"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แรงงานพม่าที่แม่สอดสนใจข่าว ออง ซาน ซูจี

แรงงานพม่าที่แม่สอดสนใจข่าว ออง ซาน ซูจี

หลังการทำงานมาทั้งวันเป็นเวลากว่า 11 ชั่วโมง ชาวพม่าซึ่งทำงานในแม่สอด จ.ตาก หาวิธีตามข่าวคดีออง ซาน ซูจี ทั้งจากเพื่อน จากสำนักข่าวอิสระของพม่าอย่าง DVB และสำนักข่าวต่างประเทศ ขณะที่บล็อกเกอร์ฝ่ายโปรรัฐบาลพม่าทำรูปการ์ตูนซูจีในลักษณะโป๊เผยแพร่ผ่านบล็อก ส่วนสถานีวิทยุรัฐบาลพม่า ได้กล่าวถึงซูจีอย่างเสียๆ หายๆ ผ่านรายการ "ยิตทอว์กับสาวงาม”

 
 
การรับรู้ข่าวสารเรื่องซูจีของคนงานแม่สอด
คนงานในโรงงานแถบ อ.แม่สอด รู้สึกโกรธแค้นกับการที่พม่าฟ้องร้องดำเนินคดีนางออง ซาน ซูจี โดยข่าวเรื่องคดีได้แพร่สะพัดไปอย่างรวดเร็วตามโรงงานต่างๆ และได้เพาะความรู้สึกโกรธแค้นอย่างเงียบๆ ในหมู่คนงาน
 
โดยสำหรับแรงงานข้ามชาติอย่างพวกเขาแล้ว รัฐบาลพม่าเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบกับภาวะการเงินที่ตกต่ำในประเทศ จนทำให้ประชาชนชาวพม่าอย่างพวกเขาต้องอยพมาทำงานตามโรงงานเหล่านี้ สิ่งเดียวที่พวกเขาหวังจะได้เห็นหลังจากที่สามารถกลับไปยังบ้านเกิดพวกเขาได้แล้ว คือเห็นนางออง ซาน ซูจี ได้รับการปล่อยตัวจากการที่เธอถูกรัฐบาลทหารพม่าตั้งข้อหาฐานละเมิดข้อบังคับการถูกกักบริเวณ
 
"พวกเราโกรธมาก ตอนนี้เราต้องทำงานเยี่ยงทาสในอีกประเทศหนึ่ง" ชายอายุ 20 ต้น ๆ ที่เป็นช่างชุนผ้าในโรงงานสิ่งทอกล่าว "ถ้าเธอ (ซูจี) ถูกปล่อยตัวออกมาแล้ว เธอก็จะแก้ปัญหาของประเทศเราได้ทั้งหมด แล้วพวกเราก็จะกลับบ้านไปหาครอบครัวได้"
 
คนงานรู้สึกตกใจเพื่อได้ทราบข่าวเรื่องการดำเนินคดีกับนางออง ซาน ซูจี เมื่อเร็วๆ นี้ แต่ก็ไม่ประหลาดใจกับมันเท่าไหร่
 
"รู้อยู่ว่าเธอ (ซูจี) กำลังจะถูกปล่อยตัวเร็วๆ นี้ ดังนั้น พวก SPDC (สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ) จะต้องทำอะไรสักอย่างแน่ๆ" คนงานอีกคนที่มาจากเมืองพะโคให้ความเห็น "ฉันโกรธมาก แต่เนื่องจากฉันเป็นคนงานข้ามชาติฉันจึงรู้สึกว่าทำอะไรกับมันไม่ได้เลย"
 
จากการที่มีคนจำนวนมากฝากความหวังไว้กับนางออง ซาน ซูจี แรงงานข้ามชาติทุกคนที่หวังว่าตนจะได้กลับไปทำงานและใช้ชีวิตในพม่า จึงรู้สึกเป็นกังวลกับการพิจารณาคดีกับนางซูจีในครั้งนี้มาก
 
คนงานเหล่านี้มีชั่วโมงทำงาน 11 ชั่วโมง ต่อวัน และช่วงเวลาว่างจากการทำงาน คนงานส่วนใหญ่ก็จะพากันติดตามข่าว
 
ในโรงงานสิ่งทอแห่งหนึ่ง คนงานจะพากันเปิดดูโทรทัศน์ช่อง เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า (Democratic Voice of Burma หรือ DVB) ในโรงอาหารช่วงพักกลางวัน ขณะที่มีโรงงานอีกเป็นจำนวนมาก ที่แม้จะมีโทรทัศน์ แต่ก็มักจะปิดเสียงหรือไม่ก็เปิดช่อง MRTV ซึ่งเป็นช่องของรัฐบาลพม่า
 
สำหรับโรงงานที่ไม่มีโทรทัศน์ คนงานก็จะพากันไปที่ร้านน้ำชาในที่พักของคนงานและคอยฟังข่าวความคืบหน้าจากวิทยุ
 
คนงานส่วนใหญ่ไม่ได้ฟังรายการจากสถานีวิทยุของผู้อพยพ เช่น รายการของบีบีซี หรือ เรดิโอฟรีเอเชีย (RFA) พวกเขามักจะชอบฟังรายหาร "เพลงป็อบดีๆ" จากสถานีของปาด็อก มเย ซึ่งเป็นสถานีวิทยุของรัฐบาลพม่า ซึ่งจะออกอากาศช่วงตี 5 ครึ่ง ถึง 8 โมงเช้า เป็นช่วงที่คนงานกำลังเตรียมตัวไปทำงานพอดีจึงมีโอกาสฟัง
 
องค์กรเอกชนในแม่สอดสงสัยว่าการเผยแพร่คลื่นวิทยุของรัฐบาลพม่ามีลักษณะแทรกแซงรายการจากสื่อผู้อพยพ ขณะที่ผู้ฟังวิทยุในกรุงย่างกุ้งรายงานว่าคลื่นวิทยุของปาด็อก มเย ทำการรบกวนคลื่นรายการข่าวของบีบีซี และยึดครองคลื่นความถี่ไว้ชั่วคราว
 
เช่นเดียวกับสื่ออื่นๆ ของรัฐบาลพม่า สถานีวิทยุปาด็อก มเย ก็ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลทหาร แม้ว่าสถานีนี้จะรายงานข่าวคดีของนางออง ซาน ซูจี ด้วย แต่รายละเอียดจำนวนมากถูกตัดออกไปทำให้คนงานต้องอาศัยฟังรายละเอียดจากเพื่อนคนงานที่ได้ฟังข่าวจากสื่อต่างประเทศ
 
"ไม่ใช่ว่าคนงานทุกคนจะสามารถรับทราบข่าวสารจากสื่อต่างประเทศได้" คนงานคนหนึ่งกล่าว "มีคนงานบางคนที่รู้เรื่องราวทั้งหมดเป็นคนคอยบอกเพื่อนของพวกเขาที่ได้ฟังแต่สถานีวิทยุของรัฐบาล"
 
ข่าวสารความคืบหน้าส่วนใหญ่ที่คนงานได้มาส่วนหนึ่งก็มาจากความช่วยเหลือขององค์กรหลายองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัมนาสภาพความเป็นอยู่และการใช้แรงงานของแรงงานข้ามชาติด้วย
 
สมาคมผู้ใช้แรงงานยอง ชี อู (Yaung Chi Oo Workers Association) ซึ่งเป็นสมาคมแรงงานของชาวพม่าในประเทศไทย ได้ตีพิมพ์นิตยสารรายเดือนซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่ชุมชนผู้อพยพมาก และนิตยสารเล่มนี้ก็กลายเป็นแหล่งข่าวเกี่ยวกับพม่าแหล่งสำคัญสำหรับคนงาน
 
เช่นเดียวกับที่ สหพันธ์อิระวดีโพ้นทะเล (Overseas Irrawaddy Association) คอยดูแลแรงงานข้ามชาติที่อพยพมาจากแถบสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดี คนงานในโรงงานหลายคนมักจะมาที่สำนักงานเพราะอยากทราบความคืบหน้าของคดีนางออง ซาน ซูจี ประธานขององค์กร ซายา พู ก็เคยเป็นคนทำกิจกรรมนักศึกษาและคนงานในโรงงานมาก่อนจะก่อตั้งองค์กร
 
"ฉันตั้งองค์กรขึ้นมาไม่ใช่เพื่อความเป็นอยู่ของตัวเอง แต่เพื่อที่จะให้ข้อมูลกับคนงานเรื่องสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย" ซายา พู กล่าว "ฉันอยากให้พวกเขาได้อ่านข่าวมากเท่าที่พวกเขาจะทำได้"
 
 
บล็อกเกอร์ฝ่ายโปรรัฐบาลพม่า วาดรูปโป๊ซูจีเผยแพร่
ในบล็อกของผู้สนับสนุนรัฐบาลทหารพม่า ได้โพสต์รูปการ์ตูนนางออง ซาน ซูจี ในลักษณะอนาจารลงในเว็บไซต์ของเขาเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ชาวพม่าพลัดถิ่นและผู้เฝ้าดูสถานการณ์พม่ารู้สึกไม่พอใจอย่างมาก
 
เว็บล็อกดังกล่าวดูเหมือนจะอยู่ภายใต้การอำนาจของกระทรวงสารสนเทศของพม่า ได้ขโมยรูปการ์ตูนของหาน เล (Harn Lay) ศิลปินของหนังสือพิมพ์อิระวดีไปโดยไม่ได้อ้างอิง ทั้งยังมีการนำรูปของประธานาธิบดีบารัค โอบามา และ จอห์น วิลเลี่ยม ยิตทอว์ ผู้ที่ว่ายน้ำข้ามทะเลสาบเข้าไปที่บ้านของซูจี มานำเสนอในลักษณะที่มีการแสดงออกเรื่องเพศในท่าทางที่ดูหื่นกระหาย
 
มีแหล่งข่าวรายงานว่าในขณะนี้โปสการ์ดที่ตีพิมพ์รูปเหล่านี้ถูกแจกจ่ายไปทั่วกรุงย่างกุ้งแล้ว
 
หญิงชาวพม่าในสิงค์โปรแสดงความรู้สึกว่าพอเห็นรูปแล้วเธออยากจะฆ่าคนที่ทำรูปอนาจารพวกนี้ขึ้นมา มีผู้เขียนถึงหนังสือพิมพ์อิระวดีแสดงความเห็นว่า เขาไม่สามารถรับกับคนพวกนี้ได้ คนที่สร้างรูปพวกนี้ขึ้นมาช่างต่ำช้าจนไม่อาจบรรยายได้ ขณะที่หญิงชาวพม่าในออสเตรเลียออกมาบอกว่า การกระทำเช่นนี้แสดงให้เห็นถึงระดับวุฒิภาวะของพวกเขาเอง
 
นอกจากนี้ยังมีรายงานจากแหล่งข่าวอีกว่า สถานีวิทยุของรัฐบาลในกรุงย่างกุ้ง ปาด็อก มเย ได้กล่าวถึงนางออง ซาน ซูจีอย่างเสียๆ หายๆ ผ่านรายการที่มีชื่อว่า "ยิตทอว์กับสาวงาม" (Yettaw and the Pretty Girl)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew