"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

"ว.วชิรเมธี"ติงสื่ออย่าตกหลุมพราง"สังคมเลือกข้าง" ย้ำต้องไร้อคติ ข้ามความเชื่อมาอยู่กับความจริง


วันที่ 04 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เวลา 18:34:59 น.  มติชนออนไลน์
ว.วชิรเมธี

"ว.วชิรเมธี"ติงสื่ออย่าตกหลุมพราง"สังคมเลือกข้าง" ย้ำต้องไร้อคติ ข้ามความเชื่อมาอยู่กับความจริง

"ว.วชิรเมธี"ปาฐกถาในงานครบรอบ 12 ปี สภาการหนังสือพิมพ์ ติงสื่ออย่าตกหลุมพราง"สังคมเลือกข้าง-แบ่งขั้ว" ย้ำต้องไม่มีอคติ แนะต้องก้าวข้ามความเชื่อมาอยู่กับความจริง มีความกล้าหาญทางจริยธรรม ทำเพื่อประเทศและประชาชน


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติจัดงานครบรอบ 12 ปี เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นขององค์กรสมาชิก พร้อมนิมนต์ พระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี) มาแสดงปาฐกถาเรื่อง "บทบาทสื่อกับความแตกต่างทางความคิดในสังคม"
 
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี ) ปาฐกถาว่า สภาพสังคมไทยในเวลานี้เป็นสังคมที่สุดโต่ง เลือกข้าง แบ่งฝ่ายและแยกขั้วชัดเจน เป็นสังคมที่สมาทานความเชื่อมากกว่าความจริง ซึ่งความเชื่อซึ่งไม่ใช่ความจริงนี้เอง คือที่มาของความขัดแย้ง ความสุดโต่ง การแบ่งขั้วและการเลือกข้าง ในฐานะสื่อมวลชนของประชาชนอย่างแท้จริง สื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์ต้องไม่ตกหลุมพรางตรงนี้ สิ่งหนึ่งเกิดขึ้นคือ "ความเป็นกลางทางปัญญา" ซึ่งเป็นสิ่งที่สื่อมวลชนต้องมีดุลยพินิจ มีทัศนคติที่ มีความเที่ยงและเป็นธรรม ในการพิจารณาข้อมูลข่าวสารที่ไหลมาจากทุกสารทิศ

ว.วชิรเมธี กล่าวว่า ในสถานการณ์เช่นนี้ สื่อต้องมีวิธีคิดแบบองค์รวม ทำให้เราสามารถมองทุกสิ่งทุกอย่างที่ปฏิสัมพันธ์กับทุกเรื่องราวในลักษณะเชื่อมโยงตลอดสาย ไม่เลือกข้างแบบสุดโต่ง วิธีคิดแบบสุดโต่ง เราจึงมองไม่เห็นช้างทั้งตัวหรือพิจารณาใครก็ตาม เราจึงไม่ให้ความเป็นธรรมกับสิ่งเหล่านั้นอย่างถูกต้อง สื่อจะมีวิธีคิดแบบสุดโต่งไม่ได้ เพราะเราจะได้ปัญญาแบบกระท่อนกระแท่น แบ่งเป็นเสื้อ เราก็ไปยัดเยียดความผิดให้ใครสักคนที่เราได้เห็นเขาเพียงบางแง่มุมเท่านั้นเอง

ว.วชิรเมธี กล่าวต่อว่า สถานการณ์เช่นนี้ สื่อต้องไม่มีอคติและต้องไม่เชียร์ หากเป็นพวกเดียวกันหรือเกลียดใคร จะเขียนในแง่ลบลงหรือเขียนไปเพราะไม่รู้ข้อมูลครบถ้วน ข้อมูลที่ถูกเผยแพร่ออกไปได้รับความเสียหาเรียบร้อยแล้ว แต่ต้องไม่กลัวเช่นเมื่อเจอผู้มีอิทธิพล จึงไม่กล้านำเสนอหรือไม่เข้าไปยุ่งดีกว่า นอกจากนี้สื่อต้องออกจากความใจแคบทั้งหลายเพื่อไม่ให้เกิดความลำเอียง

ว.วชิรเมธี กล่าวด้วยว่า ในการตัดสินใจสื่อต้องถือหลักธรรมาธิปไตย คือความถูกต้อง ความจริง ประโยชน์สุขของคนส่วนใหญ่ ถ้าเข้าเกณฑ์นี้แล้วให้ตัดสินใจนำเสนอข้อมูลข่าวสารนี้ไปตามนั้น เราจึงจะมีปัญาเป็นกลาง

ว.วชิรเมธี ได้มีข้อเสนอแนะบทบาทสื่อในความแตกต่างทางความคิดว่า สื่อต้องก้าวออกจากความเชื่อมาอยู่กับความจริง รายงานข่าวที่มีหลักฐานข้อมูลหนักแน่นเป็นแก่นสารอย่างตรงไปตรงมา เพื่อส่งต่อความจริงสุดท้ายให้ถึงมือประชาชนทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาและ สื่อต้องมีวิธีคิดในแบบอิทัปปัจจยตา หรือเรียนรู้ที่จะมองให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของสรรพสิ่งในลักษณะ "สิ่งนี้มี – สิ่งนี้จึงมี" หรือ "สรรพสิ่งล้วนอิงอาศัยกัน"ซึ่งจะทำให้สื่อสามารถก้าวข้ามวิธีคิดแบบสุดโต่ง แยกขั้ว เลือกข้าง ถูกผิด ดีชั่ว เหลือง แดง ได้อย่างแยบคาย ประการต่อมา สื่อต้องเป็นทั้งสื่อมวลชนผู้ยึดโยงอยู่กับอุดมคติอันดีงาม เชื่อมั่นศรัทธาในฐานข้อมูลที่เป็นความจริง ไม่ขายศักดิ์ศรีให้กับประโยชน์โสตถิผลเฉพาะหน้า และต้องเป็นทั้งวิญญูชน ผู้สามารถรักษาจรรยาวิชาชีพของสื่อเอาไว้ได้อย่างขาวสะอาดในทุกกาลเทศะ สามารถเป็นประภาคารทางปัญญาให้กับสังคมทั้งในยามปกติและยามวิกฤตได้อย่างน่าเชื่อถือ
 
"สื่อต้องมีความกล้าหาญทางจริยธรรม เห็นแก่ความจริง มากกว่าเห็นแก่ความเชื่อ ต้องเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนโดยส่วนรวมมากกว่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ที่สำคัญสื่อต้องมีสติอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้ไม่อหังการทะนงตนว่า เป็นฐานันดรที่สี่ มีอภิสิทธิ์เหมือนคนอื่น แท้ที่จริงสื่อต้องตระหนักอยู่เสมอว่า เราคือผู้รับใช้ของประชาชนผู้ต่ำต้อย ผู้เฝ้าคอยสดับเสียงแห่งความทุกข์ยาก เสียงแห่งความอยุติธรรมของประชาชน เสียงแห่งความฉ้อฉลในยศ ทรัพย์ อำนาจ ของผู้นำรัฐ แล้วนำสิ่งเหล่านั้นมาเปิดเผยเพื่อแสวงหาวิธีสร้างสรรค์พัฒนาสังคมที่อุดมสันติสุขร่วมกัน" ว.วชิรเมธี กล่าว
 
นายปราโมทย์ ฝ่ายอุประ ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กล่าวว่า ที่ผ่านมาสังคมไทยเกิดภาวะความขัดแย้งทางความคิดเห็นอย่างรุนแรงอันมีสาเหตุมาจากปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยสื่อมวลชนมักตกเป็นเป้าของการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ไม่มีความเป็นกลาง บิดเบือนข้อมูล และมีส่วนทำให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้น ในนฐานะองค์กรที่ดูแลจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ในช่วงระยะเวลา 12 ปีที่ผ่านมา และความท้าทายในการดูแลกันเองของสื่อมวลชนในอนาคต

นายปราโมทย์ กล่าวตอนท้ายว่า นอกจากนี้ภายในงานยังมีการประกาศผลรางวัลหนังสือพิมพ์ส่งเสริมจริยธรรมดีเด่น ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 3 เพื่อตรวจสอบและให้กำลังใจกับผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ พร้อมกับมอบกรอบจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ให้กับองค์กรสมาชิกใหม่ 6 องค์กรได้แก่ หนังสือพิมพ์ล้านนาไทยนิวส์ หนังสือพิมพ์หลักเมือง หนังสือพิมพ์เสรีชนนิวส์ หนังสือพิมพ์ตงฮั้ว หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการรายวัน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1246707459&grpid=01&catid=01

 




เพิ่มแผนที่และทิศทางไปสู่งานปาร์ตี้ของคุณ แสดงเส้นทาง!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew