กทช. เดินหน้ามาตรการกำกับพฤติกรรมที่มีลักษณะต่อต้านการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคม หวังแก้ปัญหาการผูกขาดตลาด ชี้อีก 2 สัปดาห์พิจารณาอีกครั้งก่อนประกาศในราชกิจจา
นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร เลขา ธิการ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่ง ชาติ (กทช.) กล่าวภายหลังรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ครั้งสุดท้าย เกี่ยวกับการจัดทำร่างประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการกำกับพฤติกรรมที่มีลักษณะต่อต้านการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคม พ.ศ.... เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 52 ที่รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค ว่า กทช.ได้ศึกษาข้อมูลดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งเป็นการทำงานแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจาก กทช.เกิดหลังจากที่บริษัทต่าง ๆ เข้ามาทำตลาดโทรคมนาคม ซึ่งหลังจากรับฟังความคิดเห็นแล้วคณะทำงานจะวิเคราะห์หลักเกณฑ์ลักษณะของผู้ประกอบการใน 9 ตลาด ที่กทช.กำหนด เพื่อดูว่าบริษัทใดเข้าข่ายเป็นผู้ผูกขาดตลาด เพื่อจัดทำมาตรการกำกับดูแลเป็นพิเศษ และทำให้ตลาดเกิดการแข่งขันแบบเสรี
“หลังรับฟังความเห็นสาธารณะแล้ว คณะทำงานจะวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดก่อนนำ เรื่องเสนอต่อที่ประชุม กทช.ในอีก 2 สัปดาห์ เพื่อออกเป็นประกาศราชกิจจานุเบกษา หลังจาก นั้น กทช.จะใช้เวลา 180 วัน ในการศึกษาว่าผู้ประกอบการใดมีอำนาจเหนือตลาดเพื่อจัดทำมาตรการกำกับดูแล” นายสุรนันท์ กล่าว
รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม กรรมการ กทช. กล่าวว่า อุตสาหกรรมโทรคมนาคมมีการขยายตัวเร็วมาก ปัจจุบันมีการขยายตัวสู่ธุรกิจข้ามชาติ โดยมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นตัวผลักดัน ดังนั้นการสร้างการแข่งขันที่เสรีโดยดูต้นทุนจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะในอดีตตลาดโทรคมนาคมไม่มีการแข่งขัน ซึ่งแต่ละรายจะใช้วิธีแบ่งรายได้กัน ทำให้ผู้บริโภคต้องแบกรับภาระเรื่องของต้นทุน ทั้งนี้ตามร่างประกาศฯ ดังกล่าว ระบุความหมายของผู้มีอำนาจเหนือตลาดไว้ว่า เป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในตลาดที่มีการกระจุกตัวสูง และมีส่วนแบ่งตลาดเกิน 40%.
นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร เลขา ธิการ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่ง ชาติ (กทช.) กล่าวภายหลังรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ครั้งสุดท้าย เกี่ยวกับการจัดทำร่างประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการกำกับพฤติกรรมที่มีลักษณะต่อต้านการแข่งขันในตลาดโทรคมนาคม พ.ศ.... เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 52 ที่รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค ว่า กทช.ได้ศึกษาข้อมูลดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2549 ซึ่งเป็นการทำงานแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจาก กทช.เกิดหลังจากที่บริษัทต่าง ๆ เข้ามาทำตลาดโทรคมนาคม ซึ่งหลังจากรับฟังความคิดเห็นแล้วคณะทำงานจะวิเคราะห์หลักเกณฑ์ลักษณะของผู้ประกอบการใน 9 ตลาด ที่กทช.กำหนด เพื่อดูว่าบริษัทใดเข้าข่ายเป็นผู้ผูกขาดตลาด เพื่อจัดทำมาตรการกำกับดูแลเป็นพิเศษ และทำให้ตลาดเกิดการแข่งขันแบบเสรี
“หลังรับฟังความเห็นสาธารณะแล้ว คณะทำงานจะวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดก่อนนำ เรื่องเสนอต่อที่ประชุม กทช.ในอีก 2 สัปดาห์ เพื่อออกเป็นประกาศราชกิจจานุเบกษา หลังจาก นั้น กทช.จะใช้เวลา 180 วัน ในการศึกษาว่าผู้ประกอบการใดมีอำนาจเหนือตลาดเพื่อจัดทำมาตรการกำกับดูแล” นายสุรนันท์ กล่าว
รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม กรรมการ กทช. กล่าวว่า อุตสาหกรรมโทรคมนาคมมีการขยายตัวเร็วมาก ปัจจุบันมีการขยายตัวสู่ธุรกิจข้ามชาติ โดยมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นตัวผลักดัน ดังนั้นการสร้างการแข่งขันที่เสรีโดยดูต้นทุนจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะในอดีตตลาดโทรคมนาคมไม่มีการแข่งขัน ซึ่งแต่ละรายจะใช้วิธีแบ่งรายได้กัน ทำให้ผู้บริโภคต้องแบกรับภาระเรื่องของต้นทุน ทั้งนี้ตามร่างประกาศฯ ดังกล่าว ระบุความหมายของผู้มีอำนาจเหนือตลาดไว้ว่า เป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในตลาดที่มีการกระจุกตัวสูง และมีส่วนแบ่งตลาดเกิน 40%.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น