"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

[netizen] บทความ : เว็บมาสเตอร์กับการกระทำผิดบนเน็ต : ความซับซ้อน และ บทเรียนจากกรณีคลิปหลุด "เฉินกวนซี"


 

จาก: Thai Netizen Network <freethainetizen@gmail.com>
วันที่: มิถุนายน 8, 2009 2:36 หลังเที่ยง
หัวเรื่อง: [netizen] บทความ : เว็บมาสเตอร์กับการกระทำผิดบนเน็ต : ความซับซ้อน และ บทเรียนจากกรณีคลิปหลุด "เฉินกวนซี"
ถึง: thainetizen@googlegroups.com


เว็บมาสเตอร์กับการกระทำผิดบนเน็ต : ความซับซ้อน และ บทเรียนจากกรณีคลิปหลุด “เฉินกวนซี”

สฤณี อาชวานันทกุล และ กอปรทิพย์ อัจฉริยโสภณ

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพยิ่งในการเสริมสร้างกระแส ประชาธิปไตยและกระตุ้นความสนใจในการอภิปรายประเด็นสาธารณะ โดยเฉพาะท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่กดดันให้คน “เลือกข้าง” และสื่อกระแสหลักส่วนใหญ่และสื่อกระแสรองบางรายเลือกทำข่าวอย่างมีอคติ บิดเบือนข้อเท็จจริง หรือรายงานความจริงเพียงครึ่งเดียว

ด้วยเหตุนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่อินเทอร์เน็ตจะได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ กระดานสนทนาหรือ “เว็บบอร์ด” หลายแห่งที่เปิดให้คนได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นกันอย่างเสรีกลาย เป็น “สื่อทางเลือก” ที่ทรงพลังในการสืบค้นข้อเท็จจริง แลกเปลี่ยนมุมมองที่หลากหลาย และอภิปรายประเด็นสาธารณะ ในเมื่อเว็บบอร์ดหลายแห่งกลายเป็นสื่อของประชาชนในแง่นี้ไปแล้วโดยปริยาย สิทธิเสรีภาพของประชาชนที่แสดงออกในอินเทอร์เน็ตจึงสมควรได้รับการคุ้มครอง และส่งเสริมจากรัฐและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ดังนั้น ถ้า เจ้าหน้าที่รัฐจะอ้างเหตุผล เช่น “ความมั่นคงของชาติ” หรือ “ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง” ในการดำเนินคดีกับผู้ต้องสงสัยว่ากระทำผิดบนอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะในทางที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้เน็ตคนอื่นๆ เช่น ด้วยการปิดกั้นเว็บไซต์หรือเว็บบอร์ด เจ้าหน้าที่ก็ควรจะกระทำการด้วยความระมัดระวัง รอบคอบ และใส่ใจกับ “วิธีการ” ที่จะนำไปสู่การจับกุมผู้กระทำผิดตัวจริง โดยไม่ตั้ง “ธง” ไว้ล่วงหน้าว่าผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ไอเอสพี) เว็บ มาสเตอร์ หรือผู้ดูแลเว็บบอร์ดมีเจตนาที่จะยินยอม จงใจ หรือสนับสนุนให้เกิดการกระทำผิดบนเน็ต โดยเฉพาะในฐานความผิดที่ยังมีความคลุมเครือไม่ชัดเจนต่อคนทั่วไปว่า จะต้องมีเนื้อหาอย่างไรและมีขอบเขตแค่ไหนจึงจะถือว่า “ผิดกฎหมาย” เพราะการตีความของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน อาทิเช่น ข้อหาหมิ่นประมาท และข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่ถูกนำมาใช้อย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะข้อกล่าวหาที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมบนอินเทอร์เน็ต ที่รัฐไทยยังไม่เข้าใจธรรมชาติที่เป็นจริง


โปรดอ่านบทความฉบับเต็มใน http://thainetizen.org/node/581

 ทั้งนี้ผู้เขียน และ เครือข่ายพลเมืองเน็ต ยินดีให้ทุกท่้านเผยแพร่ซ้ำบทความชิ้นนี้ในสื่ออื่นๆได้ เพื่อการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนในประเด็นดังกล่าวอย่างกว้างขวางต่อไป


  


--
We stand for cyber-liberty!

--~--~---------~--~----~------------~-------~--~----~
Thai Netizen Network
http://thainetizen.org/

----
u rcvd diz msg bcoz u r sbscbd 2 d "Thai Netizen Network" grp.
post, email thainetizen@googlegroups.com
leave, email thainetizen+unsubscribe@googlegroups.com
info, http://groups.google.com/group/thainetizen
-~----------~----~----~----~------~----~------~--~---


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew