"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552

กุนซือ"ผู้นำสีกากี" ระดมความเห็นผ่าทางตัน "เสรีภาพ-จัดระเบียบม็อบ"

วันที่ 07 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11411 มติชนรายวัน


กุนซือ"ผู้นำสีกากี" ระดมความเห็นผ่าทางตัน "เสรีภาพ-จัดระเบียบม็อบ"





ตลอดเวลาร่วมปีที่ผ่านมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ต้องรับภารกิจควบคุมดูแลความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง

ตั้งแต่ การชุมนุมขับไล่รัฐบาล "พลังประชาชน" นอมินี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ของ "คนเสื้อเหลือง" ในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ต่อด้วยการขับไล่รัฐบาล "ประชาธิปัตย์" ของ "คนเสื้อแดง" หรือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)

ต้อง ยอมรับว่าสำหรับ "ตำรวจ" ทุกภารกิจ ทุกปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการรับมือม็อบ ล้วนถูกจับตามองจากหลายฝ่ายและต้องอดทนต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ นานา

"เกียร์ว่าง,สองมาตรฐาน,รับใช้การเมือง,ตำรวจฆ่าประชาชน" เหล่านี้คือข้อกล่าวหาที่ตำรวจต้องเผชิญขณะปฏิบัติหน้าที่

พ่วง ด้วยการถูกกล่าวหาฐานประมาทเลินเล่อที่ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ต้องชี้แจงแก้ต่างต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

ขณะที่ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และนายตำรวจที่เกี่ยวข้องหลายนาย ถูกกล่าวหามีความผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบ จากผลพวงเหตุการณ์วันที่ 7 ตุลาคม 2551

กลายเป็นภาวะที่ "คนสีกากี" อึดอัด คับข้องใจ แต่ด้วยภาระหน้าที่จึงเลี่ยงไม่ได้

ก่อน หน้านี้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติพยายามผลักดัน "กฎหมายควบคุมการชุมนุมในที่สาธารณะ" หลายครั้ง เพื่อเป็นเครื่องมือในการดำเนินการกับสารพัดม็อบที่รุมเร้า

โดยร่างกฎหมายนี้ถูกตีกลับมาแล้วในสมัยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ก่อนถูกหยิบขึ้นมาปัดฝุ่นอีกครั้งหลังเหตุการณ์เมื่อเดือนเมษายน

ล่าสุดกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา "คณะที่ปรึกษา ผบ.ตร." จัดสัมมนาเรื่อง "เสรีภาพกับการจัดระเบียบการชุมนุม" ที่สโมสรตำรวจ

โดย มีนายวิชัย ชื่นชมพูนุท ตุลาการศาลปกครองสูงสุด นายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายกิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีตรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ร่วมอภิปราย



โดย มี พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ซึ่งผ่านประสบการณ์รับมือม็อบเสื้อแดง เกริ่นนำว่า ผู้ชุมนุมในปัจจุบันมีพัฒนาการรวดเร็ว และใช้ความรุนแรงขึ้นเพื่อให้ข้อเรียกร้องสำเร็จ การชุมนุม 2 ครั้งใหญ่ที่ผ่านมาใครได้ประโยชน์ คงไม่ตอบ แต่ในหน้าที่ตำรวจ การไม่สามารถยับยั้งการชุมนุมทำให้ประเทศเสียหายรู้สึกเสียใจ แต่เสียใจมากยิ่งขึ้น เมื่อถูกต่อว่าเข้าเกียร์ว่าง หน่อมแหน้ม ได้แต่บอกลูกน้องต้องอดทน

"เราไม่มีกฎหมายเฉพาะ หยิบกฎหมายอื่นที่พอเกี่ยวข้องมาใช้ เช่น พ.ร.บ.จราจร ป.อาญา พอทำสำนวนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพียงแค่ชั้นอัยการถูกตีกลับ ถูกมองที่เจตนารมณ์ของผู้ชุมนุมว่าต้องการเรียกร้องทางการเมือง การบุกทำเนียบรัฐบาลไม่เข้าข่ายความผิดฐานบุกรุก ไม่เจตนาปิดถนน ปิดจราจร หรือบุกทำเนียบ ประเด็นใช้เครื่องเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตก็ตีว่า เพื่อควบคุมการชุมนุมคนจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องเสียง ทุกอย่างตีความโดยรัฐธรรมนูญ ข้อหาตามกฎหมายอื่นจึงตกหมด" พล.ต.ท.วรพงษ์ชี้ และว่า "ในฐานะนาย เข้าใจลูกน้องดี ว่าบทเรียน 7 ตุลาคมที่ผ่านมา ทำให้ลูกน้องเข้าเกียร์ว่าง และเมินคำสั่ง นั่นเพราะขาดหลักประกัน และความสับสนเรื่องเส้นแบ่งของการชุมนุมโดยสงบ

และถึงเวลาแล้วที่สังคมจะให้เครื่องมือทางกฎหมายกับตำรวจเพื่อจัดการกับปัญหาการชุมนุมที่จะเกิดขึ้น?!

ขณะ ที่ นายวิชัยออกตัวว่า เวทีนี้ขอถอดครุยตุลาการ การรับมือม็อบคือภาระหน้าที่ของตำรวจ ที่ต้องพร้อมรับทั้งพวงมาลัยและก้อนอิฐ การกระทำนั้นผิดไม่ผิด ให้ยึดตัวกฎหมายให้แน่ อย่าหวั่นไหวว่าจะไปกระทบคนมีอำนาจ ถ้ายึดทำเพื่อความถูกต้อง ไม่ต้องเอาใจใคร ปัญหาก็จะไม่เกิด ต้องตัดไฟแต่ต้นลม เพียงการประกาศจะไปบุกไปยึดสถานที่ ก็เข้าข่ายยุยงส่งเสริม ไม่ต้องเกรงใจหน้าอินทร์หน้าพรหม มีกฎหมายอาญาจับไปก่อน ไม่ต้องกลัว อย่าปล่อยให้คนมาชุมนุมจำนวนมาก



" ท่านต้องเป็นรุ่นที่กล้าหาญ ไม่กลัว ต้องกล้าหาญเป็นรุ่นแรก สร้างมาตรฐานเพื่อรุ่นหลัง ใครจะเกลียดขี้หน้าก็ช่าง แต่รู้ท่านกลัวผลกระทบ"

ขณะที่นายวิชาแสดงความเห็นว่า การจัดระเบียบการชุมนุมนั้นทำได้ แต่ต้องไม่จำกัดเสรีภาพการชุมนุม เพราะนั่นคือการแสดงออกของผู้ไม่มีทางออกในทางการเมือง

โดยต้องมี หลักสำคัญ คือยังคุ้มครองการใช้เสรีภาพให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ตรงหลักการเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนกับผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุม

การ ชุมนุมหากไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 63 ไม่เป็นไปโดยสันติ สามารถส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ชุมนุมโดยสงบ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 63 หรือไม่ เพราะแต่ละม็อบอยู่หลายวัน พอมีเวลาให้ถาม

"ต้องแยกให้ออกมาว่าการชุมนุมดังกล่าว เป็นการชุมนุมหรือเป็นการก่อการจลาจล เพราะเท่าที่ผมฟังมักมีการปลุกระดมให้ประชาชนออกไปฆ่ากัน โดยใช้อาวุธ

ซึ่ง ตำรวจคงตีความได้ว่าอะไรเป็นอาวุธ ต้องใช้ดุลพินิจแล้วประเมินว่าเป็นการจลาจลก็สามารถเข้าระงับเหตุ ไม่ใช่ปล่อยเฉยๆ เพราะนั่นหมายถึงละเว้น

เพราะการปลุกระดมแต่ละ ครั้งใช้ระยะเวลานานกว่าครึ่งชั่วโมง ท่านมีเวลาฟังและมีเวลาเตรียมการ ใช้ดุลพินิจพิจารณาได้ว่าจะเกิดเหตุอะไร" ป.ป.ช.แสดงความเห็น

ฟากนัก วิชาการ "นายกิตติศักดิ์" ให้ความเห็นตอนหนึ่ง ว่าการที่ตำรวจไม่สามารถแบ่งแยกการชุมนุมว่าสงบหรือไม่สงบได้เป็นภาวะย่ำแย่ หากหัวไม่เข้าใจหางก็ไม่มีทางเข้าใจ หากไม่เร่งแก้ไขก็จะบานปลายจนไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศได้

" ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายควบคุมการชุมนุมเพราะกฎหมายที่มีอยู่ก็ สามารถที่จะใช้ดูแลการชุมนุมได้ เพราะบุคคลที่รู้ข้อกฎหมายส่วนใหญ่ มีแต่แกนนำผู้ชุมนุม ส่วนผู้ชุมนุมไม่รู้.. เพียงแต่ทำตามสิ่งที่แกนนำพูด ดังนั้น หากออกกฎหมายมา เชื่อว่ากลุ่มคนพวกนี้ก็สามารถหาช่องทางในการตีความเพื่อที่จะชุมนุมได้อีก และหากมีกฎหมายเพิ่มผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ เช่น ตำรวจ ก็จะปฏิบัติหน้าที่ได้ยาก เพราะจะเป็นเงื่อนไขที่ซับซ้อนขึ้น"

ด้าน อดีต ส.ส.ร.ให้ความเห็นว่า ปัญหาในขณะนี้เกิดจากทุกฝ่ายใช้ดุลพินิจตามรัฐธรรมนูญ บางครั้งใช้ดุลพินิจให้คุ้มครองผู้ชุมนุม พอมีการฟ้องร้องกัน อีกกลุ่มก็ใช้ดุลพินิจให้ถอนการคุ้มครอง ผู้ปฏิบัติก็ทำงานลำบากขาดความต่อเนื่อง เมื่อเกณฑ์การปฏิบัติเป็นเช่นนี้ ทำให้เกิดปัญหา ต่อไปสังคมควรจะต้องมาหาบรรทัดฐานร่วมกันว่า ต้องมีเกณฑ์การปฏิบัติ และกฎหมายที่ชัดเจน

สิ่งสำคัญคือต้องพยายาม ขจัดต้นเหตุการณ์ชุมนุมโดยเฉพาะการชุมนุมทางการเมือง เพราะการชุมนุมเหล่านี้มีผู้มีอำนาจทางการเมืองอยู่เบื้องหลัง มีอำนาจในการครอบงำ และแทรกแซงการทำงานของตำรวจอยู่ จนตำรวจไม่สามารถตัดสินใจทำอะไรได้เอง

"สำหรับแนวทางการแก้ปัญหามี 4 เรื่อง 1. นักการเมืองต้องไม่ทำอะไรผิดกฎหมายคอร์รัปชั่น เพราะจะเป็นต้นเหตุให้ประชาชนออกมาชุมนุม 2. ในการชุมนุมต้องไม่มีการก้าวล่วงสถาบัน ไม่เช่นนั้นประชาชนจะยิ่งออกมาปกป้อง 3. นักการเมืองต้องไม่เป็นแกนนำในการแบ่งแยกประชาชน และ 4. นักการเมืองต้องไม่ใช้อำนาจกดดันเจ้าหน้าที่ ต้องให้อิสระในการแก้ปัญหา เพราะไม่เช่นนั้น จะเกิดสภาพที่เจ้าหน้าที่ไม่กล้าเสี่ยง ไม่กล้าทำอะไร ที่สำคัญเห็นด้วย กับการออกกฎหมายควบคุมการชุมนุม แต่ต้องไม่จำกัดสิทธิและต้องไม่กระทบสิทธิของผู้อื่นที่ไม่เห็นด้วย" นายเสรีสรุปทิ้งท้าย

ทั้งหมดเป็นนานาทรรศนะในวงสัมมนา!

ขณะ ที่ พล.ต.อ.พัชรวาทยืนยันว่า กฎหมายควบคุมการชุมนุมยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็น โดยจะนำผลการสัมมนาไปหารือในวงสีกากีเพื่อหาข้อสรุปแนวทางแก้ปัญหาสารพัด ม็อบอีกครั้ง !?!


หน้า 12

http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01jud30070652&sectionid=0117&day=2009-06-07


Invite your mail contacts to join your friends list with Windows Live Spaces. It's easy! Try it!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew