"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ระบบบำนาญแห่งชาติ กับกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ เหมือนกันอย่างกับแพะกับแกะ

วันที่ 05 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11409 มติชนรายวัน


ระบบบำนาญแห่งชาติ กับกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ เหมือนกันอย่างกับแพะกับแกะ


โดย วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านหลักประกันทางสังคม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย



ในช่วงไม่นานมานี้เรามักจะได้ยินข่าวดีเกี่ยวกับระบบบำนาญสำหรับคนไทยทุกคน บางครั้งก็ได้ยินข่าวว่ารัฐจะให้เงินบำนาญกับผู้สูงอายุไทยทุกคน โดยรัฐจะช่วยออมเดือนละ 200 บาท เป็นขวัญกระเป๋า

แต่ข่าวก็แว่วออกมาใหม่ว่ารัฐจะให้ช่วยขวัญกระเป๋าเดือนละ 50 บาท ถ้าคนไทยออมเดือนละ 100 บาท

ต่อมาก็มีข่าวว่าจะมีการตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ หรือ กบช. สำหรับแรงงานนอกระบบ แล้วก็จึงจะบังคับใช้กับแรงงานในระบบภายหลัง (ด้วยการแบ่งเงินของแรงงานจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาใส่กองใน กบช.ซึ่งไม่ทราบว่าจะแบ่งออกมาทำไม)

ข่าวที่ค่อยๆ ออกมาเป็นระลอกอาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องเดียวกัน แต่แท้จริงแล้วก็ไม่ใช่ทีเดียวนัก มันเหมือนกันอย่างกับแพะกับแกะเท่านั้นเอง

การตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ มีเจตนาในการส่งเสริมการออม แล้วให้ประชาชนนำเงินออมนั้นไปใช้ยามชราภาพ...จบ

ที่ว่าจบหมายถึงจบหน้าที่ของกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติต่อประชาชนเท่านั้น คือ รับเงินจากแรงงานที่ต้องการออม นำเงินมาลงทุน เมื่อเกษียณอายุก็ให้รับเงินที่ออมพร้อมผลตอบแทนจากการลงทุนไป ต่อจากนั้นก็ไปจัดการวิธีการใช้เงินเอง หน้าที่ลักษณะนี้ในขณะนี้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของเอกชนก็ทำอยู่แล้ว



ระบบบำนาญแห่งชาติไม่ได้มองแค่การมีกองทุนเพื่อการออมของแรงงานเท่านั้น แต่มองรวมไปถึงการคุ้มครองด้านรายได้ประชาชนที่เกษียณอายุไปจนกระทั่งสิ้นอายุขัย ประชาชนที่ไม่ใช่แรงงาน เช่น แม่บ้าน ผู้ว่างงาน ผู้ทำงานไม่เป็นหลักแหล่ง เขาเหล่านี้ที่เสี่ยงต่อความเป็นผู้สูงอายุยากจน ควรที่จะได้รับการคุ้มครองในระบบบำนาญแห่งชาติเช่นกัน

ระบบบำนาญแห่งชาติต้องมีกลไกตั้งแต่การสมทบออมของรัฐ และการจ่ายบำนาญพื้นฐานของรัฐ (ตามรูป) เช่น รัฐให้สัญญาว่าจะสมทบการออมให้กับประชาชนที่อายุ 20-59 ปี ทุกคนที่ออมผ่าน กบช.

และเมื่อประชาชนเกษียณอายุ รัฐสัญญาว่าจะให้บำนาญพื้นฐานคนละ 500 บาทต่อเดือน ส่วนยอดรวมของบำนาญที่ประชาชนเกษียณอายุจะได้รับนั้นขึ้นอยู่กับว่าในแต่ละเดือนที่ผ่านมาเขาได้ออมเข้า กบช.มากน้อยเพียงใด ถ้าออมมากก็จะได้รับยอดรวมของบำนาญมากไปด้วย

การจัดตั้งกองทุนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของระบบบำนาญแห่งชาติ ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนมีบำนาญมากเกินกว่า 500 บาทต่อเดือน จึงต้องมีกองทุนเพื่อให้ประชาชนออมและนำเงินนั้นไปลงทุน

รัฐควรจะสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนด้วยว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนจะต้องไม่ต่ำกว่าผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว

นอกจากนี้ ระบบบำนาญยังอาจให้สิทธิประโยชน์อื่นๆ แก่ผู้ออมเพื่อเป็นการจูงใจ เช่น การมีบำเหน็จตกทอด หรือประกันอุบัติเหตุให้แก่ผู้ออม

สิ่งเหล่านี้ควรอยู่ในกฎหมายว่าด้วยระบบบำนาญแห่งชาติ การจัดตั้ง กบช.เป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบบำนาญเท่านั้น

ด้วยสภาวะเศรษฐกิจเช่นปัจจุบัน มักจะมีการถามอยู่เสมอว่า กบช.จะไปลงทุนจนได้ผลตอบแทนติดลบได้หรือไม่ เงินออมที่ลงไป 150 บาท จะเหลือ 100 บาทหรือไม่

ถ้าเงินทั้งหมดของกองทุนใช้ในการลงทุนที่ไม่เสี่ยง เช่นซื้อพันธบัตรรัฐบาล ผลตอบแทนตามราคาตลาดที่ได้ก็ไม่น่าจะติดลบ แต่ก็จะไม่สูงจนน่าจูงใจ ด้วยเหตุที่ประชาชนบางท่านอาจจะชอบผลตอบแทนสูงๆ โดยยอมเสี่ยงกับความผันผวนของผลตอบแทน

ดังนั้น กบช.ควรมีแผนการลงทุนให้ประชาชนเลือกมากกว่าหนึ่งแผน ใครที่ต้องการความเสี่ยงต่ำก็เลือกการลงทุนทั้งหมดในพันธบัตร ใครที่ต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นโดยยินดีเสี่ยง ก็ให้เลือกแผนการลงทุนที่เสี่ยงมากขึ้น แต่ก็มีโอกาสที่วันที่เกษียณอายุ เงิน 150 บาท จะได้เพิ่มเป็น 250 บาท หรืออาจลดเหลือ 50 บาท ก็ต้องเลือกเอาว่าต้องการแผนการลงทุนแบบใด

ระบบบำนาญแห่งชาติไม่ควรแบ่งการให้สิทธิประโยชน์เป็นสำหรับแรงงานนอกระบบและในระบบ ประชาชนทุกคนควรได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานจากรัฐเหมือนๆ กัน

ทั้งนี้ การไม่รวมข้าราชการเข้ากับระบบบำนาญแห่งชาติ เพราะข้าราชการได้รับบำนาญที่ดีกว่าอยู่แล้ว แต่ประชาชนที่ไม่ใช่ข้าราชการทั้งหมดยังไม่ได้รับการช่วยเหลือในรูปของบำนาญเลย บางท่านอาจจะกล่าวว่า ลูกจ้างในระบบประกันสังคมมีบำนาญแล้ว ถ้าพิจารณาให้ดีเราจะทราบว่ารัฐไม่ได้ช่วยสมทบในเรื่องบำนาญชราภาพให้แก่ลูกจ้างเลย เงินที่จะจ่ายบำนาญนั้นมาจากการสมทบของลูกจ้างและนายจ้างเท่านั้น (เงินนี้ก็ไม่ได้มากมายนัก และก็จะมีปัญหาถังแตกในอนาคตเช่นกัน)

ทำไมรัฐจะต้องเลือกปฏิบัติด้วยการช่วยออมแก่แรงงานนอกระบบเท่านั้น

แรงงานในระบบก็เป็นผู้เสียภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วยเช่นเดียวกัน

ไม่เพียงเท่านั้น ผู้ที่อยู่ในระบบลูกจ้างที่จ่ายเงินให้แก่ประกันสังคม มักจะทำงานไม่ถึง 15 ปี ซึ่งจะทำให้หมดสิทธิการได้รับบำนาญจากประกันสังคม คนเหล่านี้มักเป็นแรงงานไร้ฝีมือ มีรายได้ต่ำ และมักจะเปลี่ยนงานบ่อยๆ เราจะทิ้งเค้าไว้ตรงไหนของระบบดี

รัฐบาลจะต้องชัดเจนว่าต้องการเสนอระบบบำนาญแห่งชาติ หรือแค่กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ ต้องชัดเจนว่าจะเสนอแพะหรือแกะ แต่ที่แน่ๆ คือไม่มีใครอยากได้เด็กเลี้ยงแกะ

หน้า 7

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01act02050652&sectionid=0130&day=2009-06-05

Invite your mail contacts to join your friends list with Windows Live Spaces. It's easy! Try it!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew