"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก(จบ)/คอลัมน์ภาษาภาษี

รายงานโดย :สมชาย ชูเกตุ:
วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์นี้คงจบเกี่ยวกับภาษีของดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ โดยปกตินั้นดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารจะถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% ไม่ว่าจะฝากเงินแบบประจำ ออมทรัพย์ หรือฝากแบบใดๆ ก็ตาม บางท่านอาจสงสัยว่าเมื่อถึงวันครบกำหนดเวลาจ่ายดอกเบี้ย ตนเองยังไม่ได้รับดอกเบี้ยแต่อย่างใด จะต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายหรือไม่
คำตอบก็คือ เมื่อถึงวันครบกำหนดเวลาจ่ายดอกเบี้ยเงินฝาก ถึงแม้ท่านจะไม่ได้นำสมุดบัญชีคู่ฝากไปปรับข้อมูลหรือถอนเงิน ธนาคารก็จ่ายดอกเบี้ยตามกำหนดเวลานั้น พร้อมกับหักภาษีและนำส่งให้กรมสรรพากรภายในวันที่ 1–7 ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายดอกเบี้ย
ทีนี้มาดูว่าทำอย่างไรดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับจึงจะได้ประโยชน์สูงสุดทางภาษี หากดอกเบี้ยเงินฝากนั้นไม่ได้รับการยกเว้นภาษี ดอกเบี้ยเงินฝากเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร หากธนาคารได้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% ไว้แล้ว ในบทบัญญัติมาตรา 48 (3) (ก) แห่งประมวลรัษฎากรได้ให้สิทธิผู้มีเงินได้พึงประเมินจากดอกเบี้ยเงินฝาก สามารถเลือกที่จะนำดอกเบี้ยเงินฝากไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นๆ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี หรือจะยอมถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% โดยไม่ต้องนำดอกเบี้ยเงินฝากไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่นก็ได้

คำถามที่ผู้ฝากเงินมักจะถามบ่อยครั้งก็คือ จะนำดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับไปรวมคำนวณภาษีดีหรือไม่

คำตอบตายตัวคงไม่มี เพราะหากนำดอกเบี้ยเงินฝากไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี อาจจะได้รับคืนภาษีที่ถูกหักไว้ทั้งหมด หรือได้คืนภาษีบางส่วน หรือจ่ายภาษีเพิ่มเติมก็ได้

ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเงินได้พึงประเมินมีมากน้อยเพียงไร หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนได้มากน้อยเท่าใด มีเงินได้สุทธิเกินกว่า 1.5 แสนบาทหรือไม่

กรณีที่ได้นำดอกเบี้ยเงินฝากมารวมคำนวณภาษีแล้ว ปรากฏว่าเงินได้สุทธิของท่านเกินกว่า 5 แสนบาทขึ้นไป ท่านคงต้องเสียภาษีเพิ่มเติมแน่ๆ เพราะอัตราภาษีเงินได้จะเป็นอัตรา 20-37% แต่ภาษีหัก ณ ที่จ่ายของดอกเบี้ยจะเสียเพียงอัตรา 15% ถ้าท่านมีเงินเหลือกินเหลือใช้ และอยากจ่ายภาษีให้รัฐจะนำดอกเบี้ยมารวมคำนวณภาษีก็ได้ ไม่มีใครว่า...

สำหรับกรณีที่ได้คำนวณแล้วปรากฏว่ามีเงินได้สุทธิไม่เกิน 5 แสนบาท การคำนวณหาภาษีต้องชำระนั้น เงินได้สุทธิ 1.5 แสนบาทแรกจะได้รับการยกเว้นภาษี และเงินได้สุทธิที่เกินกว่า 1.5-5 แสนบาท จะเสียภาษีในอัตรา 10% เท่านั้น ซึ่งจะทำให้ท่านมีสิทธิได้รับคืนเงินภาษีที่ถูกหักไว้บางส่วน แต่ถ้ามีเงินได้สุทธิไม่เกิน 1.5 แสนบาท ท่านมีสิทธิได้รับคืนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้ได้ทั้งหมด

ท่านผู้อ่านคงทราบแล้วว่า จะนำดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารมารวมคำนวณภาษีดีหรือไม่

หากเลือกนำดอกเบี้ยมารวมคำนวณภาษี จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด โดยผู้มีเงินได้จากดอกเบี้ยเงินฝากจะต้องนำดอกเบี้ยเงินฝากทุกบัญชีและทุกธนาคารมารวมคำนวณ ไม่สามารถเลือกจากธนาคารใดธนาคารหนึ่ง หรือบัญชีเงินฝากบัญชีใดบัญชีหนึ่งได้ กรณีที่ผู้ได้รับดอกเบี้ยเงินฝากเป็นภรรยาและสามีมีเงินได้พึงประเมิน โดยที่ทั้งคู่ได้อยู่กินกันครบตลอดปีภาษี ดอกเบี้ยเงินฝากนั้นจะต้องนำไปยื่นรวมคำนวณกับสามี

การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร หากจะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือนำมารวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่นๆ หรือจะยอมเสียภาษีโดยถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% ท่านคงต้องไตร่ตรองดูว่าวิธีใดเหมาะสมกับตนเอง สวัสดีครับ
 
http://www.posttoday.com/finance.php?id=50885



Invite your mail contacts to join your friends list with Windows Live Spaces. It's easy! Try it!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew