"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เจาะตลาดขายส่ง "เจียงหนาน" เมืองหลวงผัก-ผลไม้แห่งนครกว่างโจว

 



วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4187  ประชาชาติธุรกิจ


เจาะตลาดขายส่ง "เจียงหนาน" เมืองหลวงผัก-ผลไม้แห่งนครกว่างโจว





"กวางตุ้ง" เป็นมณฑลที่มีมูลค่า GDP มากที่สุดของประเทศจีน หรือ 3.57 ล้านล้านหยวน เมื่อเทียบกับ GDP ของประเทศไทย ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1.84 ล้านล้านหยวน มีผลผลิตรวมทางอุตสาหกรรม การค้าระหว่างประเทศ การนำเข้า-ส่งออก การค้าปลีกสินค้าบริโภค และรายรับจากการท่องเที่ยวมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ โดยมีเขตเศรษฐกิจพิเศษถึง 3 แห่งที่ เมืองเสิ่นเจิ้น จูไห่ และซัวเถา ถือเป็น growth engine หลักของเศรษฐกิจจีน รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการแสดงสินค้านานาชาติระดับโลกของจีน ส่งผลทำให้ประชากรในมณฑลกวางตุ้งมีรายได้ต่อหัวสูงเป็นอันดับ 6 ของประเทศ

ใน ปี 2552 การนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทยของมณฑลกวางตุ้ง จะยังคงรักษาระดับใกล้เคียงกับปี 2551 สำหรับผลไม้และยางพารามีปริมาณการนำเข้ามากขึ้น เนื่องจากปริมาณความต้องการในการบริโภคผลไม้และการใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบ เพิ่มสูงขึ้น โดยทั่วไปมณฑลกวางตุ้งมีปริมาณการนำเข้าผลไม้จากกลุ่มอาเซียนคิดเป็น 67.9% ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด และมีปริมาณการนำเข้าผลไม้จากไทยมากถึง 83.4% ของปริมาณการนำเข้าผลไม้จากอาเซียน หรือคิดเป็นสัดส่วน 56.6% ของปริมาณการนำเข้าผลไม้ทั้งมณฑล

เจาะเส้นทางขนส่งผลไม้จากไทยสู่จีน

ปัจจุบัน ผลไม้ไทยร้อยละ 70 จะถูกส่งไปจำหน่ายที่ตลาดขายส่งผลไม้"เจียงหนาน" นครกว่างโจว โดยอาศัยเส้นทางการขนส่ง 4 ช่องทาง ได้แก่ สายที่ 1 เข้าฮ่องกงผ่านด่านทางบกเหวินจิ่นตู้ (เสิ่นเจิ้น) ไปยังตลาดค้าส่งผักผลไม้เจียงหนาน ใช้เวลาขนส่ง ประมาณ 4 วัน 4 ชั่วโมง สายที่ 2 ระยะเวลาขนส่งกรุงเทพฯ-เจียงหนาน เข้าฮ่องกงผ่านท่าเรือหลานสือ (ฝอซาน) ไปยังตลาดค้าส่งผักผลไม้เจียงหนาน ใช้เวลาขนส่งประมาณ 4 วัน 10 ชั่วโมง

สายที่ 3 เข้าฮ่องกงผ่านท่าเรือฮวางผู่ (กว่างโจว) ใช้เวลาขนส่งประมาณ 4 วัน 6 ชั่วโมง 30 นาที และสายที่ 4 ขนส่งสินค้าจากกรุงเทพฯไปยังตลาดเจียงหนาน โดยไม่ผ่านฮ่องกง ใช้เวลาในการขนส่งประมาณ 4 วัน 4 ชั่วโมง สำหรับเส้นทางจากกรุงเทพฯไปท่าเรือเสอโข่ว มีต้นทุนค่าขนส่งโดยรวมประมาณ 66,500-73,500 บาท (ตู้ 40 ฟุต) ตลาดค้าส่งผักผลไม้ เจียงหนานมีการซื้อขายผักเฉลี่ยวันละ 10,000 ตัน ผลไม้วันละ 5,000 ตัน โดยตลาดแห่งนี้เป็นตลาดค้าส่งไปยังต่างมณฑลทั่วประเทศจีน และตลาดค้าส่งแก่ผู้ประกอบการค้าส่ง-ปลีกในมณฑลกวางตุ้ง ผ่านช่องทางหาบเร่ แผงลอย ร้านค้าท้องถิ่น ชุมชน และโมเดิร์นเทรด

สำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตร (สศก.) ได้รวบรวมข้อมูลการส่งออกผลไม้สดจากไทยไปจีนในปี 2550 คิดเป็นปริมาณ 294,888 ตัน มูลค่า 4,955 ล้านบาท ปี 2551 ปริมาณ 368,290 ตัน มูลค่า 9,253 ล้านบาท และปี 2552 ปริมาณ 600,705 ตัน มูลค่า 9,420 ล้านบาท ในขณะที่บริษัท ตลาดค้าส่งผักและผลไม้ เจียงหนาน จำกัดเองได้รวบรวมสถิติผลไม้ไทยในปี 2550 มีปริมาณ 286,210 ตัน มูลค่า 13,758.30 ล้านบาท ปี 2551 ปริมาณ 335,140 ตัน มูลค่า 15,799.10 ล้านบาท และปี 2552 ปริมาณ 18,690 ตัน มูลค่า 20,473.90 ล้านบาท

อุปสรรคผลไม้ไทยในตลาดจีน

นาง อุไร สุวรรณวงศ์ กงสุลฝ่ายการเกษตร ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว กล่าวว่า ปัญหาอุปสรรคของการค้าผลไม้ไทยในประเทศจีน ในด้านผู้ส่งออกพบว่าการเสียค่าใช้จ่ายในการออกแบบเหมารวม ทำให้ไม่มีหลักฐานในการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ปัญหาการค้าแบบฝากขาย ทำให้ผู้ค้าฝ่ายไทยเสียเปรียบ มีการตั้งราคากลางในการประเมิน VAT 13% สูงกว่าราคาจริงที่ขายได้ ซึ่งฝ่ายไทยคงต้องเปิดการเจรจากับศุลกากรมณฑลกวางตุ้ง

นอกจากนี้ หน่วยงานตรวจสอบสุขอนามัย CIQ ยังแจ้งว่า พบศัตรูพืชที่ยังมีชีวิต เช่น มดดำ (มังคุด) เพลี้ยแป้ง (ลำไย) เพลี้ยหอย (ทุเรียน) เป็นศัตรูพืชกักกันของจีน รวมทั้งสูงกว่าที่จีนกำหนด และมีปัญหาการปลอมแปลงแหล่งกำเนิดสินค้า โดยมีผู้นำเข้าผลไม้เวียดนามแล้วแอบอ้างว่าเป็นผลไม้ไทย ทางด่านผิงเสียง มณฑลกว่างสี เนื่องจากเวียดนามได้รับอนุญาตให้นำเข้าผลไม้ได้เพียง 8 ชนิด ขณะที่ผลไม้ไทยได้รับอนุญาตมากถึง 23 ชนิด ด้านผู้ขายพบว่าได้นำผลไม้ชาติอื่นมาจำหน่ายในนามผลไม้ไทย เนื่องจากได้ราคาดีกว่าแต่คุณภาพไม่ดี ทำให้เสียชื่อผลไม้ไทย

ปัญหา เส้นทางขนส่งโลจิสติกส์ที่ยังมีปัญหาการกระจุกตัวของจุดนำเข้าสินค้ามุ่ง กระจายสินค้าสู่ภาคเหนือและภาคตะวันตกของจีน ผู้ส่งออกไทยควรเลือกใช้เส้นทางโลจิสติกส์ใหม่ ๆ เช่น เส้นทางขนส่งทางบก ได้แก่ สาย R3E ประมาณ 2,272 กิโลเมตร (กทม.-เชียงราย-คุนหมิง-เฉิงตู) กับสาย R9 ประมาณ 1,150 กิโลเมตร (มุกดาหาร-ลาว-เวียดนาม-ด่านผิงเสียง กว่างสี) เส้นทางขนส่งทางน้ำ-ท่าเรือ เสอโข่ว และการขนส่งทางอากาศ

แนะเปิดตลาดให้ถูกใจคนกวางตุ้ง

ผล ไม้ที่เป็นที่นิยมของชาวจีน ได้แก่ทุเรียน ลำไย มังคุด กล้วย คู่แข่งสำคัญในการส่งออกผลไม้เมืองร้อนของไทย คือ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และไต้หวัน นอกจากทุเรียน มังคุด ลำไย ที่เป็นสินค้าหลักของไทยแล้ว กลุ่มผลไม้ที่มีแนวโน้มเติบโตดีในตลาดจีน คือ กล้วยไข่ เงาะ ชมพู่ มะขามหวาน ขนุน ส้มโอ มะม่วง สละ ผลไม้ไทยในตลาดจีนที่ยังไม่มีคู่แข่ง คือ ทุเรียน ส่วนกล้วยไข่ที่รู้จักในชื่อ "หวงตี้เจียว" หมายถึง "กล้วยจักรพรรดิ" ขณะนี้กำลังเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมในวงกว้างขึ้น

ส่วนลองกอง ตลาดจีนยังไม่ค่อยรู้จัก แต่ก็เริ่มมีผู้นำเข้ามาขายและผู้บริโภคที่ได้ทดลองชิมแล้ว คนจีนส่วนใหญ่ชอบลองกอง แต่ยังมีปัญหาในเรื่องของอายุในการเก็บรักษาค่อนข้างสั้นและมีปัญหาเชื้อรา ที่ผิว ทำให้อายุการวางขายสั้น ปัจจุบันมะปราง แก้วมังกร แตงโม แคนตาลูป และพุทรา ยังไม่อยู่ในรายชื่อผลไม้ไทยที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าจีน แต่เป็นผลไม้ที่มีศักยภาพ

ผลการสำรวจรสนิยมการรับประทานผลไม้ของ ผู้บริโภคชาวจีน มณฑลกวางตุ้ง พบว่าร้อยละ 80 ชอบทานผลไม้สด ร้อยละ 20 ชอบทานผลไม้แห้งและแปรรูป คนกวางตุ้งนิยมซื้อผลไม้ทั้งลูกมากกว่าการแกะเนื้อ รวมทั้งนิยมรับประทานผลไม้รสหวาน ด้านพฤติกรรมผู้บริโภคชาวจีน มณฑลกวางตุ้ง ที่มีต่อผลิตภัณฑ์สินค้าแปรรูปพบว่า คนกวางตุ้งนิยมสีสันสวยงามโดยเฉพาะสีแดง ทอง เนื่องจากมีความหมายที่ดี เป็นสิริมงคล และสามารถซื้อเป็นของฝากของขวัญในช่วงเทศกาลสำคัญต่าง ๆ ของจีนได้


หน้า 7
http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02inv04250253&sectionid=0203&day=2010-02-25

--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
http://www.deepsouthwatch.org/node/687



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew