากผู้บริหารกทม.  คาดไม่กี่วันจะทราบผล และจะเปิดประมูลด้วยระบบอี-อ็อกชันหาผู้รับเหมาต่อไป  คาดไม่เกิน 4 เดือน จะดำเนินการได้

    ด้านดร.อานนท์กล่าวว่า ปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งมีสาเหตุ 2 ประการ ทั้งการทรุดตัวของแผ่นดินและความแรงของคลื่น ที่ผ่านมาอัตรากัดเซาะชายฝั่งเฉลี่ยของไทยอยู่ที่ 20 เมตร/ปี  และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หากไม่เร่งแก้ไขภายใน 40 ปี แผ่นดินชายฝั่งอาจจะร่นเข้ามา  3  กิโลเมตรเป็นอย่างน้อย   สำหรับเขื่อนไม้ไผ่นั้นป้องกันได้เฉพาะความรุนแรงของคลื่น  แต่ไม่อาจกันปัญหาแผ่นดินทรุดได้   การเพิ่มแผ่นดินให้งอกกลับมาดังเดิมนั้น  มนุษย์จะต้องรบกวนให้น้อยที่สุด โดยจะต้องอาศัยความเข้าใจและความเสียสละของชาวบ้านในพื้นที่ด้วย

    สำหรับแนวทางแก้ปัญหาใดจะดีที่สุดนั้น ดร.อานนท์ว่า   ไม่ฟันธง   เพราะปัญหาลุกลามจนเลยจุดที่จะพิจารณาว่าสูตรใดเป็นสูตรสำเร็จ  และการทดลองใดๆ อาจเสี่ยงเกินไปด้วย  และจากที่ผ่านมาหน่วยงานรัฐเถียงกันเรื่องแก้ปัญหา จึงเสนอให้หาคนกลางให้ทุกฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน ทั้ง กทม. , กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,  กรมเจ้าท่า, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพที่สุด หรือไม่ดำเนินการแต่วันนี้ปัญหาจะยิ่งลุกลาม   โดยเฉพาะกทม.เป็นพื้นที่ปัญหาแรกและพื้นที่ตัวอย่าง  หากแก้ไขไม่ได้  พื้นที่ชายฝั่งทั้งประเทศก็มีสิทธิย่อยยับ

                ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อการประชุมเสร็จสิ้น กลุ่มชาวบ้านต่างยิ้มแย้มแจ่มใส หลังจากทราบว่าภายใน 4 เดือนนี้  กทม.จะมีแนวทางแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทำให้มีความหวังขึ้นอีกครั้งและต่างขอให้กทม.ทำจริงอย่างที่พูดโดยเร็วที่สุด

 

 

 

 

 
  รูปประกอบข่าว
http://www.siamrath.co.th/uifont/NewsDetail.aspx?cid=62&nid=40012
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew