"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ดุริยางคศิลป์ ติดอันดับโลก

วันที่ 01 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11405 มติชนรายวัน


ดุริยางคศิลป์ ติดอันดับโลก


คอลัมน์ งานเป็นเงา

โดย ลำแข



มีข่าวน่ายินดีสำหรับคนรักดนตรีและรักความก้าวหน้าของสังคมและบ้านเมือง ท่ามกลางข่าวไม่น่ายินดีวันแล้ววันเล่า ขณะที่เยาวชนคนรุ่นใหม่พยายามสร้างสถานะดีๆ ให้เกิดขึ้นจากการแข่งขัน ทั้งทางศิลปะและวิทยาการ กับเพื่อนร่วมโลก ก็มีรายงานว่าวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหิดล ศาลายา ติดอันดับสถาบันสอนดนตรีชั้นนำของโลก

เรนโกลด์ ไดเรคทอรีส์ของอังกฤษ ได้รวบรวมรายชื่อสถาบันสอนดนตรีจากทั่วโลก (เวิร์ลด์ คอนเสิร์ฟวาทัวส์ แอนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล ไกด์ ทู มิวสิค สตั้ดดี้) จำนวน ๑๙๘ สถาบัน จัดพิมพ์ขึ้นในปี ๒๕๕๒ นี้เพื่อเผยแพร่นามสถาบันเหล่านั้น

ในการนี้ ทวีปเอเชียมีเพียง ๙ สถาบันที่ถูกคัดชื่อเข้าไปจาก สาธารณรัฐประชาชนจีน ๔ สถาบัน (เซ็นทรัล คอนเสิร์ฟวาทอรี่ ออฟ มิวสิค ที่ปักกิ่ง, เสฉวน คอนเสริ์ฟวาทอรี่ ออฟ มิวสิค ที่เฉิงตู, ซ่างไห่ คอนเสิร์ฟวาทอรี่ ออฟ มิวสิค ที่เซี่ยงไฮ้ และฮ่องกง อคาเดมี ออฟ เพอร์ฟอร์มมิ่ง)

ญี่ปุนมี ๑ สถาบันคือ โตเกียว คอลเลจ ออฟ มิวสิค, เกาหลีมี ๒ สถาบันคือ แตกู คอลเลจ ออฟ มิวสิค กับโคเรีย เนชั่นแนล ยูนิเวอร์ซิตี้ ออฟ อาร์ท, สิงคโปร์มี ๑ สถาบันคือ หย่อง สิว โต๊ะ คอนเสิร์ฟวาทอรี่ ออฟ มิวสิค

และประเทศไทยมี ๑ สถาบันคือ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหนึ่งในสถาบันการเรียนการสอนดนตรีของเอเชียและของโลกไปแล้ว

การคัดเลือกนี้ สถาบันเรนโกลด์ดูจากผลงานการจัดการศึกษา กิจกรรมการศึกษา ผลงานของนักศึกษาและอาจารย์ ผลงานของสถาบันในการสร้างชื่อเสียง และความเป็นนานาชาติจากกิจกรรมและผลงานเหล่านั้น

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์มีกิจกรรมประมาณ ๓๐๐ รายการต่อปี ผลงานของนักเรียนนักศึกษาได้รับรางวัลทั้งระดับชาติและนานาชาติ มีกิจกรรมระดับชาติและนานาชาติทั้งปี

และสำหรับปีนี้ นอกเหนือกิจกรรมประจำอื่นๆ แล้ว วิทยาลัยยังถูกเลือกให้เป็นเจ้าภาพงานแซกโซโฟนโลก ครั้งที่ ๑๕ (เวิร์ลด์ แซกโซโฟน คองเกรส) อีกด้วย ระหว่างวันที่ ๘-๑๒ กรกฎาคม โดยจะมีนักแซกโซโฟนทั่วโลกมาร่วมงานไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ คน

ในปีการศึกษา ๒๕๕๒ นี้ วิทยาลัยมีนักศึกษาดนตรีทั้งหมด ๑,๑๑๑ คน เรียนเตรียมอุดมดนตรี ๒๗๒ คน, ปริญญาตรี ๖๖๘ คน, ปริญญาโท ๑๓๑ คน, ปริญญาเอก ๓๙ คน

มีนักศึกษาทั้งจากจีน ลาว พม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลี สหรัฐ มีอาจารย์ ๑๐๕ คน ๔๗ คน จาก ๑๘ ประเทศ และอาจารย์ไทย ๕๘ คน มีพนักงานฝ่ายสนับสนุน ๑๐๑ คน

นอกจากนี้ยังมีโครงการวิจัยพรสวรรค์ศึกษา สอนดนตรีบุคคลทั่วไปอีก ๒ โครงการ ที่ศูนย์การค้าเสรีเซ็นเตอร์และสยาม พารากอนซึ่งมีนักเรียนในโครงการอีกถึง ๒,๒๐๐ คน

ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับสถาบันดนตรีอื่นๆ ซึ่งมีชื่อเสียงทั่วโลกแล้ว เพิ่งมีอายุครบ ๑๕ ปีในวันที่ ๒๑ กันยายนที่จะถึงนี้ นับว่าอายุน้อยที่สุดในบรรดาเพื่อนสถาบันดนตรีด้วยกัน

หน้า 24


http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01ent03010652&sectionid=0105&day=2009-06-01

Windows Live™: Keep your life in sync. Check it out!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew