--
Please visit my blog.
Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://www.biz652.com
http://dbd-52.hi5.com
เว็บมาสเตอร์ ขึ้นศาลอาญานัดแรกเพื่อเปิดคดี ระบุ ชีวิตขณะนี้ ต้องอยู่กับความไม่แน่นอน ไม่กล้าลงทุนเพิ่ม ถือโอกาสนี้ทบทวนข้อผิดพลาด...
นายศิริพร สุวรรณพิทักษ์ เจ้าของเว็บไซต์ www.212cafe.com ผู้ให้บริการเว็บไซต์ 212cafe.com ที่ถูกจับกุมภายใต้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (4) และมาตรา 15 เมื่อวันที่ 23 พ.ค.2551 ในข้อหาปล่อยให้มีภาพที่มีลักษณะลามกปรากฏอยู่บนเว็บบอร์ด เปิดเผยความรู้สึกหลังขึ้นศาลอาญาเปิดคดีนัดแรกวานนี้ (22 มิ.ย.) ว่า หลังจากที่ตกเป็นผู้ต้องหา และจำเลยในคดีนี้มากว่า 1 ปี รู้สึกตื่นเต้นและไม่ค่อยมั่นใจเท่าใดกับการขึ้นศาลนัดแรก ทั้งนี้ศาลได้นัดให้สืบพยานคดีนี้ครั้งแรก ในช่วงปลายเดือน เม.ย.2553
เจ้าของเว็บไซต์ www.212cafe.com กล่าวต่อว่า คดีนี้มาจากเรื่องของการใช้ช่องสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต แต่กลับส่งผลร้ายแรงต่อชีวิต เป็นคดีอาญาแผ่นดินที่หากถูกตัดสินว่าผิดจริง ต้องถูกลงโทษหนัก แต่การปฏิบัติของเจ้าหน้าที่แค่ยกหูโทรศัพท์แจ้งเรื่องครั้งเดียว จากนี้ไปต้องพิจารณาข้อผิดพลาดที่ผ่านมา เพื่อเป็นบทเรียน โดยเท่าที่ดูหลักฐานที่มีอยู่ ทำให้รู้ว่าทางตำรวจ และเจ้าพนักงานคิดกับคดีนี้อย่างไร ทั้งที่เรื่องการโพสต์รูปดูไปแล้วไม่น่าจะมีอะไร แต่โทษทางกฎหมายกับรุนแรงมาก และอาจต้องใช้เวลาในการต่อสู้คดีที่ยาวนาน นับเวลาตั้งแต่ถูกจับเมื่อปี 2551 จนถูกสั่งฟ้องขึ้นศาลในปี 2552 และศาลนัดสืบพยานนัดแรกในปี 2553 เริ่มกระทบกับความมั่นใจในการทำธุรกิจ เพราะไม่กล้าลงทุนด้วยเงินจำนวนมาก เพราะต้องแบ่งมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับสู้คดีต่อไป
ด้าน นางภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ อนุกรรมการ สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย กล่าวในฐานะผู้ที่ติดตามคดีนี้มาตลอดว่า แทนที่ พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 จะสร้างประโยชน์ และปกป้องผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ แต่สุดท้ายด้วยกรณีคดีความแบบนี้ พรบ.ฉบับนี้อาจถูกใช้เป็นเครืองมือ สำหรับกลั่นแกล้งโดยบุคคลที่ไม่หวังดี เพื่อส่งผลให้ภาพลักษณ์ของกฎหมายฉบับนี้เสียไป หรือ ผิดไปจากเจตนารมณ์เดิมของการร่างกฎหมาย เพื่อรับมือกับคดีทางคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม เมื่อกฎหมายมีข้อบกพร่อง เพราะเทคโนโลยีไอทีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ดังนั้น จึงจำเป็นที่ต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเหล่านี้ ให้สอดคล้องกับโลกปัจจุบัน รวมทั้งเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ และภัยออนไลน์ให้ทัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น