Please visit my blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com | นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก | | นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ส.ส.สัดส่วน | | พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ส.ส.พิจิตร | | นายเสนาะ เทียนทอง ส.ส.สัดส่วน | | นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน |
| วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เวลา 22:12:21 น. มติชนออนไลน์ เปิดชื่อ "16 ส.ส.ปชป.-6 พรรคร่วม-7 ฝ่ายค้าน "ถือครองหุ้น 14 บริษัทร้อน "ส่อหลุดจากส.ส." !
เปิดรายชื่อ 14 บริษัท ที่ 16 ส.ว. ถือครองหุ้นเข้าข่ายต้องห้าม 16 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์-6 ส.ส.พรรคร่วม-7 ส.ส.พรรคฝ่ายค้าน ก็เข้าข่ายแบบเดียวกัน มีสิทธิ์ถูกกกต.มีมติถอดถอนหมดสมาชิกภาพการเป็นส.ส.
หมายเหตุ - คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติเสียงข้างมากให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เลือกตั้งและสรรหา 16 ราย สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา 119 (5) ของรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเข้าเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ และเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทาน หรือเข้าเป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ ในลักษณะผูกขาดตัดตอน ตามมาตรา 48 ประกอบมาตรา 265 (2) และ (4) แห่งรัฐธรรมนูญ 2550 นอกจากนี้ยังมี ส.ส.จำนวน 85 คน ถูกร้องเรียนในกรณีเดียวกัน และ กกต.เตรียมวินิจฉัยในเร็วๆ นี้ "มติชน" ขอนำรายชื่อ ส.ส.ซึ่งถือหุ้นในลักษณะเดียวกับ ส.ว.ทั้ง 16 ราย มาจำแนกให้เห็นในรายละเอียด
รายชื่อบริษัทที่ ส.ว. 16 รายถือครองและเข้าข่ายต้องห้าม มีดังนี้
1.บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 2.บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) 3.บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) 4.บริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) 5.บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) 6.บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) 7.บริษัท สหโคเจน (ชลบุรี) จำกัด (มหาชน) 8.บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 9.บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) 10.บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 11.บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) 12.บริษัท ผู้จัดการ จำกัด (มหาชน) 13.บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 14.บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
บริษัทที่ ส.ว.ถือหุ้นแล้วไม่เข้าลักษณะต้องห้าม มีดังนี้
1.บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) 2.บริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) 3.บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) 4.บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) 5.บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) 6.บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) 7.บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) 8.บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) 9.บริษัท จีเอ็มเอ็มมีเดีย จำกัด (มหาชน) 10.บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 11.บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) 12.บริษัท ธนายง จำกัด (มหาชน) 13.บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) 14.บริษัท อีสเทอร์นไวร์ จำกัด (มหาชน) 15.บริษัท สยามรังนกใต้ จำกัด 16.บริษัท ร่วมมิตรเหมืองแร่ จำกัด 17.บริษัท คลีนเอเชียเซ็นเตอร์ จำกัด 18.บริษัท พะเยาธุรกิจ จำกัด 19.บริษัท พิสิษฐ์ธุรกิจ จำกัด 20.บริษัท พะเยาศิลาภัณฑ์ จำกัด 21.ห้างหุ้นส่วนจำกัด จรัลรัตน์
จากคำร้องของนายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย ในขณะเป็นรองโฆษกพรรคพลังประชาชน ได้ขอให้ กกต.ตรวจสอบ 28 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา ได้ขอให้ตรวจสอบ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน จำนวน 57 คน สิ้นสุดความเป็นสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. ตามมาตรา 106 (6) ของรัฐธรรมนูญ 2550 เพราะอาจกระทำการต้องห้ามตามมาตรา 48 ประกอบ มาตรา 265 (2) ของรัฐธรรมนูญ
พบว่ามี ส.ส.ที่เข้าถือครองหุ้นในบริษัทที่อยู่ในข่ายเดียวกับ ส.ว. 16 ราย และ กกต.ได้เปิดเผยชื่อ 14 บริษัทที่เข้าลักษณะต้องห้าม ซึ่งอาจเป็นเหตุให้สิ้นสุดการเป็น ส.ส. มีจำนวน 29 คน ประกอบด้วย
พรรคประชาธิปัตย์ 16 คน
1.นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค และ ส.ส.สุราษฎร์ธานี รองนายกรัฐมนตรี ถือหุ้นบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 2.นายอนุชา บุรพชัยศรี ส.ส.กทม. ถือหุ้นบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 3.นายสมเกียรติ ฉันทวานิช ส.ส.กทม. ถือหุ้นบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) 4.นายชนินทร์ รุ่งแสง ส.ส.กทม. ถือหุ้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 5.น.ส.นริศา อดิเทพวรพันธุ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช ถือหุ้นบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) 6.นายสัมพันธ์ ทองสมัคร ส.ส.นครศรีธรรมราช ถือหุ้นบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) 7.นายสงกรานต์ จิตสุทธิภากร ส.ส.นครสวรรค์ ถือหุ้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 8.นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก ถือหุ้นบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) 9.นายวิชัย ล้ำสุทธิ ส.ส.ระยอง ถือหุ้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 10.นายเจือ ราชสีห์ ส.ส.สงขลา ถือหุ้นบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 11.นายลาภศักดิ์ ลาภาโรจน์กิจ ส.ส.สงขลา ถือหุ้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 12.นางนิภา พริ้งศุลกะ ส.ส.สุราษฎร์ธานี ถือหุ้นบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 13.นายสราวุธ อ่อนละมัย ส.ส.ชุมพร ถือหุ้นบริษัท โทเทิ่ลแอคเซสคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) 14.นายเธียรชัย สุวรรณเพ็ญ ส.ส.ตาก ถือหุ้นบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) 15.นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ส.ส.สัดส่วน กลุ่มที่ 8 ถือหุ้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 16.น.ส.เฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์ ส.ส.สัดส่วน กลุ่มที่ 8 ถือหุ้นบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน)
พรรคร่วมรัฐบาล 6 คน
1.นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ ส.ส.พิษณุโลก พรรคกิจสังคม ถือหุ้นบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) 2.นางมลิวัลย์ ธัญญสกุลกิจ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อแผ่นดิน ถือหุ้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 3.นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ส.ส.พระนครศรีอยุธยา พรรคชาติไทยพัฒนา รมช.เกษตรและสหกรณ์ ถือหุ้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) 4.นายสาธิต เทพวงศ์ศิริรัตน์ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อแผ่นดิน ถือหุ้นบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) 5.พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ส.ส.พิจิตร พรรคชาติไทยพัฒนา รองนายกฯ ถือหุ้นบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) 6.ม.ร.ว.กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน ถือหุ้นบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน)
พรรคฝ่ายค้าน 7 คน ดังนี้
1.นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 2.นายสมพล เกยุราพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) 3.นายวัลลภ ไทยเหนือ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน ถือหุ้นในบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) 4.ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 5.นายเสนาะ เทียนทอง ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาราช ถือหุ้นบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 6.นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัท เทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 7.นายอิทธิเดช แก้วหลวง ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ถือหุ้นบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
------------------------------------------------
ขั้นตอนหลังกกต.วินิจฉัย
หากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) วินิจฉัยการถือหุ้นของ ส.ส. 57 คน โดยใช้มาตรฐานเดียวกันกับ 16 ส.ว.แล้ว หลังจากวินิจฉัยให้สิ้นสมาชิกภาพ จะต้องส่งเรื่องไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา 91 เพื่อส่งต่อไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ส.ส.และ ส.ว.สิ้นสุดความเป็นสมาชิกภาพตามที่ กกต.เสนอมา จะส่งผลให้ ส.ส.และ ส.ว.จำนวนดังกล่าวขาดจากสมาชิกภาพ และทำให้ ส.ส.ที่เป็นรัฐมนตรีหลุดจากตำแหน่งทันที
เมื่อตำแหน่ง ส.ส.ว่างลงเพราะอื่นใดนอกจากถึงคราวออกตามอายุของสภาหรือยุบสภา หากเป็น ส.ส.เขตจะต้องจัดการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างลงภายใน 45 วัน
ส่วน ส.ส.แบบสัดส่วน หากตำแหน่งว่างลงจะต้องเลื่อนผู้มีชื่อในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้นที่ว่างลงขึ้นมาแทน สำหรับตำแหน่ง ส.ว.เลือกตั้งว่างลงเพราะเหตุตามมาตรา 119 ต้องเลือกตั้งใหม่ภายใน 30 วัน ส่วน ส.ว.สรรหา จะต้องสรรหาใหม่ภายใน 30 วันนับแต่ได้รับรายชื่อจาก กกต. ------------------------------------------------ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1245418523&grpid=10&catid=01
|
Invite your mail contacts to join your friends list with Windows Live Spaces. It's easy!
Try it!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น