"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข่าวจาก สกว.(จดหมายข่าว biodata ฉบับที่ 97 วันที่ 4 มิถุนายน 2552)


 

Subject: ข่าวจาก สกว.(จดหมายข่าว biodata ฉบับที่ 97 วันที่ 4 มิถุนายน 2552)
From: biodata@trf.or.th
Date: Thu, 4 Jun 2009 10:06:18 +0700




สาร  biodata ฉบับที่  97
ช่วยกันให้ biodata ทำหน้าที่บ้าง
(และมีโจทย์ทางสังคมศาสตร์  นิติศาสตร์  รัฐศาสตร์มาฝาก)
 

เรียน สมาชิก biodata ทุกท่าน

        เริ่มศักราชใหม่ของ สกว. กับผู้อำนวยการท่านใหม่ (ศ.ดร. สวัสดิ์  ตันตระรัตน์)  ทีมงาน "สาร biodata" ได้ขอให้ท่านเขียนคุยกับสมาชิกแล้ว  แต่ติดขัดด้วยเวลา  หวังว่าสักวันหนึ่งสมาชิกคงได้รับข่าวจากท่าน

        ในหลายเดือนที่ผ่านมานี้  สาร biodata ชวนคุยหลายเรื่องออกนอกกรอบภารกิจของ biodata ไปมาก  และเราก็มีสมาชิกใหม่จำนวนมากด้วย   ท่านที่เข้ามาใหม่จึงอาจไม่ทราบว่า biodata แท้จริงแล้วทำหน้าที่อะไร  มีแค่รอรับสมาชิกแล้วเป็นตัวแทน สกว. ส่งข่าวรายสัปดาห์เช่นนั้นหรือ

        ความจริงเรื่องนี้น่าออกเป็นข้อสอบสมาชิกเก่าๆ ว่า biodata ทำอะไร?.

เอาเรื่อง biodata คืออะไรก่อน?

        Biodata เป็นฐานข้อมูลที่ สกว. สร้าง "กติกา" เพื่อให้เกิด self update ตลอดเวลา  โดยพยายามใช้เงื่อนไขต่างๆ กระตุ้นสมาชิก  เช่น การจัดสรรทุน

ทำไมต้องมีฐานข้อมูลแบบนี้?

        เพราะเราต้องการบริหารทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  โดยเฉพาะทุนที่ฝ่าย R&D ไปหาโจทย์มาจาก user ฐานข้อมูลนี้ทำให้ฝ่ายจัดการทุนสามารถส่งโจทย์ให้ผู้ "ที่น่าจะ" ทำวิจัยได้ได้ทราบ "โอกาส" ทาง internet  ข้อดีคือนักวิจัยไม่พลาดโอกาส และ สกว. มีทางเลือกมากกว่าการ "หันซ้ายหันขวาก็เจอคนเดิมๆ ที่เคยรู้จัก"   นานไปก็ถูกหาว่าเล่นพวกได้ง่ายๆ

ทุนประเภทแข่งขันใช้ได้ไหม?

        ใช้ได้แน่.. และนี่เป็นเหตุที่ สกว. ใช้ biodata ช่วยจัดการทุนปริญญาโทร่วมอุตสาหกรรม (MAG)   เราคัดนักวิจัยจาก biodata หาคนที่มีคุณสมบัติรับทุน MAG ได้ก่อน  แล้วทุกคนถูก set score เป็นศูนย์เท่ากันทุกคนเพื่อมาแข่งแข่งกันที่ proposal อย่างเดียว  การคัดคนก่อนทำให้นักวิจัยไม่ต้องออกแรงเขียน proposal ส่งมาแต่แรก  เพียงเพื่อถูกคัดออกเพราะสมบัติบุคคลไม่ผ่านเกณฑ์

วิธีจัดการทุนแบบนี้ยังช่วยให้ biodata ได้ update ตัวเอง  ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับฝ่าย R&D ในการหานักวิจัยมาแก้โจทย์เฉพาะที่ไปหามาจาก user  จึงถือว่าเป็นการทำงานประสานกันเพื่อระบบการจัดการทุนวิจัยที่มีประสิทธิภาพของประเทศ

มีคนสงสัยว่าการทำแบบนี้ทำให้รู้กันแต่สมาชิก biodata การประกาศทุนไปไม่ทั่วถึง?

        ไม่จริง..เป็นการเข้าใจผิดทุนยังประกาศด้วยสื่อปกติเหมือนเดิม(จดหมายถึงสถาบัน  poster ฯลฯ)  เพียงแต่ผู้สนใจต้องสมัครผ่าน web โดยกรอกข้อมูลให้มากที่สุด (เพื่อการคัดเลือก)  ขั้นตอน biodata เป็นขั้นตอนที่เพิ่มขึ้น โดยมีข้อดีแลกเปลี่ยนดังที่กล่าวมาแล้ว ดังนั้น ขอยืนยันว่าทุกคนรู้เท่ากัน  แถมระบบ biodata ยังทำให้คนที่พลาดการประกาศด้วยเอกสาร (เช่นไปต่างประเทศ) ยังได้ข่าวทาง internet  ซึ่งช่องทางนี้ไม่พลาดแน่เพราะส่งตรงถึง mail box ของท่าน

มีคนสงสัยอีกว่าข้อมูลที่กรอกอาจจะไม่ตรงความจริง  เพราะต้องการให้ได้คัดเลือก?

        เป็นไปได้...  แต่การจัดการก็สามารถแก้ได้ เช่น ให้ส่งหลักฐานจริงก่อนอนุมัติทุน  แล้วตามด้วยระบบขึ้นบัญชีดำ ความจริงไม่ควรสงสัยเช่นนี้เลยเพราะการให้ข้อมูลในbiodataมันจะต่างกับ CV กระดาษที่แนบมากับ proposal ได้อย่างไร  ในเมื่อคนให้ข้อมูลก็เป็นคนเดียวกัน   

CV กระดาษเป็นการรู้ (หรือไม่รู้) กันเพียงไม่กี่คนไม่มีระบบการตรวจสอบทางสังคมแบบที่ biodata ทำได้  Biodata มีบริการให้สมาชิก search หากันเองได้ คนในวงการเดียวกันเมื่อ search หากันเองนั้นหลอกกันไม่ได้  ขืนหลอกก็จะถูกจับได้สักวันหนึ่ง   ฉะนั้นข้อติติงนี้จึงไม่จริง  เราต้องมองที่อนาคตการจัดการ  หากพบจุดอ่อนก็ช่วยกันแก้ไขจึงจะเป็นการดีกว่า

บริการที่ biodata มอบให้สมาชิกประกอบด้วย

1.              การ search หาผู้ที่มีความสนใจเหมือนกัน  ตัวอย่างจากการส่งสาร biodata ออกเมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีนักวิจัยแนะนำการวิจัยเกี่ยวกับมังคุด (โดยตัวท่านเองเป็นนักคอมพิวเตอร์จึงไม่ทราบว่าควรทำเรื่องอะไรดี  เพียงแต่เห็นมังคุดออกมากจึงส่งความเห็นมา)  หากสมาชิก search ใน biodata จะพบนักวิจัยที่มีผลงานเกี่ยวกับมังคุดทั้งสิ้น 51 ท่าน กระจายอยู่ใน 20 มหาวิทยาลัย ทีม biodata จะ monitor  การ search เพื่อเอามาสมนาคุณสมาชิก  ผู้ที่ active ในการค้นหาจะได้ประโยชน์ส่วนของตน คือได้รู้จักเพื่อนไว้หารือ   สำหรับผู้ที่ถูกค้นเจอนั้น  biodata ถือว่าท่านมีข้อมูลมาก (จึงค้นเจอ)   ตามกติกาท่านจะได้แต้มสะสมเพิ่ม   และงานของท่านจะมีโอกาสถูกเอาไปต่อยอดหรือถูกอ้างอิงในงานคนอื่น   

2.              การพิมพ์ CV ของตนเองตาม format ที่ออกแบบได้อิสระ   เราเห็นว่าไหนๆ ท่านก็เอาผลงานมาใส่ไว้แล้ว  จึงจัดระบบให้ท่านสร้าง CV ในรูปแบบต่างๆ ได้เอง  เพื่อใช้งานในโอกาสต่างๆ กัน (ปัจจุบันยังเป็นรูปแบบเดียว ในเร็วๆนี้ สมาชิกสามารถรูปแบบของ CV ได้)

3.              ได้สิทธิในการ download รายงานวิจัยก่อนบุคลทั่วไป(ในเร็วๆนี้) และได้ส่วนลดพิเศษในการซื้อหนังสือ สกว. จาก http://www.trf.or.th/book

 ข่าวดีประจำฉบับ

        หลายประเทศลดกำลังทหารลงเพราะเห็นว่าทหารนอกจากไม่ได้สร้างเศรษฐกิจแล้วยังใช้งบประมาณมากด้วย (ทหารพูดเองครับ)   เขาจึงผันกำลังคนเข้าสู่ภาคเศรษฐกิจและหันมาพัฒนาระบบกำลังสำรองแทน   หมายความว่าเมื่อเกิดเหตุที่ต้องการกำลังเขาจะระดมออกมาจากภาคเศรษฐกิจได้  (switch คนให้ทำหน้าที่ตามสถานการณ์ได้)   

        ประเทศเรามีระบบกำลังสำรองแบบเอกเทศ  มีทั้งทหาร  ตำรวจ   พลเรือน (ลูกเสือชาวบ้าน อาสาสมัครฯ)  ที่มีการควบคุมภายในหน่วยที่ตนเองสังกัด  เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เป็นภัยด้านความมั่นคงไม่ว่าจะเป็นสงคราม  ก่อการร้าย  ภัยพิบัติทางธรรมชาติ  กำลังสำรองของหน่วยต่างๆ จะเข้าปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะต่างคนต่างทำ (เห็นชัดตอนสึนามิกับตอนสงกรานต์ในกรุง)   ไม่มีการควบคุมและบังคับบัญชาอย่างเป็นระบบ (ตัวอย่าง 3 จชต. มีกำลังส่วนต่างๆ เข้าไปมากจนทำงานไม่ได้  เกิดเหตุแต่ละครั้งก็ออกมาพูดว่าจะต้อง "ปรับการทำงาน"  แต่ก็ทำไม่ได้สักที  ยกเว้นสั่งย้ายแม่ทัพภาค)  ทำให้การใช้กำลังสำรองของหน่วยต่างๆ  ไม่คุ้มค่าและขาดประสิทธิภาพ   เกิดต้นทุนค่าใช้จ่ายในระบบกำลังสำรองมากเกินความจำเป็น

        เรื่องนี้เสนอมาโดยกรมการสรรพกำลังกลาโหมเอง  เขาต้องการปฏิรูประบบกำลังสำรอง  โดยการวิเคราะห์กฎหมายที่เป็นอุปสรรคและเสนอทางออก   กองทัพพยายามทำเองแล้วแต่ไม่สำเร็จ  เพราะมีหลายกฎหมายที่อยู่นอกกลาโหม  แม้แต่คำว่า "กำลังสำรอง" ก็ต่างจาก "กำลังพลสำรอง"   เขาจึงต้องการนักวิจัยคนกลางมาแก้ปัญหา สกว. เห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่ของประเทศ  การจัดการเรื่องนี้ต้องทำกันหลายฝ่ายและมีวิธีการเฉพาะมาก งานนี้อยู่ในศาสตร์ logistics ที่ สกว. มีเป้าการทำงานแบบ Think Thank ด้วย (สาร biodata ฉบับที่ 40-42 อธิบายเรื่อง Think tank แล้ว  ผู้สนใจหาอ่านดูได้)

        สมาชิก biodata บางท่านได้รับการติดต่อจากสำนักประสานงานชุดโครงการโลจิสติกส์แล้ว  แต่ท่านปฏิเสธว่าไม่ถนัด   สกว. คิดว่าน่าจะมีนักวิจัยด้านสังคมศาสตร์  นิติศาสตร์  และรัฐศาสตร์อีกหลายท่านที่กรอกข้อมูลไม่ครบ  เราอาจพลาดการค้นหาท่าน จึงฝากข่าวมากับสาร biodata ฉบับนี้  ผู้สนใจ (หรือมีเพื่อนที่สนใจ) สามารถติดต่อได้ที่ สำนักประสานงานชุดโครงการวิจัยโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โทร .0-2889-2138  ต่อ 6707-6246 E-mail : fnsus@diamond.mahifol.ac.th

ข่าวประชาสัมพันธ์

        ขยายเวลารับข้อเสนอโครงการ "ยุววิจัยไม้ผล" สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2552  ที่มา : คุณปุณิกา  [1-มิ.ย.-2009]  

        ประกาศทุนของสกว.อื่นๆ  คลิก

        รายการวิจัยไทยคิด วันอาทิตย์ที่ 7 มิ.ย. 52  เวลา 16.00 น. สถานีทีวีไทย สัปดาห์นี้ เสนอตอน "โครงการวิจัยยางพารา" และสามารถติดตามชมตอนที่ผ่านมาได้    คลิก

ข้อมูล biodata ล่าสุด

        ข้อมูลถึงวันที่ 4 มิถุนายน 2552 มีผู้ลงทะเบียนทั้งสิ้น 9,119 ราย  

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
4  มิถุนายน  2552




Windows Live™: Keep your life in sync. Check it out!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew