'สหายกาล' อดีตสมาชิก พคท. เขตงานอีสานใต้ เสียชีวิตแล้ว
http://www.prachatai.com/journal/2010/02/27902 Sun, 2010-02-28 19:20
เมื่อ เช้าวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 เวลาประมาณ 9.45 น. ลุงกาล หรือ นายพรม บูรณชน ได้เสียชีวิตอย่างสงบ ศิริอายุได้ 83 ปี โดยได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่หมู่บ้านแก่งศรีโคตร ต.โนนก่อ อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี
ประวัติลุงกาลโดยย่อ
พรม บูรณชน (สหายกาล)
วันวานแจ่มกระจ่างอยู่กลางใจ
โดย โกเมศ มาสขาว
ในค่ำคืนที่ลมพายุหอบฝนห่าใหญ่มาจากฝั่งประเทศลาว ลุงพรมยังคงบรรจงจิบน้ำชาจากจอกกระเบื้องเคลือบด้วยท่าทีที่สงบเยือกเย็น และบอกเล่าเรื่องราวที่ผ่านพ้นมาในชีวิตของท่านผ่านน้ำเสียงที่แหบพร่า แข่งกับเสียงสายฝนที่ตกลงมากระทบหลังคาสังกะสีดังครืนโครม…ไม่มีทีท่าว่าจะ ยุติลง
ผมพิจารณาดูใบหน้าชราและดวงตาขุ่นมัวคู่นั้น ภาพลักษณ์ภายนอกของลุงพรมไม่ต่างไปจากผู้เฒ่าผู้กรำชีวิตที่ผมเคยพบเห็นทั่ว ไป…คนในวัยเดียวกันหลายคนบ้างก็สานตะกร้ากระบุง นั่ง ๆ นอน ๆ อยู่กับบ้านให้ลูกหลานเลี้ยงดู หรือไม่ก็ล้มหมอนนอนเสื่อป่วยกระเสาะกระแสะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ …ทว่าลุงพรมที่ผมรู้จักนั้น เป็นชายชราร่างเล็กวัย 80 ปีที่ผมเปลี่ยนจากสีดอกเลาเป็นขาวโพลน คล่องแคล่วและไม่ยอมอยู่นิ่ง วันทั้งวันผู้เฒ่ายังคงกรำงานหนัก ทั้งขุดดินทำไร่ ทั้งปีนต้นมะขามที่ปลูกไว้หลายสิบไร่เพื่อเก็บฝักขาย ด้วยความที่เป็นคนมีอัธยาศัยดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และชอบช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ ทำให้เป็นที่รักใคร่ของชาวบ้านโดยทั่วไป นั่นเป็นเพียงภาพปัจจุบันของชายชรา – หัวหน้าครอบครัวที่มีเพียงหลานสาวอ่อนวัยและภรรยาวัยใกล้เคียงกัน สมาชิกคนหนึ่งของหมู่บ้านแก่งศรีโคตร หมู่บ้านชายแดนในอำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ที่ยังคงเลี้ยงชีพด้วยการทำไร่มะขามหวาน และใช้ชีวิตเฉกเช่นชาวบ้านโดยทั่วไป
สิ่งที่น่าสนใจในชีวิตของท่านไม่ใช่มีอยู่เพียงเท่านี้ หากแต่วันวัยที่ผ่านพ้นมานั้นเป็นดั่งเบ้าหลอมที่ยิ่งใหญ่และมีคุณค่าต่อ สังคมและส่วนรวมที่ท่านได้ปฏิบัติเรื่อยมานับจากอดีตจวบปัจจุบัน …ลุงพรมคือผู้พลีกายใจให้กับขบวนการต่อสู้ภาคประชาชนมากว่า 70 ปี เสียสละถึงขนาดที่ต้องสูญเสียลูกชายให้แก่ขบวนการปฏิวัติไปถึง 3 คน
…ลุงพรม ผู้ปฏิบัติงานรุ่นแรกที่ร่วมบุกเบิกพื้นที่งานปฏิวัติร่วมกับพรรค คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในขณะที่ตัวเองมีอายุเพียง 15 ปีเท่านั้น ทั้งยังได้เข้าร่วมกับกองอาสาสมัครต่อต้านญี่ปุ่นของ พคท. ไปร่วมรบขับไล่ผู้รุกรานในปลายมหาสงครามเอเชียบูรพา ในปี 2488 ที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับแนวร่วมอื่น ๆ จนสามารถขับไล่ญี่ปุ่นออกจากประเทศไทยไปได้ เพียงเท่านี้ก็นับว่าน่าสนใจอยู่ไม่น้อย หากแต่เกร็ดชีวิตที่โลดโผนโจนทะยาน ที่ลุงพรมได้ประจญประจัญมานั้นยิ่งกว่านิยายกำลังภายในเรื่องยาว ทั้งดุเด็ดเผ็ดมันและยิ่งใหญ่ควรค่าแก่การศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการเรียน รู้ประวัติศาสตร์ภาคประชาชนอย่างแท้จริง
ในปี 2483 เด็กชายวัย 13 ปีจากจังหวัดปราจีนบุรีได้แอบหนีขึ้นรถไฟเข้ามาเสี่ยงโชคในกรุงเทพฯเพียง ลำพัง นับจากนั้นอีกสองปีให้หลังพรรคคอมมิวนิสต์ไทยถูกก่อตั้งขึ้นในวันที่ 1 ธันวาคม 2485 ( เพิ่มคำว่าแห่งประเทศไทย ในปี 2495 ) เขาได้เข้าไปเป็นผู้ปฏิบัติงานจัดตั้งแนวร่วมกรรมกรในเขตเมืองอย่างเต็มตัว ในช่วงเวลานั้นสงครามโลกครั้งที่2 ยังคงครุกรุ่นอยู่ทั่วไป เกิดความวุ่นวายโกลาหลทุกหย่อมย่าน ทั้งภัยผู้รุกรานและทุพภิกขภัยโถมซัดกระสานซ่านเซ็นไปทั่ว ดังนั้นพรรคจึงมีนโยบายหลักภายใต้คำขวัญ “ขับไล่จักรพรรดินิยมญี่ปุ่น ถอนตัวออกจากสงครามรุกราน ” พรม บูรณชน ได้อาสาสมัครเข้าเป็นกองอาสาต่อต้านญี่ปุ่นรุ่นแรก มีกองกำลังเพียง 250 คนเท่านั้น ไปร่วมรบขับไล่ญี่ปุ่นที่จังหวัดกาญจนบุรีจนญี่ปุ่นพ่ายแพ้และถอนตัวออกไปใน ปี 2488
ต่อจากนั้นลุงพรมก็ได้เดินทางไปทั่วประเทศ เพื่อบุกเบิกขยายพื้นที่เขตงานของพรรค โดยการแฝงตัวไปเป็นช่างทำรองเท้า ปลุกระดมและให้การศึกษามวลชนจนสามารถควบคุมเป็นพื้นที่เคลื่อนไหวปลอดภัย พรรคจึงจะส่งหน่วยงานอื่นเข้าไปรับช่วงแทน ส่วนลุงพรมก็จะออกเดินทางไปบุกเบิกพื้นที่อื่นต่อไปเรื่อย ๆ เงินเก็บมีเท่าไหร่ก็จะส่งเข้าสนับสนุนพรรคจนแทบจะไม่เหลือไว้ใช้ส่วนตัวเลย
ในประวัติศาสตร์ยุคเริ่มต้นการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์ไทย แทบทุกที่และทุกครั้ง ลุงพรม บูรณชน จะมีส่วนร่วมในการบุกเบิกพื้นที่ตลอดจนจัดตั้งมวลชน ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านคูซอด จังหวัดศรีสะเกษ ภูพานหรือเขตงานอีสานใต้ลุงพรมก็ไม่เคยรู้สึกเหนื่อยหน่าย
กระทั่งในปลายปี 2496 สถานการณ์ทางการเมืองพลิกผัน พรรคจึงมีมติให้ผู้ปฏิบัติงานในแต่ละเขตงานอำพรางตนเองโดยการแต่งงานสร้าง ครอบครัวกับคนในพื้นที่เพื่อไม่ให้เสียลับ ลุงพรมจึงได้แต่งงานกับหญิงสาวชาวบ้านคนหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี กระนั้นอยู่กินกันได้ไม่ถึง 2 เดือนก็เกิดการเสียลับ ต้องหลบหนีออกจากหมู่บ้านในค่อนดึก ปล่อยให้ภรรยาอยู่บ้านตามลำพังกว่า 1 ปีเต็มจึงได้ส่งคนให้ไปรับเข้ามาอยู่กรุงเทพฯด้วย ชีวิตครอบครัวดำเนินไปอย่างยากลำบากเพราะลุงพรมต้องออกทำงานให้กับพรรคอยู่ ตลอดเวลา เมื่อเกิดการเสียลับก็จะย้ายไปทำงานที่อื่นโดยไม่สามารถพาภรรยาไปอยู่ด้วย ได้ เป็นเช่นนี้อยู่หลายครั้งหลายหน จนกระทั่งครั้งสุดท้ายพรรคได้ส่งลุงพรมไปเรียนต่อโรงเรียนการเมืองการทหารใน ประเทศจีน ในขณะที่ทั้งสองมีลูกชายด้วยกัน 4 คน
ภรรยาจึงได้พาลูกน้อยทั้ง 4 ของนางกลับไปอยู่บ้านตามเดิม …ทุกข์ซ้ำกรรมซัด เมื่อการก่อสร้างเขื่อนสิรินธรแล้วเสร็จลง พื้นที่ที่เคยเป็นหมู่บ้านไร่นาทั้งหมดถูกน้ำท่วมจมหายอยู่ใต้ท้องอ่าง จำเป็นต้องอพยพโยกย้ายไปอาศัยอยู่กับคนในหมู่บ้านอื่น นางต้องหาผักหาปลาหาบเข้าไปแลกข้าวถึงฝั่งประเทศลาวมาจุนเจือครอบครัว หาเลี้ยงลูกน้อยอยู่อย่างอัตคัดขัดสน กระทั่งลุงพรมกลับมาจากประเทศจีน จึงได้พาสมัครพรรคพวกออกตามหาภรรยาจนพบ และพากลับเข้าไปร่วมทำงานปฏิวัติในเขตป่าเขาด้วย
นี่คือเกร็ดชีวิตโดยสังเขปของคน ๆ หนึ่ง ที่ชั่วชีวิตอุทิศพลีให้กับการทำงานโดยไม่เคยนึกถึงประโยชสุขส่วนตัวเลย ลูกชายทั้ง 4 ของลุงพรมถูกส่งไปเรียนในโรงเรียนการเมืองการทหารที่ อต.4 (อีสานใต้) เมื่อจบออกมาก็แยกย้ายไปเป็นทหารปฏิวัติรับใช้พรรคและประชาชนตามแนวทางที่ คิดว่าถูกต้อง โดยที่ลูกชาย 3 ใน 4 คนนั้นไม่มีโอกาสได้กลับมาพบหน้าพ่อแม่อีกเลย ทั้งหมดเสียสละชีวิตอย่างสมเกียรติในสมรภูมิรบ พรรคจึงได้ส่งลูกชายคนเล็กมาอยู่ดูแลแม่ในทับผู้เฒ่าเป็นการทดแทน
นับตั้งแต่ปี 2521-2525 นั้น สถานการถึงขั้นวิกฤติสูงสุด เกิดสงครามระหว่างพรรคพี่พรรคน้องเวียดนาม-กัมพูชา เป็นชนวนให้เกิดความขัดแย้งในระดับสากลโดยทั่วไป เป็นผลให้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยไม่สามารถดำรงเคลื่อนไหวอยู่ในป่าได้อีกต่อไป
ในปี 2525 ลุงพรมจึงได้พาภรรยาออกมาจากป่า มาทำการเคลื่อนไหวอยู่ในเขตเมือง และถูกจับกุมได้ในปี 2527 ถูกคุมขังอยู่ในศูนย์การุณยเทพ 1 ปีเต็ม จึงถูกปล่อยตัวออกมาในปี 2528
ทันทีที่ได้รับอิสระภาพ ลุงพรม บูรณชน ได้พาภรรยากลับมาที่จังหวัดอุบลราชธานีทันที มาซื้อที่ติดลำห้วยทรายในบริเวณหมู่บ้านแก่งศรีโคตร โดยได้รับการช่วยเหลือเรื่องการเงินจากน้องสาว จากนั้นก็เริ่มลงมือขุดถางพื้นที่รกร้างหามรุ่งหามค่ำ ปลูกมะละกอ มะม่วง และมะขามหวาน ดำรงชีวิตด้วยความมุ่งมั่นอดทนมาจนถึงปัจจุบัน
แม้ว่าวันเวลาของการปฏิวัติประชาชาติประชาชนจะล่วงเลยมาหลายสิบปีแล้ว ก็ตาม กระนั้นลุงพรมยังคงใส่ใจการเมืองและความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชนเสมอมา ปัจจุบันเข้าร่วมกับสมัชชาคนจน ทำการต่อสู้เรียกร้องในแนวทางสันติวิธี กรณีเขื่อนปากมูลและเขื่อนสิรินธรเรื่อยมา
อดีตกาลได้ล่วงเลยผ่านไปแล้ว ทว่าภาพความทรงจำ ทั้งที่งดงามและเจ็บปวดก็ยังคงว่ายเวียนอยู่ในความทรงจำของ พรม บูรณชนและครอบครัวอยู่เสมอ …และสหายกาลผู้นั้น…ชายหนุ่มผู้หยัดยืนถือปืนบรรเลงเพลงรบบนยอดภูในวันวาน ผู้ที่ยึดมั่นในแนวทางการรับใช้ประชาชนด้วยชีวิตจิตใจที่เสียสละกล้าหาญ พร้อมยอมพลีทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อสร้างสะพานให้ผู้คนได้ก้าวข้ามไปสู่สังคม อุดมธรรม…ในวันนี้เขาคือชายชราวัย 80 ขวบปี (2550) ที่เส้นผมขาวโพลนไปทั้งศีรษะ ผู้ที่ยังคงตรากตรำทำงานในไร่ตั้งแต่เช้ายันค่ำ และเฝ้ามองความเป็นไปของสังคมด้วยความมุ่งหวังที่จะได้เห็นความเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นสักครั้งในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่
กำหนดการ
สวดพระอภิธรรมตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม 2553 เวลา 18.00 น.
เผาศพในวันที่ 4 มีนาคม 2553 เวลา 16.00 น. ที่วัดแก่งศรีโคตร
เส้นทางมายังสถานที่จัดงานบำเพ็ญกุศล
ออกเดินทางจากจังหวัดอุบลราชธานี ตามทางหลวงหมายเลข 217 มายังด่านชายแดนช่องเม็ก อ.สิรินธร ระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร เลี้ยวขวา ไปตามทางหลวงหมายเลข 2396 อีกประมาณ 15 กิโลเมตร ก็จะถึงหมู่บ้านแก่งศรีโคตร อันเป็นสถานที่ตั้งศพ
ติดต่อประสานงาน
นายสมบัติ บูรณชน ( สหายนิดร ลูกชายของลุงกาล ) 087 – 3332065
--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com http://www.nakkhaothai.comhttp://apps.facebook.com/blognetworks/index.phphttp://www.roundfinger.com/ http://twitter.com/sweetbloghttp://twitter.com/oknewsbloghttp://twitter.com/okblogger http://twitter.com/sat191http://www.pacc.go.th/http://twitter.com/okblogchanhttp://twitter.com/sun1951 http://twitter.com/smebloggerhttp://twitter.com/seminarbloghttp://twitter.com/sunnewsblog http://twitter.com/okworldbloghttp://twitter.com/ktbloggerhttp://twitter.com/sundayblog http://twitter.com/mondaybloghttp://twitter.com/tuesdaybloghttp://twitter.com/wednesdayblog http://twitter.com/thursdaybloghttp://twitter.com/fridaybloghttp://twitter.com/saturdayblog http://www.deepsouthwatch.org/node/687