"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วุฒิถกปัญหา'อองซาน'แนะแซงชั่น

วุฒิถกปัญหา'อองซาน'แนะแซงชั่น

Pic_10271

วุฒิสภา ตั้งวงถกปัญหา 'อองซาน ซูจี' โดยที่ปรึกษา รมว.ต่างประเทศ เสนอ อาเซียนบังคับใช้กฎบัตรจริงจัง กรพ. แนะ รัฐสภาจับมืออาเซียนใช้มาตรการแซงชั่นผู้นำหม่อง ...
วันนี้ (2 มิ.ย.) ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา คณะกรรมการโครงการวุฒิสภาสตรีสัญจร และคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.) ร่วมกันจัดสัมมนาเรื่อง 'บทบาทไทย-อาเซียน กับการพัฒนาทางการเมืองในสหภาพเมียนมาร์ กรณี อองซาน ซู จี' โดย น.ส.ทัศนา บุญทอง รองประธานวุฒิสภา ได้กล่าวเปิดการสัมมนาในตอนหนึ่งว่า ก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีได้แสดงออกถึงความห่วงกังวลต่อกรณีดังกล่าวแล้ว จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลทหารพม่า ให้การดูแลทางการแพทย์ที่พอเพียง และปฏิบัติต่อนางอองซาน อย่างมีมนุษยธรรมและมีศักดิ์ศรี เพราะประชาคมโลกกำลังจับตามองอยู่ ไทยในฐานะประธานอาเซียนขอยืนยันความพร้อมในการมีส่วนสนับสนุนอย่างสร้างสรรค์ต่อกระบวนการปรองดองแห่งชาติ และการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยอย่างสันติในพม่า

นายสุรงพษ์ ชัยนาม ที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ กล่าวว่า ล่าสุดศาลพม่าได้เลื่อนการพิจารณาคดีของนางอองซาน ซูจี ออกไปเป็นวันที่ 5 มิ.ย. ซึ่งสามารถคาดการณ์ได้ว่าหลักนิติธรรมไม่มีในประเทศพม่า เพราะรัฐบาลทหารพม่าคุมทั้งศาล และฝ่ายนิติบัญญัติ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงคาดการณ์ได้ว่าผลจะออกมาเช่นไร ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นบททดสอบสำคัญต่อความเป็นเอกภาพของกลุ่มประเทศอาเซียนว่า จะมีมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะกฎบัตรอาเซียนในมาตรา 1- 15 เกี่ยวกับการเคารพสิทธิมนุษยชน หลักนิติรัฐ นิติธรรม หลักธรรมาภิบาล ที่อาเซียนจะยอมให้กฎบัตรเป็นแค่เศษกระดาษ หรือเป็นกฎบัตรที่มีความศักดิ์สิทธิ ไม่รู้ว่าทำไมจึงกลัวผู้หญิงตัวเล็กๆ อาจเป็นเพราะนางอองซาน เป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตยในพม่า ดังนั้น อาเซียนจะต้องมีบทบาทกดดันรัฐบาลทหารพม่าโดยใช้กฎบัตรอาเซียน ซึ่งจะเป็นอาวุธสำคัญที่อาเซียนจะใช้กดดันหรือบังคับกับพม่า

นางลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ กรรมการ กรพ. กล่าวว่า ในกฎบัตรอาเซียนที่พม่าได้ลงนามรับรองในเรื่องสิทธิมนุษยชนทั้งหมด แต่กลับไม่ปฏิบัติตาม เพราะพม่ามีนิยามเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นของตัวเองว่า ให้มีการใช้อาวุธในการควบคุมประชาชนได้ เพราะต้องการรักษาอำนาจตัวเองให้ได้จึงใช้ทุกวิธีทาง ยอมรับว่าเป็นงานหนัก รัฐสภากับอาเซียนควรร่วมมือกันทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้ อาทิ การร่วมสังเกตการณ์กระบวนการดำเนินคดีต่อนางอองซาน การโดดเดี่ยวคณะบุคคลที่มีอำนาจของพม่าในความสัมพันธ์ รวมถึงการถอดถอนออกจากชาติสมาชิกอาเซียน หรือการคุยกับประเทศจีนที่มีบทบาทสำคัญในการดำรงอยู่ของรัฐบาลพม่า

ด้าน น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ว่าที่กรรมการสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า การดำเนินการของไทยในฐานะประธานอาเซียน และประเทศในอาเซียน ไม่ได้เป็นการแทรกแซงหรือกดดันพม่า แต่เป็นการแสดงจุดยืนที่ต้องการให้กระบวนการยุติธรรมมีความโปร่งใส เพื่อให้ประชาชนในประชาคมอาเซียนได้ประโยชน์ทั้งหมด
 
http://www.thairath.co.th/content/pol/10271



See all the ways you can stay connected to friends and family

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew