"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ผู้สูงวัยกับความหวังริบหรี่ การเข้าถึงคอมพิวเตอร์-อินเตอร์เน็ต

วันที่ 04 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11561 มติชนรายวัน


ผู้สูงวัยกับความหวังริบหรี่ การเข้าถึงคอมพิวเตอร์-อินเตอร์เน็ต





แนว ทางการเข้าถึงผู้สูงวัยที่ยังเข้าไม่ถึงคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตยัง ริบหรี่ เพราะโครงข่ายเชื่อมต่อเข้ายังมีราคาสูงและไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะในต่างจังหวัด เรียกได้ว่าแทบไม่มีโอกาส แม้ภาครัฐมีแผนงานด้านการวางโครงข่ายโทรคมนาคมเพื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และการฝึกอบรมผู้สูงวัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ แต่ดูเหมือนยังน้อยมาก มีผู้สูงวัยประมาณร้อยละ 0.0028 ที่ได้รับการฝึกอบรม เมื่อเทียบกับประชากรผู้สูงวัยที่มีอยู่กว่า 7.2 ล้านคนทั่วประเทศ

จาก เวทีประชุมวิชาการ "แนวทางสู่การเข้าถึงผู้สูงวัยที่ยังเข้าไม่ถึงคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ICT for All Symposium on "Reach The Unreached And Bridge The Digital Divide for Elderly People" จัดโดยชมรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อความเท่าเทียมกัน (ICT for All Club) เมื่อเร็วๆ นี้ มีเสียงสะท้อนกรณีดังกล่าว ....

พญ.ดวง มณี วิเศษกุล วัย 83 ปี ระบุว่า ผู้สูงวัยที่เข้าไม่ถึงคอมพิวเตอร์-อินเตอร์เน็ตที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ มติชน ฉบับวันที่ 13 ตุลาคม 2552 มีจำนวนมากที่โทรศัพท์มาสอบถามว่าชมรม ICT for All จะจัดฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ให้ผู้สูงวัยใช่หรือไม่ พอทราบว่าเป็นการประชุมได้แสดงความรู้สึกผิดหวัง เพราะท่านเหล่านั้นต้องการที่จะลงมือปฏิบัติจริง มากกว่ามานั่งฟังภาคทฤษฎี

ในหลายประเทศที่ (กำลัง) ก้าวสู่ สังคมผู้สูงอายุ ได้วางนโยบายสำคัญ เพื่อดูแลผู้สูงอายุ ส่งเสริมการให้บริการด้านการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ อันมีส่วนลดโรคสมองเสื่อม ภาวะโรคซึมเศร้า



ประเทศ ไทยดูเหมือนการส่งเสริมการเรียนของผู้สูงวัย ด้านคอมพิวเตอร์-อินเตอร์เน็ต ยังห่างไกลกับความต้องการของผู้สูงวัยอย่างมาก แม้รัฐบาลจะเห็นชอบแผนแม่บทไอซีที ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2552-2556) โดยกำหนดให้หนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของแผนแม่บทฯ คือ การพัฒนากำลังคนด้านไอซีที และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน ภายใต้มาตรการพัฒนาการเรียนรู้ไอซีทีแก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงอายุ โดยสร้างความร่วมมือกับสภาผู้สูงอายุฯ ซึ่งมีสาขาอยู่ทั่วประเทศ ในการจัดทำหลักสูตร จัดอบรมความรู้ไอซีทีแก่ผู้สูงอายุที่สนใจ อาจใช้สถานที่ของมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ

แต่ดูเหมือนแผนปฏิบัติการ (Action plan) ที่จะไปสู่เป้าหมายดังกล่าวยังเลือนลาง

การ ประชุมทางวิชาการครั้งนี้ ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บรรยายพิเศษ เรื่อง "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงเป็นแรงบันดาลใจในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิตผู้สูงวัย" และบรรยายพิเศษ เรื่อง "การพัฒนาสังคมแห่งความเท่าเทียมกันด้วยไอซีทีสำหรับผู้สูงวัย" โดย คุณสมศรี หอมกันยา ผู้แทนกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการนำเสนอบทความทางวิชาการในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาความ เหลื่อมล้ำทางดิจิตอลในประชากรผู้สูงวัย โดยนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ที่ปฏิบัติงานด้านการสอนคอมพิวเตอร์แก่ผู้สูงวัย จากนั้นเปิดเวทีให้กับผู้เข้าประชุมอภิปราย แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ "แนวทางสู่การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยี สารสนเทศและความรู้ในประชากรผู้สูงวัย และการข้อเสนอแนะในการจัดทำนโยบายสาธารณะด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต การเรียนรู้ของผู้สูงอายุด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ"



ผล จากการประชุมครั้งนี้ แม้ยังไม่เห็นแนวทางชัดเจนในการช่วยให้ผู้สูงวัยสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ -อินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะผู้สูงวัยในต่างจังหวัดแทบจะเป็นไปไม่ได้ หรือเป็นศูนย์ แต่หลายคนต่างได้ระดมความคิดความเห็นนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทาง ดิจิตอลในประชากรผู้สูงวัย สาระมีดังนี้

1.กระทรวงไอซีที ควรขยายจำนวนศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนเพิ่มมากขึ้นทั่วประเทศ ดูแลศูนย์ให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มเป้าหมายจัดฝึกอบรมคอมพิวเตอร์-อินเตอร์เน็ตให้กับผู้สูงวัย ในปี 2553 ให้มากกว่า 200 คน เพราะตัวเลขนี้ น้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้สูงวัยที่ต้องการเรียนรู้ทั่วประเทศ

2.การ ฝึกอบรมอาสาสมัครไอซีทีชุมชน หมู่บ้านทั่วประเทศ เพื่อออกไปช่วยสอนหรือแนะนำการใช้คอมพิวเตอร์-อินเตอร์เน็ตให้กับผู้สูงอายุ มีการริเริ่มดำเนินการบ้างแล้ว

3.ส่งเสริมให้ลูกหลานช่วยสอน คอมพิวเตอร์ให้ผู้สูงวัยในครอบครัว เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดและมีความยั่งยืน สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกันในครอบครัว แต่ปัญหาที่พบคือลูกหลานมักมองว่าผู้สูงวัยไม่มีความจำเป็นต้องรู้เรื่อง คอมพิวเตอร์-อินเตอร์เน็ต ซึ่งทุกฝ่ายจะได้ร่วมมือกันประชาสัมพันธ์เรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง

4.ผู้ สูงวัยที่มีรายได้พอจ่ายค่าฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ได้ ราวหลักสูตรละ 2,500-3,500 บาท สามารถรับการฝึกอบรมกับสถาบัน หน่วยงานจัดฝึกอบรมเป็นการเฉพาะได้

5.การจัดตั้งมูลนิธิ องค์กรเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากต่างประเทศ เพื่อมาพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยด้วยคอมพิวเตอร์-อินเตอร์เน็ต

6.การออกค่ายหรือจัดฝึกอบรมคอมพิวเตอร์โดยนักศึกษา ให้ผู้สูงวัยของสถาบันการศึกษาในช่วงปิดภาคเรียน

7.การ จัดวางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตราคาถูกให้ครอบคลุมทั่ว ประเทศ ฝากความหวังไว้กับเทคโนโลยี 3จี และไว-แม็กซ์ (Wi-Max) น่าจะช่วยขจัดความเหลื่อมล้ำทางดิจิตอลได้

8.การจัดทำรถอินเตอร์เน็ต เคลื่อนที่ ไปตามแหล่งชุมชนในต่างจังหวัด อย่างน้อยน่าจะช่วยให้ผู้สูงวัยรับรู้ถึงเทคโนโลยีและประโยชน์ของ คอมพิวเตอร์-อินเตอร์เน็ต

9.การดำเนินงานโครงการอินเตอร์เน็ตตำบลดู เหมือนลงทุนสูญเปล่า เพราะประชาชนยังเข้าไม่ถึง ใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย ภาครัฐควรมีการทบทวนและปรับปรุงให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าที่เป็น อยู่

10.รัฐควรจัดบริการอินเตอร์เน็ตแบบให้เปล่า หรือมีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม เช่นเดียวกับกรณีของไฟฟ้า ประปา

แม้ ว่าความเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เหล่านี้ จะมีทั้งที่น่าจะเป็นไปได้และยากที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ แต่อย่างน้อยก็เป็นแนวทางที่จะก้าวต่อไปเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทาง ดิจิตอลที่มาพร้อมกับยุคสารสนเทศ (Information age) อันเป็นปัญหาที่มีความสำคัญและยิ่งใหญ่ไม่ต่างกับปัญหาความยากจนเลยทีเดียว


หน้า 26
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01epe01041152&sectionid=0147&day=2009-11-04

--
Web link
http://www.edtguide.com/SuanplooThaiMassage_486629
http://www.victam.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com
http://www.niwatkongpien.com
http://sundara21.blogspot.com
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com/v1/
http://cloudbookclub.blogspot.com
http://blogok09.blogspot.com
http://thairaptorgroup.com/TRG/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=2049
http://www.ias.chula.ac.th/Thai/modules.php?name=NuCalendar

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew