"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552

กมธ.ฯประจำวุฒิสภา ร่วมจัดสัมมนา บทบาทไทย-อาเซียน กับการพัฒนาทางการเมืองในสหภาพพม่า

กมธ.สามัญประจำวุฒิสภา ร่วมจัดสัมมนา บทบาทไทย-อาเซียน กับการพัฒนาทางการเมืองในสหภาพพม่า

คณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภา ร่วมจัดสัมมนา บทบาทไทย-อาเซียน กับการพัฒนาทางการเมืองในสหภาพพม่า กรณี ออง ซาน ซู จี โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่เห็นตรงกันที่จะต้องใช้กฎบัตรอาเซียนเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินการกับรัฐบาลพม่า
คณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบ เรื่อง การทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า หรือ กรพ. จัดการสัมมนา เรื่อง "บทบาทไทย-อาเซียน กับการพัฒนาทางการเมืองในสหภาพพม่า กรณี ออง ซาน ซู จี" ขึ้น โดยนางสาวทัศนา บุญทอง รองประธานวุฒิสภา คนที่สอง กล่าวเปิดสัมมนา เรื่อง "บทบาทไทย-อาเซียน กับการพัฒนาทางการเมืองในสหภาพพม่า" ว่า จากกรณีรัฐบาลแห่งสหภาพพม่ากล่าวหานางออง ซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านในพม่า ว่าติดต่อกับบุคคลที่ไม่ได้รับเชิญ อันเป็นการละเมิดกฎหมายคุ้มครองความปลอดภัยของรัฐ ซึ่งมีโทษจำคุก ทำให้การควบคุมตัวนางออง ซาน ซูจี ต้องยืดออกไปอีก ซึ่งก่อนหน้านี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีไทย ในฐานะประธานอาเซียน ได้ออกถ้อยแถลงแสดงความห่วงกังวลในกรณีดังกล่าวแล้ว จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่าให้การดูแลทางการแพทย์ที่พอเพียง และปฏิบัติต่อนางออง ซาน ซูจี อย่างมีมนุษยธรรมและมีศักดิ์ศรี โดยที่ประชาคมโลกกำลังจับตามองพม่าอยู่ในขณะนี้ เกียรติและความน่าเชื่อถือของรัฐบาลพม่า อาจได้รับผลกระทบ ไทยในฐานะประธานอาเซียน ขอยืนยันความพร้อมของอาเซียนในการมีส่วนสนับสนุนอย่างสร้างสรรค์ต่อกระบวนการปรองดองแห่งชาติ และการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยอย่างสันติในพม่า
ด้านนายสุรพงษ์ ชัยนาม ที่ปรึกษานายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า การดำเนินคดีต่อนางออง ซาน ซู จี นั้น ล่าสุด ศาลพม่าได้เลื่อนการพิจารณาออกไปเป็นวันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน ซึ่งผลสามารถคาดการณ์ได้ว่า จะต่ออายุในการกักกันตัวนางอองซาน ซู จี คือ การยัดข้อหาการทำลายความมั่นคงของชาติ อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นบททดสอบสำคัญต่อความเป็นเอกภาพของกลุ่มประเทศอาเซียนว่า จะมีความเป็นเอกภาพมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะกฎบัตรอาเซียนในมาตรา 1-15 มาตรา ที่เกี่ยวกับการเคารพสิทธิมนุษยชน หลักนิติรัฐ นิติธรรม หลักธรรมาภิบาล ทั้งนี้ นางออง ซาน ซูจี ถือเป็นสัญลักษณ์ประชาธิปไตย และประชาคมโลกให้ความสำคัญ อย่างไรก็ตามแม้รัฐบาลทหารพม่าจะไม่สนใจประชาคมโลก หรือแม้แต่การกดดันของอาเซียน แต่เห็นว่า อาเซียนจะต้องมีบทบาทกดดันรัฐบาลทหารพม่า โดยใช้กฎบัตรอาเซียน แม้กฎบัตรอาเซียนจะไม่มีบทลงโทษสำหรับประเทศที่ไม่ปฏิบัติ หรือ ฝ่าฝืนกฎบัตรอาเซียน แต่ยุคนี้เรื่องของความเป็นประชาธิปไตยถือเป็นหลักสากลที่มีพลังมาก
ขณะที่นางลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ คณะกรรมการ กรพ. กล่าวว่า รัฐบาลทหารพม่าไม่ยอมรับว่า การดำเนินการของประเทศในอาเซียนไม่ใช่เป็นการแทรกแซง จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้น ซึ่งกฎบัตรอาเซียนพม่าได้ลงนามรับรองในเรื่องสิทธิมนุษยชนทั้งหมด ซึ่งพม่าได้นิยามเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นของตัวเองว่า ให้มีการใช้อาวุธในการควบคุมประชาชนได้ เพราะรัฐบาลพม่าต้องการรักษาอำนาจของตัวเองให้ได้ โดยใช้ทุกวิธีทาง ซึ่งต้องใช้กฎบัตรอาเซียนให้เกิดประโยชน์ และต้องยอมรับว่าเป็นงานที่หนัก ดังนั้นเพื่อให้เกิดความชอบธรรมต่อประชาชน รัฐสภากับอาเซียนควรร่วมมือกันทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้มีพัฒนาการเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในพม่า เช่น การสังเกตการณ์กระบวนการดำเนินคดีของนางออง ซาน ซูจี การโดดเดี่ยวคณะบุคคลที่มีอำนาจของพม่า จนถึงการถอดถอนออกจากสมาชิกอาเซียน หรือหารือกับประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการดำรงอยู่ของรัฐบาลพม่า
ขณะที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาหลายคน ได้แสดงความเห็นที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยนายเกียรติชัย พงศ์พาณิชย์ คณะกรรมการที่ปรึกษา บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) บรรณาธิการอาวุโส หนังสือพิมพ์ข่าวสด กล่าวว่า มาตรการต่างๆ ที่นานาชาติที่มีต่อพม่า เช่น มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ และความเคลื่อนไหวของอาเซียนที่มีความพยายามที่จะกดดันพม่าในการปล่อยตัวนางออง ซาน ซู จี เพื่อให้เกิดความเป็นประชาธิปไตยในพม่าล้มเหลว เพราะรัฐบาลพม่าไม่ได้สนใจอาเซียน หรือประชาคมโลก รัฐบาลทหารพม่าต้องการที่จะกักตัวนางออง ซาน ซู จี เพื่อรักษาระบบการปกครองของพม่า ดังนั้นมาตรการ คือ การปลุกเร้าชุมชนอาเซียนเป็นกลไกสำคัญการผลักดันรัฐบาลพม่า ประชาชน และองค์กรภาคประชาชน จะมีส่วนสำคัญในการสร้างประชาธิปไตยในพม่านอกจากนี้สื่อมวลชนเองก็จะเป็นส่วนหนึ่งการที่จะกดดันพม่า
http://thainews.prd.go.th/view.php?m_newsid=255206020261&tb=N255206&return=ok&news_headline="กมธ.สามัญประจำวุฒิสภา%20ร่วมจัดสัมมนา%20บทบาทไทย-อาเซียน%20กับการพัฒนาทางการเมืองในสหภาพพม่า"

See all the ways you can stay connected to friends and family

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew