"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ยูเอ็นเอชซีอาร์ รายงานจำนวนผู้ลี้ภัย และผู้พลัดถิ่นกว่า 42 ล้านทั่วโลก

ยูเอ็นเอชซีอาร์ รายงานจำนวนผู้ลี้ภัย และผู้พลัดถิ่นกว่า 42 ล้านทั่วโลก

 

 

       

     เนื่องในวันผู้ลี้ภัยโลก 20 มิถุนายน ยูเอ็นเอชซีอาร์ หน่วยงานขององค์กรสหประชาชาติที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย เปิดเผยสถานการณ์ผู้ลี้ภัยโลกว่า ในปีที่ผ่านมา ทั่วโลกยังมีคนกว่า 42 ล้านคนที่ผลัดพรากจากบ้านเรือนตัวเอง แบ่งเป็นผู้ลี้ภัยจำนวน 16 ล้านคน และผู้พลัดถิ่นจำนวน 26 ล้านคน จำนวนโดยรวมลดลง 700,000 คน จากปีที่แล้ว เนื่องจากยังไม่รวมผู้พลัดถิ่นในปี 2552 ซึ่งมีเป็นจำนวนมากจากประเทศปากีสถาน ศรีลังกา และโซมาเลีย

“ถึงแม้จำนวนจะลดลง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นยาวนาน และระยะเวลาที่ใช้ในการคืนสู่บ้านเกิดของคนเหล่านั้น ทำให้พวกเขาต้องพลัดพรากจากบ้านเมืองตนเองเป็นเวลายาวนาน เป็นปี หรือกว่าสิบปีก็ได้” นาย โจเซปเป เดอ วินเซนทิส รองผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) กล่าว

       จากจำนวนคนที่พลัดพรากจากบ้านทั้งหมด 42 ล้านคน มี 25 ล้านคน อยู่ในความดูแลของยูเอ็นเอชซีอาร์ โดยแบ่งเป็นบุคคลพลัดถิ่นจำนวน 14.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก 13.7 ล้านคนในปี 2551 ส่วนผู้ลี้ภัยจำนวน 10.5 ล้านคน ลดลงจาก 11.4 ล้านคนในปี 2551 เป็นการลดลงครั้งแรกตั้งแต่ปี 2550 โดยมีสาเหตุมาจากการกลับคืนบ้านเกิดโดยสมัครใจ และจากการปรับจำนวนบุคคลที่มีลักษณะคล้ายผู้ลี้ภัยในประเทศอิรัก และโคลัมเบีย

       รายงานฉบับนี้พบว่า ร้อยละ 80 ของผู้ลี้ภัยในโลกมาจากประเทศกำลังพัฒนา โดยประเทศที่มีผู้ลี้ภัยมากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ ปากีสถาน ซีเรีย อิหร่าน เยอรมัน และ จอร์แดน ส่วนประเทศที่เป็นต้นกำเนิดของผู้ลี้ภัยคือ อัฟกานิสถาน และอิรัก  

    สำหรับ ประเทศไทย ปัจจุบันมีผู้ที่ลงทะเบียนเป็นผู้ลี้ภัยแล้วจำนวน 112,932 คน และมีผู้ขอลงทะเบียนเป็นผู้ลี้ภัยจำนวน 12.578 คน โดยส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยจากพม่า ชาวกะเหรี่ยง และกะเหรี่ยงแดง

“คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยทราบว่ามีคนที่เป็นผู้ลี้ภัยจริงๆ อยู่ในประเทศของตัวเอง” นาย โจเซปเป เดอ วินเซนทิส กล่าว “ผู้ลี้ภัย ไม่เหมือนแรงงานต่างด้าว ผู้ลี้ภัยไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากหนีออกจากประเทศของตน พวกเขาต้องหนี
เพราะชีวิตของพวกเขาตกอยู่ในอันตราย หรือมีการไม่เคารพสิทธิมนุษยชนของพวกเขา เราหวังว่าในวันผู้ลี้ภัยโลก 20 มิ.ย. และรายงานประจำปีของเราจะสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยให้คนไทยได้ทราบมากขึ้น”

       ยูเอ็นเอชซีอาร์ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยร่วมกับรัฐบาลไทย และเอ็นจีโอที่ทำงานในพื้นที่ โดยให้ความคุ้มครองต่อผู้ลี้ภัย และพัฒนาคุณภาพชีวิต ในด้านต่างๆ อาทิ การฝึกทักษะอาชีพ และ การศึกษา เพื่อผู้ลี้ภัยดำเนินชีวิตระหว่างอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวอย่างปลอดภัย

 “ผู้ลี้ภัยกว่า 100,000 คนในประเทศไทย ต้องอยู่ในพื้นที่ปิดมาเกือบตลอดชีวิต บางคนอยู่มาสิบปี ยี่สิบปี หรือแม้แต่เกิดที่ในพื้นที่พักพิงนั้น การที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ออกจากพื้นที่ สร้างความอึดอัด และเกิดสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตราย เสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรง ข่มขืน และการใช้ยาเสพติด”   นาย โจเซปเป เดอ วินเซนทิส กล่าว

       ในรายงานฉบับนี้ ได้แสดงให้เห็นการให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยใน 3 รูปแบบ นั่นคือ การเดินทางกลับประเทศตนเองโดยสมัครใจ การตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่สาม และการตั้งถิ่นฐานในประเทศที่ลี้ภัย สำหรับการตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่สาม รายงานฉบับนี้ แสดงให้เห็นว่า ในปีที่ผ่านมาผู้ลี้ภัยชาวพม่า ได้รับการตั้งถิ่นฐานมากที่สุดเป็นจำนวน 23,200 คน เมื่อเทียบกับชาติอื่น โดยสำนักงานยูเอ็นเอชซีอาร์ในประเทศไทย สามารถดำเนินการให้ผู้ลี้ภัยตั้งถิ่นฐานในต่างประเทศได้มากที่สุด เทียบกับสำนักงานยูเอ็นเอชซีอาร์ในอีก 85 ประเทศ โดยตั้งแต่ปี 2548 ยูเอ็นเอชซีอาร์ในประเทศไทยได้ช่วยเหลือให้ผู้ลี้ภัยกว่า 40,000 คน ได้ตั้งถิ่นฐานในต่างประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย โดยคาดว่า ภายในสิ้นปีนี้จะสามารถช่วยเหลือผู้ลี้ภัยได้รับสิทธิในการตั้งถิ่นฐานในประเทศใหม่ได้เป็นจำนวน 50,000 คน

       ผู้ลี้ภัยที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยจากประเทศพม่า ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศพม่าเกิดขึ้นยาวนาน และไม่สามารถแก้ไขได้ในอนาคตอันใกล้

“เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองไม่มีความเปลี่ยนแปลง ความกดดัน และภาระในการแก้ปัญหาผู้ลี้ภัย ก็จะตกอยู่กับประเทศที่ผู้ลี้ภัยอาศัยอยู่ เช่นประเทศไทย เราเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ประชาคมโลกทุกฝ่ายจะต้องช่วยประเทศเหล่านั้นในการแก้ปัญหาผู้ลี้ภัยร่วมกันต่อไป” นาย โจเซปเป เดอ วินเซนทิส สรุป

 

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
อรุณี อัชชะกุลวิสุทธิ์
เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์
โทร 02 288 2811
Email : achakulw@unhcr.org

go to top

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ (UNHCR)
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew