"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ระบบยุติธรรม/คอลัมน์นานาทัศนะสิทธิเสรี

รายงานโดย :ชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ charnchao@moj.go.th:
วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ใน มุมมองสิทธิมนุษยชนเห็นว่าหลักประกันการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของความ เป็นมนุษย์ที่สำคัญประการหนึ่งคือ ระบบงานยุติธรรม และถือว่าเป็นความคาดหวังที่เป็นทั้งในระดับสังคมท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และถึงขั้นในระดับสากลทีเดียว เพราะในเนื้อแท้ของระบบงานยุติธรรมจะให้ความเสมอภาคและเท่าเทียมแก่ทุกคนโดย ไม่เลือกปฏิบัติ นอกจากนั้นยังถือว่าเป็นบริการสาธารณะที่ต้องให้ทุกคนสามารถขอเข้ารับบริการ ได้อย่างทั่วถึง ไม่มีค่าใช้จ่ายที่สูงจนเกินไปนัก มีระเบียบพิธีการในกระบวนการพิจารณาคดีที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก คุณสมบัติของระบบงานยุติธรรมที่ว่านี้สอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนอย่าง มาก

ความคาดหวังให้ระบบยุติธรรมเป็นหลักประกันการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนใน สังคมไทยต้องถือว่าเป็นจริงได้ในระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนมีแนวโน้มที่จะมีความซับซ้อนมากขึ้น จึงต้องหันมาเหลียวมองว่าการปฏิรูประบบงานยุติธรรมจะมีส่วนให้สถานะของระบบ งานยุติธรรมเป็นสถาบันทางสังคมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้อย่างไร

เมื่อพูดถึงระบบงานยุติธรรมในยุคนี้คงมีขอบเขตกว้างขวางกว่าระบบของศาล อย่างแน่นอน ด้วยสังคมที่ซับซ้อนมากขึ้นส่งผลสะท้อนให้รูปแบบการละเมิดสิทธิมนุษยชนมี ความซับซ้อนมากขึ้นไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมอันเนื่องมาจากการกระจายรายได้ที่ ไม่เหมาะสม และการพัฒนา ที่เน้นเฉพาะด้านอุตสาหกรรมส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งประเด็นอันเกี่ยวเนื่องกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและปัญหา เศรษฐกิจโดยทั่วไปอีก ประเด็นปัญหาอันส่งผลให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเช่นนี้หลายเรื่องคงไม่ใช่ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับตัวบทกฎหมายหรือคดีความแต่เพียงประการเดียว

เมื่อระบบงานยุติธรรมต้องทำหน้าที่ในการเป็นหลักประกันการคุ้มครอง การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มีเนื้อหาครอบคลุมปัญหาที่เกี่ยวเนื่อง การยึดหลักกฎหมายในการคุ้มครองผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจึงต้องปฏิรูปกลไกใน การบังคับใช้กฎหมาย ปรับตัวเท่าทันสภาพปัญหา มิฉะนั้นแล้วจะไม่สามารถทำหน้าที่ตามความคาดหมายของสังคมแต่ละระดับได้ นอกจากนั้นระบบงานยุติธรรมน่าจะครอบคลุมไปถึงกลไกใหม่ๆ ที่มีหน้าที่ในการจัดการความขัดแย้งหรือการละเมิดสิทธิที่ต้องมีการบังคับ ใช้กฎหมายควบคู่ไปกับการนำวิถีชีวิตหรือเนื้อหาของเรื่องทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคมมาผสมผสานด้วย เพราะในความเป็นจริงพื้นฐานความเป็นมนุษย์นั้นการตัดสินด้วยข้อกฎหมายในแง่ ของความถูกผิดนั้นไม่ใช่ทางแก้ปัญหาที่ยั่งยืน

โครงสร้างและรูปแบบตลอดจนภารกิจของระบบงานยุติธรรมเพื่อสร้างความ เป็นธรรมในสังคม อำนวยความยุติธรรม หรือคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของสังคมไทย จึงต้องมีการปรับตัวทั้งด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจ และภารกิจ เพื่อให้ครอบคลุมปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเท่าทันและทั่วถึง ซึ่งผมเห็นว่าการปฏิรูปจะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้น ตอนของระบบงานยุติธรรมที่ผมเห็นแล้วว่าจะต้องเป็นกลไกที่มีขอบเขตและภารกิจ มากกว่าการทำหน้าที่ของระบบศาลประเภทต่างๆ ปัจจุบันคงทราบกันดีแล้วว่ามีกลไกใหม่คือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทำหน้าที่นี้เพิ่มเติมอยู่ด้วย แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะครอบคลุมปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้

ระบบงานยุติธรรมควรมีการกระจายไปสู่ท้องถิ่นให้มากขึ้น ซึ่งเมื่อปีที่แล้วได้มีการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่น ดินให้อำเภอมีหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในทางแพ่งทุนทรัพย์ไม่เกิน 2 แสนบาท รวมทั้งคดีอาญาที่ยอมความได้ โดยให้มีคณะบุคคลที่นายอำเภอขึ้นบัญชีไว้ทำหน้าที่นี้ ก็หวังว่าการจัดระบบงานยุติธรรมที่มีแนวโน้มของความหลากหลายและครอบคลุมสภาพ ปัญหาในท้องถิ่นจะทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้อย่างดีในอนาคต

การปฏิรูปโครงสร้างและรูปแบบของระบบงานยุติธรรมก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่สภาพบรรยากาศของสังคมที่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์คงต้องถามคนไทยทั้ง ชาติว่าอีกนานไหม

http://www.posttoday.com/politics.php?id=51196

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew