วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552 |
สาเหตุที่โบรกเกอร์ได้ค่าคอมมิชชันมากถึง 1,000 ล้านบาท เป็นเพราะการซื้อขายอนุพันธ์ของไทยจัดเก็บ 500 บาท/สัญญา หากคิดทั้งฝั่งซื้อและขายแล้วรวมเป็นเงิน 1,000 บาท/สัญญา หรือคิดเป็นประมาณ 0.25% ของมูลค่าสัญญา ถือว่าสูงกว่าการซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ของสหรัฐอเมริกาที่คิดเพียง 0.002% และในหลายประเทศ
"การคิดคอมมิชชันในอัตราที่สูงเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับนักลงทุน เพราะจำเป็น ต้องรอให้มีผลตอบแทนสูงๆ นอกจากจะต้องครอบคลุมกับค่าคอมมิชชันแล้ว ยังจะ ต้องให้มากพอมีกำไรให้คุ้มกับการลงทุน แต่ดัชนีหุ้นไทยผันผวนไม่ได้มาก ทำให้โอกาสจะสร้างกำไรในระดับสูงเพื่อครอบคลุมกับคอมมิชชันนั้น ทำได้ยาก และได้กลายเป็นอุปสรรคต่อการตัดสินใจลงทุน และเมื่อผู้ลงทุนบาดเจ็บกับการลงทุนก็จะเข็ดและไม่เข้ามาลงทุนอีก ซึ่งกลายเป็นปัญหาต่อการขยายฐานผู้ลงทุนรายใหม่ของตลาดอนุพันธ์" แหล่งข่าวเปิดเผย
นอกจากนี้ ด้วยอัตราค่าคอมมิชชันที่สูงทำให้นักลงทุนต่างประเทศไม่สนใจจะเข้ามาลงทุน โดยให้ความสนใจซื้อขายในตลาดต่างประเทศแห่งอื่น ซึ่งมีคอมมิชชันในระดับต่ำกว่าของไทย
ทั้งนี้ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้สภาพคล่องในตลาดอนุพันธ์ ไม่เพิ่มขึ้น โดยจะมีแต่เพียงกลุ่มผู้ลงทุนรายเดิม แทบจะไม่มีรายใหม่เข้ามาลงทุน ดังนั้นอยากจะเสนอให้มีการลดค่าธรรมเนียมในการซื้อขายลง เพื่อให้ผู้ลงทุนรายบุคคลสามารถเข้าถึงการลงทุนด้วยต้นทุนที่ลดลง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันทาง TFEX จะเปิดเสรีค่า คอมมิชชัน และปล่อยให้เป็น ไปตามข้อตกลงของทางชมรม ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (FI Club) แต่ทาง TFEX สามารถลดค่าธรรมเนียมในการซื้อขายที่จัดเก็บ 50 บาท/ สัญญา ให้ลดลงต่ำกว่านี้ โดยอาจไม่ต้องเท่ากับผู้ดูแลสภาพคล่อง (มาร์เก็ตเมกเกอร์) ที่เสียให้กับ TFEX เพียง 5 บาท/สัญญา แต่ควรลดลงมาเหลือ 25 บาท/ สัญญา เพื่อไม่ให้เกิดความเสียเปรียบระหว่างกลุ่ม ผู้ลงทุนมากเกินไป
http://www.posttoday.com/stockmarket.php?id=50180
What can you do with the new Windows Live? Find out
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น