"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

NBC: Thai tabloids lurch btwn lurid and deferential: สื่อไทยสับสนระหว่างการลงภาพอุจาดกับความศิโรราบ

วันศุกร์, มิถุนายน 12, 2009

NBC: Thai tabloids lurch btwn lurid and deferential: สื่อไทยสับสนระหว่างการลงภาพอุจาดกับความศิโรราบ

โดย Warangkana Chomchuen จาก NBC
ที่มา NBC News
แปลโดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์

หนังสือพิมพ์ไทยสับสนระหว่างการลงภาพที่อุจาดตากับความศิโรราบ

สื่อไทยเป็นแหล่งความสับสนของความขัดแย้งกันเอง


ในระบอบการปกครองแบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ประเทศไทยมีกฏหมายที่เคร่งครัดมากและไม่อนุญาตให้ตีพิมพ์หรือกระจายข้อมูลที่เข้าข่ายหมิ่นหรือโจมตีสถาบันกษัตริย์

แต่เมื่อมีการลงข่าวเกี่ยวกับอาชญากรรม โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเพศและความรุนแรงแล้วประดุจหนึ่งนรกแตก

ข่าวอาชญากรรมนั้นลงลึกไปในรายละเอียดจนทำให้ดูอุจาดบาดตา ซึ่งในกรณีของการตายของ David Carradine เป็นตัวอย่างล่าสุดของการรายงานข่าวที่เกินความจำเป็น

ตรงกันข้าม กฏหมายหมิ่นฯที่มีมากว่าหลายสิบปีได้ทำให้สื่อต้องเซ็นเซอร์ตัวเองและระมัดระวังเป็นอย่างมากเวลาที่รายงานเรื่องสถาบันกษัตริย์ ทหาร ขบวนการยุติธรรม หรือเรื่องที่ละเอียดอ่อนทางการเมือง กฏหมายบ่งบอกว่าใครที่ทำลายชื่อเสียง หมิ่น หรือข่มขู่สถาบันกษัตริย์อาจจะถูกลงโทษจำคุก 3 ถึง 15 ปี (ถึงแม้ว่าการจะมีการอภัยโทษหลังจากการตัดสิน)

Carradine แน่นอนไม่ได้รับการปรนณิบัติอย่างเจ้า หนังสือพิมพ์ไทยรัฐซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่ขายดีที่สุดในประเทศไทย ลงภาพที่น่าสหยดสยองของนักแสดงบนหน้าหนึ่งเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ภาพดังกล่าวถึงแม้ว่าจะถุกแรเงาเพื่อปิดบังร่างกายแสดงถึงการแขวนตัวเองโดยเชือกภายในตู้เสื้อผ้า

ครอบครัวของ Carradine โกรธมากและทนายของพวกเขาขู่ที่จะฟ้องร้องสื่ออื่นๆที่ลงภาพของเขา แต่การวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อ่านคนไทยมีน้อยมาก

เป็นรูปแบบหนึ่งของการควบคุมทางการเมือง

ในขณะเดียวกัน แม้แต่การรายงานเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยยังถูกเผชิญกับการลงโทษที่สาหัส ในหลายปีที่ผ่านมา พลเมืองไทยและต่างชาติหลายคนที่ถูกตัดสินว่าผิดจากการละเมิดกฏหมายหมิ่นฯ ตั้งแต่ชาวออสเตรเลียที่เขียนเกี่ยวกับมกุฎราชกุมารเพียงแค่สองบรรทัดในหนังสือที่พิมพ์โดยตนเองจนถึงชาวสวิสที่ไปขีดเขียนบนภาพพระพักตร์ของกษัตริย์ไปจนถึงนักเคลื่อนไหวและนักวิชาการที่พูดุยกันในการถกเถียงและอภิปรายกันในสาธารณะ

นอกจากนั้น ข้อกล่าวหาคดีหมิ่นฯเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกต่อผู้มีอำนาจเพื่อที่จะกำจัดศัตรูทางการเมือง (และเป็นเพราะสื่อไม่สามารถจะตีพิมพ์ข้อความหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นฯ ไม่มีใครรู้ว่ามีคำพูดหรือการกระทำอะไรเกิดขึ้นที่ "ทำให้สถาบันฯเสื่อมเสีย" ) มันยังถูกใช้เพื่อเปลี่ยนการปกครอง การอ้างว่าเป็นการไม่เคารพต่อกษัตริย์เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ใช้โดยทหารในการรัฐประหารรัฐบาลของทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี 2549

ทั้งหมดมันหมายความว่าข่าวที่เกี่ยวกับราชวงศ์ไทยจะเป็นข่าวเกี่ยวกับราชพิธีและการกุศลเท่านั้น

ถ้ามีเลือดออก เป็นข่าวหน้าหนึ่งแน่

ที่ขัดแย้งกับสิ่งเหล่านี้คือการรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐที่มีผู้อ่านกว่าล้านคนและหนังสือพิมพ์รายวันอื่นๆ สตรีผู้เป็นเหยื่อการข่มขืนมักจะถูกล่าโดยนักข่าวเพื่อเอาเรื่องราวของพวกเขาและถูกซักไซร้เรื่องการถูกทำร้ายโดยละเอียดยิบ และถึงแม้ว่าชื่อของผู้ถูกข่มขืนจะถูกกล่าวโดยนามแฝงแต่ที่อยู่ของพวกเขาจะถูกตีพิมพ์ลงในข่าว

ไม่ค่อยมีการขอความช่วยเหลือเท่าไหร่ การฟ้องร้องดำเนินคดีมันค่อนข้างจะแพงและซับซ้อน และการฟ้องร้องหนังสือพิมพ์เพื่อรับผิดชอบต่อการลงข่าวข้อมูลส่วนตัวไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย กลับกัน เราอยู่ในวัฒนธรรมของคำว่า ""ไม่เป็นไร" ที่เปิดประตูให้สื่อละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

Carradine ไม่ได้เป็นคนแรกที่ถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคลโดยหนังสือพืมพ์ไทยและเขาคงจะไม่ได้เป็นคนสุดท้ายด้วย

THAI TABLOIDS LURCH BETWEEN LURID AND DEFERENTIAL

BANGKOK – Thailand's media is a complicated morass of contradictions.
A constitutional monarchy, the country has draconian laws that restrict and prohibit publishing or broadcasting materials deemed insulting or offensive to the monarchy.

But when it comes to reporting dramatic crimes, especially those involving sex and violence, all hell breaks loose. Crime reporting is so detailed that it tends to the gaudy and salacious, the death of David Carradine being the most recent example of over-the-top coverage.

In contrast, century-old lèse majesté ("injured majesty") laws mean that Thai media most often exercises self-censorship and is extremely cautious when it comes to covering the monarchy, military, judiciary or other politically sensitive issues. The codes say that whoever defames, insults or threatens the monarchy is punishable by a sentence of three to 15 years imprisonment (though royal pardons are usually granted after conviction).

Carradine most definitely did not receive the royal treatment. Thai Rath, Thailand's best-selling daily newspaper, published a grisly photo of the actor on its front page last week. The photo, though pixilated to hide some of his nudity, shows Carradine hanging by rope inside a closet.

Carradine's family was outraged and their lawyer threatened to sue any other media outlet that published the photo. But criticism of the coverage from Thai readers was minimal.

A form of political control

Meanwhile, even comparatively tame reporting on the Thai monarchy can be met with severe punishment. In recent years dozen of Thais and foreigners have been convicted of violating lèse majesté laws, ranging from an Australian who wrote a couple of lines about the crown prince in his self-published book to a drunken Swiss defacing portraits of the king to local activists and academics engaged in public debate and discussion.

In addition, lèse majesté charges are a convenient device for the powers that be to eliminate political adversaries. (And because the press can't reprint comments or materials subject to lèse majesté, no one actually knows what was said and done to "damage the monarchy.") They are even used for regime change: Citing disrespect for the king was one of the reasons the military used to justify staging a coup against former Prime Minister Thaksin Shinawatra in 2006.

It all means that news about the Thai royals consists mostly of items about ceremonies and charity events.

'If it bleeds, it leads'

Contrasting this is the crime coverage of the million-plus circulation Thai Rath and several other dailies. Female rape victims are often hounded by reporters for their stories and are asked to recount their attacks in morbid detail. And although rape victims are often identified by aliases, not their real names, their addresses are often published.

There is not much recourse. Bringing lawsuits is both expensive and complicated, and suing media outlets for liable for publishing personal information is not a part of Thai culture. Instead, we live in a "mai pen rai" or "never mind" culture that opens the door for media outlets to violate people's privacy.

Carradine is not the first person to have his privacy violated by the Thai press, and likely won't be the last.

http://thaienews.blogspot.com/2009/06/nbc-thai-tabloids-lurch-btwn-lurid-and.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew