วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4187 ประชาชาติธุรกิจ 4 อรหันต์ กทช.ปักธงสางปม "3G-วิทยุชุมชน-ทีวีดาวเทียม" ภารกิจ สำคัญ ๆ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งกับการออกใบอนุญาตบริการโทรศัพท์มือถือ 3G ของอรหันต์ "กทช." ต้องสะดุดหยุดลง เพื่อรอ 4 กทช.ใหม่เข้ามาสานต่อ หลังกระบวนการสรรหาสำเร็จลุล่วงเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งในระหว่างก่อนเริ่มทำงานเป็นทางการ กลับมีข่าวลือข่าวปล่อยสารพัดเกี่ยวกับคุณสมบัติของว่าที่ กทช.ใหม่ ซึ่งโดนกันถ้วนหน้า กระทั่งเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2553 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้รับหนังสือแจ้งเรื่องการแต่งตั้งกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จากสำนักนายกรัฐมนตรี โดยประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีระบุว่า ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ จำนวน 7 ราย ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2547 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 8 ต.ค. 2547 นั้น เนื่องจากมีกรรมการ ได้พ้นจากตำแหน่งโดยการ ลาออก 1 ราย และโดยวิธีจับสลากออกจากตำแหน่ง 3 ราย และในการประชุม วุฒิสภา ครั้งที่ 16 (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2552 ที่ประชุมได้พิจารณาลงมติเลือกกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จำนวน 4 ราย และได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา โปรดเกล้าฯแต่งตั้งต่อไปแล้ว ดังนี้ 1.นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร 2.พันเอกนที ศุกลรัตน์ 3.นายบัณฑูร สุภัควณิช 4.รองศาสตราจารย์พนา ทองมีอาคม บัดนี้ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ 4 รายดังกล่าวตามที่เสนอ ตั้งแต่วันที่ 18 ก.พ. 2553 เป็นต้นไป เป็นอันว่า 4 กทช.ใหม่ไม่ใช่ "ว่าที่" อีกต่อไป และจะต้องเข้ามาทำงานร่วมกับอีก 3 กรรมการ กทช.เดิม ได้แก่ นายประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ นายสุชาติ สุชาติเวชภูมิ และ นายสุธรรม อยู่ในธรรม ก่อนหน้านี้ นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า มีหลายเรื่องที่ตั้งใจอยากเข้ามาทำ อาทิ การขยายบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ให้ทั่วถึง ทั่วประเทศให้มากที่สุด และเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อลดช่องว่างระหว่างคนในเมืองกับคนชนบท ซึ่งเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย เช่น 3G ตอบโจทย์ในแง่ความรวดเร็วในการกระจายบริการ แต่ในเรื่องราคา คาดว่าในระยะแรกคงไม่ถูกนัก "ภาระหน้าที่ในฐานะ กทช.มีอะไรให้ทำอีกเยอะมาก ๆ ซึ่ง กทช.ชุดเก่ากับชุดใหม่ก็คงต้องหารือกัน ขณะเดียวกัน เพื่อให้ภาพรวมด้านการสื่อสารของประเทศพัฒนาอย่างเป็นเอกภาพ และเดินหน้าได้อย่างรวดเร็ว ก็ควรต้องประสานการทำงาน ร่วมกับรัฐบาล เพราะรัฐบาลก็มีนโยบายที่จะเพิ่มโอกาสของประชาชนด้วยเทคโนโลยี อยู่แล้ว" ด้าน พันเอกนที ศุกลรัตน์ 1 ในคณะกรรมการ กทช.ชุดใหม่ กล่าวถึงความตั้งใจในการทำงานในฐานะ กทช.ว่ามี 3 เรื่องด้วยกัน ได้แก่เรื่องวิทยุชุมชน, เคเบิลทีวี และการออกใบอนุญาต 3G ซึ่งกรณี 3G รวมถึงไวแม็กซ์ ซึ่งต้องเร่งดำเนินการ เพราะประเทศไทยจำเป็นต้องมีการพัฒนา และไม่สามารถปฏิเสธความเป็นไปของเทคโนโลยีได้ ถ้าจะมีข้อจำกัดในด้านใดบ้าง คณะกรรมการ กทช.ต้องปรึกษาหารือกัน "เรื่องวิทยุชุมชนได้มีการออก หลักเกณฑ์ให้แจ้งความประสงค์เพื่อให้วิทยุชุมชนดำเนินการต่อไปได้ โดยรับเงื่อนไข 2-3 ข้อ เช่น ห้ามใช้วิทยุเพื่อประโยชน์ทางการเมือง หรือจาบจ้วงล้มล้างสถาบัน เป็นต้น ซึ่ง ทุกคนก็ยอมรับกติกา เหลือแต่กระบวนการบังคับใช้ ก.ม. ซึ่งผมเคยเป็นคณะอนุกรรมการทำเรื่องนี้ เข้าใจดีว่าปัญหา อยู่ตรงไหน เมื่อต้องเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ กทช.ก็จะผลักดัน เพราะวิทยุชุมชนมีตั้ง 6,600 สถานี ถ้าไม่ชัดเจนคงไม่ได้ ส่วนกรณีเคเบิลทีวี คาดว่าเรื่องคอนเซ็ปต์ ช่องรายการ และค่าใบอนุญาตคงเสร็จ เร็ว ๆ นี้ กรณีทีวีผมไม่เห็นด้วย ที่ กทช. ชุดที่แล้วบอกว่า ทีวีดาวเทียมไม่รวมอยู่ในประกาศเคเบิลทีวี" หน้า 28 |
--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
http://www.deepsouthwatch.org/node/687
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น