"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เปิดผลสอบเอาผิดบิ๊กกบข. (1)

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552

หมายเหตุ : ส่วนหนึ่งของรายงานที่คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของกองทุนบำเหน็จบำยาญข้าราชการ (กบข.) ที่มี นายสมพล เกียรติไพบูลย์ ประธานกรรมการธนาคารนครหลวงไทย เป็นประธาน ได้นำเสนอบอร์ด กบข. จนนำไปสู่การตัดสินใจลาออก ของนายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กบข. 
กบข.มีการกำหนดระเบียบ ประกาศ และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ จรรยาบรรณ ของพนักงานกบข. และการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีของพนักงานกบข. สำหรับการจัดการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ดังนี้
- ประกาศกบข. ที่ 3/2546 เรื่องจรรยาบรรณและหลักปฏิบัติพนักงานกบข. ลงวันที่ 31 มี.ค. 2546
- ระเบียบกบข. ว่าด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีพนักงาน พ.ศ. 2546 ลงวันที่ 30 มิ.ย. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 ลงวันที่ 13 พ.ค. 2548 และฉบับที่ 3 ลงวันที่ 21 ส.ค. 2550

- หลักเกณฑ์กบข. เรื่องการกำหนดและวิธีการใช้บัญชีรายชื่อหลักทรัพย์ที่ต้องติดตามการทำธุรกรรม (Watch List) และบัญชีรายชื่อหลักทรัพย์ที่ต้องจำกัดการทำธุรกรรม (Restricted List) ลงวันที่ 30 มิ.ย. 2546

- ประกาศกบข.ที่ 23/2548 ลงวันที่ 16 ธ.ค. 2548 เรื่องวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับข้อมูลลับ (Confidential Information) และมาตรการป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร (Chinese Wall)

- ประกาศกบข. ที่ 1/2551 ลงวันที่ 28 ม.ค. 2551 เรื่องพนักงานที่ต้องขออนุญาตก่อนทำการซื้อขายหลักทรัพย์

 คณะกรรมการเฉพาะกิจฯ พิจารณาเห็นว่า ระเบียบ ประกาศ หลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นส่วนใหญ่เป็นไปตามมาตรฐานทั่วไป แต่มีข้อสังเกตว่ากฎเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นไม่ครอบคลุมถึงคณะกรรมการกบข. และคณะอนุกรรมการกบข.ด้วย นอกจากนี้ ระเบียบปฏิบัติการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีพนักงานดังกล่าว ได้ ยกเว้นให้คู่สมรสของพนักงานกบข.ที่มีรายได้หรือทรัพย์สินเป็นของตัวเองและเป็นอิสระจากพนักงานกบข. ซึ่งอาจ เป็นช่องทางให้พนักงานกบข.หลีกเลี่ยง ไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวได้

เมื่อพิจารณารายงานการกำกับดูแลและการตรวจสอบการปฏิบัติตามจรรยาบรรณของพนักงานกบข. ซึ่งรวมถึงเลขาธิการกบข. เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีพนักงานกบข. และการป้องกันข้อขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยฝ่ายธรรมาภิบาล กบข.แล้ว ปรากฏว่าฝ่ายธรรมาภิบาลได้มีการตรวจสอบการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีพนักงานกบข.ที่อยู่ในข่ายต้องปฏิบัติตามระเบียบกบข. ว่าด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีพนักงานกบข. ที่อยู่ในข่ายต้องปฏิบัติ ตามระเบียบกบข. ว่าด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีพนักงาน พ.ศ. 2546 จำนวน 153 คน ปรากฏว่ามีพนักงานกบข. ทั้งที่เป็นผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง และพนักงานทั่วไปบางรายปฏิบัติ ไม่ถูกต้องตามระเบียบดังกล่าว ดังนี้

- มีการส่งแบบมาตรฐานรายงานธุรกรรมในบัญชีของพนักงานทุกสิ้นไตรมาสไม่ครบถ้วน

- ไม่ได้ขออนุมัติทำรายการซื้อขายหลักทรัพย์ครบถ้วนทุกรายการ ซึ่งหมายความรวมถึงกรณีไม่มีหลักฐานการขออนุมัติทำรายการซื้อขายหลักทรัพย์ กรณีหลักทรัพย์ที่ทำการซื้อขายไม่ปรากฏในรายการที่ขออนุมัติ ณ วันนั้น กรณี ไม่ได้ขออนุมัติเนื่องจากลืม แต่มีการแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายธรรมาภิบาลกบข.ทราบในภายหลัง กรณีไม่ทราบว่าการซื้อขายหลักทรัพย์บางรายการต้องขออนุญาต และกรณีมีการขออนุมัติ ผู้บังคับบัญชา แต่ไม่พบหลักฐานการอนุมัติจากฝ่ายธรรมาภิบาลกบข.

- รายการขออนุมัติซื้อขายหลักทรัพย์ไม่ตรงกับที่ปรากฏในรายงานธุรกรรมในบัญชีของพนักงานกบข. ณ สิ้นไตรมาส

- มีความผิดพลาดในการพิมพ์รายงานประจำไตรมาส

- มีการซื้อขายหลักทรัพย์ที่บริษัท ผู้ออกหลักทรัพย์มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่ต้องจำกัดการทำธุรกรรม (Restricted List)

- ใช้แบบรายงานผิดในการรายงานธุรกรรมในบัญชีของพนักงานกบข. ในบางไตรมาส

ดังนั้น คณะกรรมการเฉพาะกิจฯ จึงได้ให้ฝ่ายธรรมาภิบาล กบข.ตรวจสอบ และจัดทำข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงานกบข.ดังกล่าว เปรียบเทียบกับข้อมูลการซื้อ ขายหลักทรัพย์ของตนเองก่อนซื้อขายหลักทรัพย์ของกบข. เพื่อพิจารณาว่า พนักงานกบข.ดังกล่าวผู้ใดมีพฤติการณ์ที่อาจเข้าข่ายการซื้อขายหลักทรัพย์ของ ตนเองก่อนซื้อขายหลักทรัพย์นั้นเพื่อกบข. (Front Running) หรือมีพฤติการณ์หาประโยชน์จากข้อมูลภายในที่เป็นสาระสำคัญต่อ การเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์อันเป็นการเอาเปรียบบุคคลภาคนอก (Insider Trading) หรือไม่ โดยพิจารณาจาก

- ข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ จำนวน 8 หลักทรัพย์ ตามข้อ 1 (6) ได้แก่ BBL, PTT, IRPC, QH, LH, SPF, QHPF และ YNP

- พนักงานกบข.ที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวในช่วง 7 วัน ก่อนวันที่กบข.เข้าไปทำการซื้อขาย

- ความถี่ของการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวของพนักงานกบข. ในช่วง 7 วัน ก่อนวันที่กบข.เข้าไปทำการซื้อขาย

- จำนวนและมูลค่าของหลักทรัพย์ดังกล่าวที่พนักงานกบข.ทำการซื้อขายในแต่ละครั้งในช่วง 7 วัน ก่อนวันที่กบข.เข้าไปทำการซื้อขาย

เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ดังกล่าว ข้างต้นแล้ว ปรากฏว่ามีพนักงานกบข.จำนวน 7 ราย ที่ทำการซื้อขายในช่วงเวลาตามเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น ซึ่ง คณะกรรมการเฉพาะกิจฯ ได้ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนมูลค่าและความถี่ พบว่า พนักงานกบข.จำนวน 6 ราย ใน 7 ราย ดังกล่าวไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบกบข. ว่าด้วยการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีพนักงาน พ.ศ. 2546 แต่ลักษณะการ ซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่มีนัยสำคัญ เนื่องจากบางรายการมีการขออนุญาตจากฝ่ายธรรมาภิบาล กบข. บางรายซื้อขายหลักทรัพย์ในจำนวนและมูลค่าเล็กน้อย รวมทั้งมีความถี่ในการซื้อขายน้อย จึง ไม่สมควรพิจารณาว่าจงใจกระทำความผิด มีเพียงผู้บริหารระดับสูงของกบข.จำนวน 1 ราย คือ นายวิสิฐ ตันติสุนทร ตำแหน่งเลขาธิการกบข. ที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์ดังกล่าวตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการเฉพาะกิจกำหนดให้ตรวจสอบ โดยมีจำนวนมูลค่าและความถี่ในการซื้อขายมาก นอกจากนี้ นายวิสิฐมีการซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่ต้องจำกัดการทำธุรกรรม (Restricted List) ด้วย คณะกรรมการเฉพาะกิจจึงเชิญนายวิสิฐมาชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีของนายวิสิฐในประเด็นดังกล่าว
 
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm



See all the ways you can stay connected to friends and family

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew