"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เปิด FTA ภาคขนส่ง-โลจิสติกส์ (1) ผู้ประกอบการไทยจะอยู่รอดและปรับตัวอย่างไร ?

วันที่ 04 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4111  ประชาชาติธุรกิจ


เปิด FTA ภาคขนส่ง-โลจิสติกส์ (1) ผู้ประกอบการไทยจะอยู่รอดและปรับตัวอย่างไร ?





ขณะนี้เหลือเวลาอีกประมาณ 4 ปี คือในปี 2556 ที่ประเทศไทยต้องเปิดเสรีการค้าบริการสาขาโลจิสติกส์ ตามข้อตกลงในการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมี เป้าหมายหลักเพื่อให้ผู้ประกอบการในประเทศกลุ่มอาเซียนต่างสามารถเข้าไปลง ทุนโดยถือหุ้นได้ 70% ในธุรกิจโลจิสติกส์ได้

แต่เมื่อหันมาพิจารณาการเตรียมความพร้อมรับมือของผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทยกลับพบว่ามีปัญหาอุปสรรค และข้อจำกัดมากมาย ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่กำลังทรุดตัวลงอย่างหนัก ได้ส่งผลให้ ผู้ประกอบการที่ไม่แข็งแรงถึงกับล้มหาย ตายจาก หรือไม่ก็ถูกต่างชาติในรูปของ นอมินี "เทกโอเวอร์" ไปแล้ว โดยเฉพาะ ผู้ประกอบการโลจิสติกส์รายกลาง และรายใหญ่

เมื่อเร็วๆ นี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้จัดเสวนาระดมความคิดเห็นเรื่อง "เปิด FTA ภาคขนส่ง- โลจิสติกส์...ผู้ประกอบการไทยจะอยู่รอดและปรับตัวอย่างไร ?" เพื่อรวบรวมและ นำเสนอแนวทางตามต้องการของภาค ธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ 4 กลุ่ม ได้แก่
1.กลุ่มผู้ให้บริการทางบกและทางราง
2.กลุ่มผู้ให้บริการทางน้ำ
3.กลุ่มผู้ให้บริการทางอากาศ
4.กลุ่มผู้ให้บริการตัวแทน ออกของและชิปปิ้ง

นายทองอยู่ คงขันธ์ เลขาธิการสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย (สขบท.) และนายกสมาคมขนส่งสินค้าเพื่อการนำเข้าและส่งออก กล่าวในฐานะประธานกลุ่มขนส่งทางภาคบกและทางราง หลังการระดมความเห็นว่า การเปิดเสรีทางด้านขนส่งส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการขนส่งทางบกและทางรางของไทย 4 ประเด็น ได้แก่ 1.ผู้ประกอบการไทยขาดการสนับสนุนเงินทุนเพื่อพัฒนาด้านบุคลากร และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ทั้งนี้ ที่ประชุมได้เสนอให้มี การจัดตั้งกองทุนหมุนเวียน เพื่อส่งเสริม ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทยทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ในวงเงินไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท

2.ผู้ประกอบการไทยไม่มีเครือข่ายในการขนส่งหลายรูปแบบที่เชื่อมโยงต่อกันเหมือนต่างประเทศ อันนี้เป็นข้อเสียเปรียบอันหนึ่ง จึงอยากเสนอให้รัฐบาลต้องออก พ.ร.บ.ส่งเสริมการจัดตั้งเครือข่ายและการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการโดยแยกเป็น mode แต่เชื่อมโยงในการให้บริการ

3.ผู้ประกอบการ SMEs ไทยยังขาดศักยภาพในทุกๆ ด้าน เช่น เงินทุน เทคโนโลยี มาตรฐานการบริการ การขยายกิจการ จึงเสนอแนวทางให้ยกเลิกสิทธิพิเศษการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กับกลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์ คลังสินค้าและไซโลจากต่างชาติ พร้อมกับเสนอให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับผู้ประกอบไทย เช่น การนำค่าเชื้อเพลิงการขนส่งนำมาหักภาษีค่าใช้จ่ายเป็น 2 เท่า รวมถึงการกำหนดมาตรการด้านภาษีอื่นๆ ให้กับผู้ประกอบการไทยได้เปรียบกว่าผู้ประกอบการ ต่างชาติ

นอกจากนี้ควรมีการกำหนดมาตรฐาน ผู้ประกอบการต่างประเทศและผู้ประกอบการไทยที่มีความไม่เท่าเทียมกันทำให้มีความได้เปรียบและเสียเปรียบในการบริการ โดยให้มีหน่วยงานของรัฐออกกฎหมายสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการไทยและมาตรฐานการบริการให้เทียบเท่ากับต่างประเทศ

4.มีการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการไทยกันเอง เช่น การตัดราคา เพื่อให้อยู่รอด เมื่อสู้กับบริษัทต่างชาติไม่ได้ก็มา แข่งขันกันเอง คนไทยจะตายก่อน ดังนั้น จึงเสนอให้หน่วยงานของรัฐออกกฎหมายควบคุมจำนวนผู้ประกอบการ เช่น ผู้ประกอบการขนส่งปัจจุบันมี 200,000 กว่าราย แต่มีรถบรรทุกทั้งหมด 700,000 คัน มากกว่าความต้องการเกือบ 200,000 คัน ดังนั้นผู้ประกอบการรถบรรทุก 200,000 คันที่เกินมาอยู่รอดยาก เพราะฉะนั้นควรออกกฎระเบียบควบคุมจำนวนผู้ประกอบการที่จะไปขอใบอนุญาตเพิ่มเติม ควรมีการจำกัดไว้ 2-3 ปี โดยมีบทลงโทษอย่างรุนแรง เพื่อให้เวลาผู้ประกอบการไทยพัฒนาตัวเองได้ เอารถบรรทุกที่เหลือไปประกอบการใน ต่างประเทศได้

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายของหน่วยงานภาครัฐ 7 ประการ ได้แก่ 1.อยากขอให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจัดทำ road map ระยะยาวด้านนโยบาย แผนการดำเนินการ แนวทางการส่งเสริมผู้ประกอบการ เพราะปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐยังไม่มีหน่วยงานกลาง 2.ให้รัฐบาล ผลักดันกฎหมายที่ส่งเสริมผู้ประกอบการไทย เช่น ผลักดัน พ.ร.บ.ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย พ.ร.บ.การจัดทำสัญญา การขนส่งระหว่างประเทศภาคประชาชน 3.ยกเลิกการส่งเสริมการลงทุนของผู้ประกอบการ โลจิสติกส์

4.ควรปรับแก้กฎหมายในประเทศที่มีการใช้งานอยู่ ในกรอบการปฏิบัติที่สามารถปฏิบัติได้จริงและส่งเสริมผู้ประกอบการไทย โดยไม่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทำผิดกฎหมาย

เฉพาะภาคขนส่งทางบกและทางราง ปัจจุบันมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องประมาณ 1,550 ฉบับ โดย พ.ร.บ.หลายส่วนขัดกันเอง และทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้เป็นอุปสรรคปัญหาต้องสังคายนา เช่น การรวม พ.ร.บ.ขนส่ง กับ พ.ร.บ.รถยนต์เข้าด้วยกัน เรื่องรถ ป้ายดำ ป้ายเหลือง ในต่างประเทศไม่มี แต่เวลาผ่านไป 2 ปียังทำไม่ได้ อาจมีข้อจำกัดอย่างอื่นด้วย

5.ให้รัฐสร้างมาตรฐานกลางในการให้บริการโลจิสติกส์ (ทางบกและทางราง) รวมถึงราคากลาง และมาตรฐานอื่นๆ หมายถึงควรมีมาตรฐานกลาง เช่น มาตรฐานการขนส่งทางบก มาตรฐานการบรรจุภัณฑ์ แต่ปัจจุบันในแต่ละกรมเริ่มสร้างมาตรฐานของผู้ประกอบการกันเอง รวมถึงควรมีการระบุกำหนดราคากลางไว้ด้วย 6.บูรณาการการจัดการของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยไม่ให้การเมืองเข้าไปยุ่งเกี่ยวในกิจการภายในแผน road map ในการพัฒนา เช่น รถไฟรางคู่ไปแหลมฉบัง และ 7.รัฐบาลจัดทำแผนการพัฒนาพลังงานให้ชัดเจนเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเตรียมความพร้อมทั้งระยะสั้น และระยะยาว ต้องกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน

อย่างไรก็ตามสำหรับการกำหนดมาตรฐานสินค้าผ่านแดนแต่ละประเทศ หาก FTA มีผลใช้บังคับ เรื่องรถพ่วง มาลัยซ้าย-ขวา เรื่องการใช้อุปกรณ์ พนักงาน ขับรถควรขับรถได้ทุกประเทศ ยานพาหนะควรมีมาตรฐานเดียวกัน พ.ร.บ.ประกันภัยควรทำครั้งเดียววิ่งได้ 6 ประเทศ ความปลอดภัยของทรัพย์สินของผู้ขนส่ง การวิ่งไปบางประเทศ ขณะนี้ยังค่อนข้างอันตราย


หน้า 10
 
http://www.matichon.co.th/prachachat/view_news.php?newsid=02lsc01040652&sectionid=0224&day=2009-06-04

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew