วิจัยคำ-ข้อความ"ยอดนิยม"ใช้เป็น"รหัสผ่าน"
โลกเทคโนโลยีเวลานี้ โดยเฉพาะบนเว็บไซต์มักนิยมกำหนดให้ผู้ใช้ตั้งรหัสผ่าน เพื่อความปลอดภัย เรื่องนี้มีการกระตุ้นให้เห็นความสำคัญ เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลสำคัญของหน่วยงาน องค์กร ไม่สามารถหลุดลอด หรือถูกฉกจากโลกไซเบอร์สเปซ ออกไปถูกหาผลประโยชน์ กระนั้น แฮคเกอร์ก็ยังสามารถปฏิบัติงานทุจริตของตนได้ อาจจะเพราะความหละหลวมของผู้ใช้ด้วย
กิตติพล อัจฉริยากรชัย เขียนไว้ในคอมพิวเตอร์ ทูเดย์ บอกไว้ว่า เว็บไซต์ส่วนใหญ่กำหนดให้ผู้ใช้ตั้งรหัสผ่านให้ปลอดภัยโดยอิงจากจำนวนอักษรเป็นหลัก ซึ่งไม่ค่อยจะได้ผลเท่าไร เพราะมีการใช้ข้อความง่ายๆ ตั้งเป็นรหัสผ่านซึ่งเดาง่ายเหลือเกิน แต่ผู้ใช้จำนวนมากก็ไม่สนใจ นั่นเป็นที่มาของการเก็บสถิติรวบรวมเอารหัสผ่านกว่า 28,000 รายการ ที่ถูกขโมยจากเว็บไซต์ในสหรัฐ โดยบริษัท Errata Security มาวิเคราะห์ ซึ่งผลลัพธ์เชื่อว่าไม่ต่างจากนิสัยคนไทยเท่าไร
โดยรหัสผ่านยอดฮิตที่คนส่วนใหญ่ตั้งกันนั้น.. เดาได้ง่าย โดยเฉพาะ...
16% ใช้ชื่อของตัวเองเป็นรหัสผ่าน บางทีก็อาจเปลี่ยนเป็นชื่อของลูกๆ หรือคนใกล้ชิดในครอบครัว เช่น สามี หรือภรรยา เป็นต้น
14% ใช้รหัสผ่านแบบชุดแป้นพิมพ์ที่ติดกัน เช่น 1234, 123456, 1234567 หรือ qwerty เป็นต้น
5% ใช้ชื่อดาราหรือตัวการ์ตูนโปรดมาแทนรหัสผ่าน
4% คนที่เรียบง่ายเหล่านี้ใช้รหัสผ่านว่า password -- ตรงความหมายดี
3% ใช้ถ้อยคำแสดงอารมณ์ความรู้สึก เช่น whatever, yes, no, iloveyou, ihateyou เป็นต้น
สรุป 42% ของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตนั้น ใช้รหัสผ่านที่ไม่ปลอดภัย และเดาได้ง่ายมาก ซึ่งจะนำพาไปสู่ปัญหาอื่นๆ ตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขโมยข้อมูล หรือสร้างความเสียหายด้านการเงินจากแฮคเกอร์ที่ต้องการรหัสผ่านเป็นใบเบิกทาง
งานวิจัยชิ้นนี้แนะนำว่า รหัสผ่านที่ดีควรยาวเกิน 8 ตัวอักษร และมีทั้งตัวหนังสือ ตัวเลข และสัญลักษณ์ผสมกัน.. ที่สำคัญอย่าตั้งให้ยากจนเกินจำได้ เลยต้องติดรหัสผ่านเอาไว้ข้างๆ มอนิเตอร์ด้วยโพสท์อิต .. เพราะนั่นยิ่งอันตรายเข้าไปใหญ่
หน้า 26
กิตติพล อัจฉริยากรชัย เขียนไว้ในคอมพิวเตอร์ ทูเดย์ บอกไว้ว่า เว็บไซต์ส่วนใหญ่กำหนดให้ผู้ใช้ตั้งรหัสผ่านให้ปลอดภัยโดยอิงจากจำนวนอักษรเป็นหลัก ซึ่งไม่ค่อยจะได้ผลเท่าไร เพราะมีการใช้ข้อความง่ายๆ ตั้งเป็นรหัสผ่านซึ่งเดาง่ายเหลือเกิน แต่ผู้ใช้จำนวนมากก็ไม่สนใจ นั่นเป็นที่มาของการเก็บสถิติรวบรวมเอารหัสผ่านกว่า 28,000 รายการ ที่ถูกขโมยจากเว็บไซต์ในสหรัฐ โดยบริษัท Errata Security มาวิเคราะห์ ซึ่งผลลัพธ์เชื่อว่าไม่ต่างจากนิสัยคนไทยเท่าไร
โดยรหัสผ่านยอดฮิตที่คนส่วนใหญ่ตั้งกันนั้น.. เดาได้ง่าย โดยเฉพาะ...
16% ใช้ชื่อของตัวเองเป็นรหัสผ่าน บางทีก็อาจเปลี่ยนเป็นชื่อของลูกๆ หรือคนใกล้ชิดในครอบครัว เช่น สามี หรือภรรยา เป็นต้น
14% ใช้รหัสผ่านแบบชุดแป้นพิมพ์ที่ติดกัน เช่น 1234, 123456, 1234567 หรือ qwerty เป็นต้น
5% ใช้ชื่อดาราหรือตัวการ์ตูนโปรดมาแทนรหัสผ่าน
4% คนที่เรียบง่ายเหล่านี้ใช้รหัสผ่านว่า password -- ตรงความหมายดี
3% ใช้ถ้อยคำแสดงอารมณ์ความรู้สึก เช่น whatever, yes, no, iloveyou, ihateyou เป็นต้น
สรุป 42% ของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตนั้น ใช้รหัสผ่านที่ไม่ปลอดภัย และเดาได้ง่ายมาก ซึ่งจะนำพาไปสู่ปัญหาอื่นๆ ตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขโมยข้อมูล หรือสร้างความเสียหายด้านการเงินจากแฮคเกอร์ที่ต้องการรหัสผ่านเป็นใบเบิกทาง
งานวิจัยชิ้นนี้แนะนำว่า รหัสผ่านที่ดีควรยาวเกิน 8 ตัวอักษร และมีทั้งตัวหนังสือ ตัวเลข และสัญลักษณ์ผสมกัน.. ที่สำคัญอย่าตั้งให้ยากจนเกินจำได้ เลยต้องติดรหัสผ่านเอาไว้ข้างๆ มอนิเตอร์ด้วยโพสท์อิต .. เพราะนั่นยิ่งอันตรายเข้าไปใหญ่
หน้า 26
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01epe02220752§ionid=0147&day=2009-07-22
--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.thaiyogainstitute.com
http://www.thaihof.org
http://www.parent-youth.net
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://dbd-52.hi5.com
--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.thaiyogainstitute.com
http://www.thaihof.org
http://www.parent-youth.net
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://dbd-52.hi5.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น