"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กมธ.สื่อสารโทรคมนาคม สผ. ร่วมประชุมกับกทช.เรื่องโทรศัพท์ 3 จี

 

 

 

 

กมธ.สื่อสารโทรคมนาคม สผ. ร่วมประชุมกับกทช.เรื่องโทรศัพท์ 3 จี

13 พ.ย. 52               ประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร เผย ทราบข้อมูลและความชัดเจนมากขึ้นในเรื่องของเปิดประมูลคลื่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3 จี หลังจากเดินทางไปร่วมประชุมกับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เชื่อ รัฐบาลน่าจะให้ความสำคัญและรีบเดินหน้าดำเนินการ

                นายคงกฤช  หงส์วิไล ประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสารและโทรคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง การไปร่วมประชุมกับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.)ว่า กมธ.ได้ซักถามความคืบหน้าเกี่ยวกับแนวทางการเปิดประมูลคลื่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G ทำให้ทราบข้อมูลและความชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้  กมธ.ได้เชิญประธานกทช. มาร่วมประชุม แต่ไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร เพราะกทช.ส่งเพียงตัวแทนเข้าร่วมประชุม ซึ่งไม่สามารถให้ข้อมูลในบางประเด็นได้ อีกทั้งไม่มีอำนาจตัดสินใจ นอกจากนี้ยังมีความคลุมเครือในเรื่องการจัดทำ TOR ที่ยังขาดความชัดเจนในรายละเอียด การที่กมธ.เดินทางไปร่วมประชุมกับกทช.จึงทำให้ทราบข้อมูลในประเด็นข้อสงสัยในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ เห็นว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G มีความสำคัญมาก ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลจะให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวและรีบดำเนินการ เนื่องจาก ขณะนี้ประเทศอื่นมีความก้าวหน้าเรื่อง 3 จีไปมากแล้ว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                                                                อัญชิสา  จ่าภา         ผู้สื่อข่าว

                                                                                                                มันทนา  ศรีเพ็ญประภา          เรียบเรียง



--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
kb
http://www.healthstation.in.th/index1.html
http://camp02.blogspot.com/ camp02
http://kb1951.blogspot.com/ tkpark
http://kbparks.blogspot.com/ tkpark9
http://word1951.blogspot.com/ wordpress
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/
http://gotoknow.org/blog/krunoppol/
http://baankruaeed.wordpress.com/
http://ngaochan.hi5.com/
http://www.oknation.net/blog/subaltern
http://gotoknow.org/migrantworkers

วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เลนส์(แปล) ภาษาพูด

วันที่ 05 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11562 มติชนรายวัน


เลนส์(แปล) ภาษาพูด


คอลัมน์ จูนคลื่น

by waisang@matichon.co.th




"ฉัน เห็นในสิ่งที่คุณพูด" (I see what you"re saying) .... ไม่ใช่เรื่องแปลก หากคนต่างซีกโลก แต่สามารถพูดคุยกันรู้เรื่อง โดยไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ เป็นตัวเชื่อม โลกที่ใกล้จักรวาล ชนิดมองเห็นและดูเหมือนเอื้อมมือจับต้องได้ ทำให้เอ็นอีซี (NEC) มองเห็นความต่างในการลดช่องว่างการสื่อสารด้วย "Tele Scouter" อุปกรณ์คล้ายเลนส์ (แว่นตา) ที่จะมาช่วยแปลภาษาต่างๆ ที่โปรแกรมตั้งค่าไว้ ให้เราเข้าใจได้ชนิดคำต่อคำ (แม้จะยังไม่สมบูรณ์แบบก็ตามที) โดยไม่ต้องเปิดพจนานุกรมหาคำ หาประโยคคุยกันให้รู้เรื่อง จะไม่ใช่ปัญหาอีกแล้ว เฉกเช่นซีรีส์ หรือหนังดัง Star Trek อีกต่อไป

เอ็น อีซีพัฒนา "Tele Scouter" เป็นอุปกรณ์เหมือนกรอบแว่น ประกอบด้วย รีตินอล (retinal) ที่ติดกล้องและไมโครโฟน ทำหน้าที่ส่งเสียงการสนทนาไปยังคอมพิวเตอร์แบบพกพา เสียบไว้ที่เอวของผู้ใช้ ทำหน้าที่เปลี่ยนเสียง ส่งเป็นข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ระยะไกล รับหน้าที่ประมวลผลการแปลงเสียงพูด ให้ออกมาเป็นข้อความที่แปลแล้วส่งกลับไปยังเครื่อง ชงเป็นเสียงพูดหรือตัวหนังสือ ผ่านไปยังรีตินอล

ความจริงเอ็นอีซี ตั้งใจทำอุปกรณ์ดังกล่าว บันทึกข้อมูลการซ่อม หรือติดตั้งฮาร์ดแวร์ให้กับวิศวกร โปรแกรมเมอร์ และผู้เชี่ยวชาญในขณะทำงาน โดยหวังส่ง ระบบ Tele Scouter ใช้ได้ในปี 2010


หน้า 26

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01epe03051152&sectionid=0147&day=2009-11-05

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ผู้สูงวัยกับความหวังริบหรี่ การเข้าถึงคอมพิวเตอร์-อินเตอร์เน็ต

วันที่ 04 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11561 มติชนรายวัน


ผู้สูงวัยกับความหวังริบหรี่ การเข้าถึงคอมพิวเตอร์-อินเตอร์เน็ต





แนว ทางการเข้าถึงผู้สูงวัยที่ยังเข้าไม่ถึงคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตยัง ริบหรี่ เพราะโครงข่ายเชื่อมต่อเข้ายังมีราคาสูงและไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะในต่างจังหวัด เรียกได้ว่าแทบไม่มีโอกาส แม้ภาครัฐมีแผนงานด้านการวางโครงข่ายโทรคมนาคมเพื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และการฝึกอบรมผู้สูงวัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ แต่ดูเหมือนยังน้อยมาก มีผู้สูงวัยประมาณร้อยละ 0.0028 ที่ได้รับการฝึกอบรม เมื่อเทียบกับประชากรผู้สูงวัยที่มีอยู่กว่า 7.2 ล้านคนทั่วประเทศ

จาก เวทีประชุมวิชาการ "แนวทางสู่การเข้าถึงผู้สูงวัยที่ยังเข้าไม่ถึงคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ICT for All Symposium on "Reach The Unreached And Bridge The Digital Divide for Elderly People" จัดโดยชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน (ICT for All Club) เมื่อเร็วๆ นี้ มีเสียงสะท้อนกรณีดังกล่าว ....

พญ.ดวง มณี วิเศษกุล วัย 83 ปี ระบุว่า ผู้สูงวัยที่เข้าไม่ถึงคอมพิวเตอร์-อินเตอร์เน็ตที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ มติชน ฉบับวันที่ 13 ตุลาคม 2552 มีจำนวนมากที่โทรศัพท์มาสอบถามว่าชมรม ICT for All จะจัดฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ให้ผู้สูงวัยใช่หรือไม่ พอทราบว่าเป็นการประชุมได้แสดงความรู้สึกผิดหวัง เพราะท่านเหล่านั้นต้องการที่จะลงมือปฏิบัติจริง มากกว่ามานั่งฟังภาคทฤษฎี

ในหลายประเทศที่ (กำลัง) ก้าวสู่ สังคมผู้สูงอายุ ได้วางนโยบายสำคัญ เพื่อดูแลผู้สูงอายุ ส่งเสริมการให้บริการด้านการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ อันมีส่วนลดโรคสมองเสื่อม ภาวะโรคซึมเศร้า



ประเทศ ไทยดูเหมือนการส่งเสริมการเรียนของผู้สูงวัย ด้านคอมพิวเตอร์-อินเตอร์เน็ต ยังห่างไกลกับความต้องการของผู้สูงวัยอย่างมาก แม้รัฐบาลจะเห็นชอบแผนแม่บทไอซีที ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2552-2556) โดยกำหนดให้หนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของแผนแม่บทฯ คือ การพัฒนากำลังคนด้านไอซีที และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน ภายใต้มาตรการพัฒนาการเรียนรู้ไอซีทีแก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงอายุ โดยสร้างความร่วมมือกับสภาผู้สูงอายุฯ ซึ่งมีสาขาอยู่ทั่วประเทศ ในการจัดทำหลักสูตร จัดอบรมความรู้ไอซีทีแก่ผู้สูงอายุที่สนใจ อาจใช้สถานที่ของมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ

แต่ดูเหมือนแผนปฏิบัติการ (Action plan) ที่จะไปสู่เป้าหมายดังกล่าวยังเลือนลาง

การ ประชุมทางวิชาการครั้งนี้ ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บรรยายพิเศษ เรื่อง "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงเป็นแรงบันดาลใจในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิตผู้สูงวัย" และบรรยายพิเศษ เรื่อง "การพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมกันด้วยไอซีทีสำหรับผู้สูงวัย" โดย คุณสมศรี หอมกันยา ผู้แทนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการนำเสนอบทความทางวิชาการในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาความ เหลื่อมล้ำทางดิจิตอลในประชากรผู้สูงวัย โดยนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ที่ปฏิบัติงานด้านการสอนคอมพิวเตอร์แก่ผู้สูงวัย จากนั้นเปิดเวทีให้กับผู้เข้าประชุมอภิปราย แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ "แนวทางสู่การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี สารสนเทศและความรู้ในประชากรผู้สูงวัย และการข้อเสนอแนะในการจัดทำนโยบายสาธารณะด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต การเรียนรู้ของผู้สูงอายุด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ"



ผล จากการประชุมครั้งนี้ แม้ยังไม่เห็นแนวทางชัดเจนในการช่วยให้ผู้สูงวัยสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ -อินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะผู้สูงวัยในต่างจังหวัดแทบจะเป็นไปไม่ได้ หรือเป็นศูนย์ แต่หลายคนต่างได้ระดมความคิดความเห็นนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทาง ดิจิตอลในประชากรผู้สูงวัย สาระมีดังนี้

1.กระทรวงไอซีที ควรขยายจำนวนศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนเพิ่มมากขึ้นทั่วประเทศ ดูแลศูนย์ให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มเป้าหมายจัดฝึกอบรมคอมพิวเตอร์-อินเตอร์เน็ตให้กับผู้สูงวัย ในปี 2553 ให้มากกว่า 200 คน เพราะตัวเลขนี้ น้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้สูงวัยที่ต้องการเรียนรู้ทั่วประเทศ

2.การ ฝึกอบรมอาสาสมัครไอซีทีชุมชน หมู่บ้านทั่วประเทศ เพื่อออกไปช่วยสอนหรือแนะนำการใช้คอมพิวเตอร์-อินเตอร์เน็ตให้กับผู้สูงอายุ มีการริเริ่มดำเนินการบ้างแล้ว

3.ส่งเสริมให้ลูกหลานช่วยสอน คอมพิวเตอร์ให้ผู้สูงวัยในครอบครัว เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดและมีความยั่งยืน สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกันในครอบครัว แต่ปัญหาที่พบคือลูกหลานมักมองว่าผู้สูงวัยไม่มีความจำเป็นต้องรู้เรื่อง คอมพิวเตอร์-อินเตอร์เน็ต ซึ่งทุกฝ่ายจะได้ร่วมมือกันประชาสัมพันธ์เรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง

4.ผู้ สูงวัยที่มีรายได้พอจ่ายค่าฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ได้ ราวหลักสูตรละ 2,500-3,500 บาท สามารถรับการฝึกอบรมกับสถาบัน หน่วยงานจัดฝึกอบรมเป็นการเฉพาะได้

5.การจัดตั้งมูลนิธิ องค์กรเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากต่างประเทศ เพื่อมาพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยด้วยคอมพิวเตอร์-อินเตอร์เน็ต

6.การออกค่ายหรือจัดฝึกอบรมคอมพิวเตอร์โดยนักศึกษา ให้ผู้สูงวัยของสถาบันการศึกษาในช่วงปิดภาคเรียน

7.การ จัดวางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตราคาถูกให้ครอบคลุมทั่ว ประเทศ ฝากความหวังไว้กับเทคโนโลยี 3จี และไว-แม็กซ์ (Wi-Max) น่าจะช่วยขจัดความเหลื่อมล้ำทางดิจิตอลได้

8.การจัดทำรถอินเตอร์เน็ต เคลื่อนที่ ไปตามแหล่งชุมชนในต่างจังหวัด อย่างน้อยน่าจะช่วยให้ผู้สูงวัยรับรู้ถึงเทคโนโลยีและประโยชน์ของ คอมพิวเตอร์-อินเตอร์เน็ต

9.การดำเนินงานโครงการอินเตอร์เน็ตตำบลดู เหมือนลงทุนสูญเปล่า เพราะประชาชนยังเข้าไม่ถึง ใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย ภาครัฐควรมีการทบทวนและปรับปรุงให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าที่เป็น อยู่

10.รัฐควรจัดบริการอินเตอร์เน็ตแบบให้เปล่า หรือมีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม เช่นเดียวกับกรณีของไฟฟ้า ประปา

แม้ ว่าความเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เหล่านี้ จะมีทั้งที่น่าจะเป็นไปได้และยากที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ แต่อย่างน้อยก็เป็นแนวทางที่จะก้าวต่อไปเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทาง ดิจิตอลที่มาพร้อมกับยุคสารสนเทศ (Information age) อันเป็นปัญหาที่มีความสำคัญและยิ่งใหญ่ไม่ต่างกับปัญหาความยากจนเลยทีเดียว


หน้า 26
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01epe01041152&sectionid=0147&day=2009-11-04

--
Web link
http://www.edtguide.com/SuanplooThaiMassage_486629
http://www.victam.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://www.niwatkongpien.com
http://sundara21.blogspot.com
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com/v1/
http://cloudbookclub.blogspot.com
http://blogok09.blogspot.com
http://thairaptorgroup.com/TRG/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2049
http://www.ias.chula.ac.th/Thai/modules.php?name=NuCalendar

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

SME wants to keep up with you on Twitter

SME wants to keep up with you on Twitter

To find out more about Twitter visit http://twitter.com/i/85d9de311ddfe0e5122f4edfe8446667c4a3f85e

Thanks,
— The Twitter Team

About Twitter

Twitter is for discovering and sharing what's happening right now through the timely exchange of short, public messages. Since its inception in 2007, this open exchange of information has transformed Twitter from a simple social utility to a new kind of communication with the potential for positive global impact. Individuals and organizations alike are encouraged to try Twitter for a variety of uses ranging from social to commercial.

This message was sent by a Twitter user who entered your email address. If you'd prefer not to receive emails when other people invite you to Twitter you can opt-out

Please do not reply to this message; it was sent from an unmonitored email address. This message is a service email related to your use of Twitter. For general inquiries or to request support with your Twitter account, please visit us at Twitter Support.

ผู้ติดตาม

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew