| วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553 เวลา 13:11:55 น. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ เรติน่า : เลือดแดง ประชาชน หมาหัวเน่า โดยกฤตพจน 1 วันที่ 16 มีนาคม 2553 คงกลายเป็นวันที่ถูกบันทึกลงบนหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทย รวมถึงถูกบันทึกลงในตำราวิชารัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ นิเทศศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงได้รวมใจกันเจาะเลือดในช่วงเช้า เพื่อนำมาเทราดทางเข้าทำเนียบรัฐบาล และที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ในช่วงเย็น เป็นการกดดันนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้ประกาศยุบสภา 08.30 น. การสละเลือดครั้งประวัติศาสตร์เริ่มต้นขึ้น เมื่อทางกลุ่มคนเสื้อแดงประกาศเจตนารมณ์ชัดเจนที่จะขอสละเลือดคนละ 10 ซีซี. โดยต้องการรวบรวมเลือดให้ได้ 1 ล้านซีซี. นักข่าวไทยและนักข่าวต่างประเทศกระจายอยู่บริเวณเวทีปราศรัย และเต็นท์สละเลือด เก็บภาพและทำข่าวการชุมนุมครั้งนี้ 16.30 น. ทัพนักข่าวชาวไทยและชาวต่างประเทศออกันหน้าทางเข้าทำเนียบรัฐบาลที่มีการ ตรึงกำลังเพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มคนเสื้อแดงบุกเข้ามาเทเลือดในบริเวณ ทำเนียบรัฐบาล ขณะที่กลุ่มคนเสื้อแดงที่ถือถังเลือดได้เดินเรียงกันมา โดยมีขบวนรถของแกนนำตามมาข้างหลัง ฝ่ายรักษาความปลอดภัยตรึงกำลังอย่างแน่นหนา ปฏิเสธการเข้าใกล้บริเวณทำเนียบรัฐบาลของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่สุดเมื่อฝ่ายรักษาความปลอดภัยยืนกรานเสียงแข็ง คนเสื้อแดงจึงเทเลือดบริเวณหน้าประตูทำเนียบรัฐบาล เสียงชัตเตอร์จากกล้องหลายสิบตัวดังขึ้นพร้อมกับเสียงตะโกนของกลุ่มคนเสื้อ แดง 18.30 น. กลุ่มคนเสื้อแดงเคลื่อนมาที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อนำเลือดมาเทบนลานพระแม่ธรณีบีบมวยผม โดยเกือบที่จะมีการปะทะกันระหว่างทางพรรคกับผู้ชุมนุม เพราะทางพรรคประชาธิปัตย์ยินยอมแค่บริเวณริมฟุตบาทริมถนนหน้าพรรคเท่านั้น กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณลานพระแม่ธรณีบีบมวยผมนี้ทำให้ผมรู้สึกผิด หวังและสลดหดหู่ใจ เพราะการชุมนุมเป็นไปอย่างเรียบร้อยไม่มีเหตุรุนแรงที่เกิดจากการปะทะกันของ ทั้งสองฝ่ายขึ้น แต่จากกรณีนี้จะพบว่าคนเสื้อแดงล้ำเส้นชัดเจน และดูเป็นความรุนแรงแฝงไป ซึ่งผมคงไม่ขอเขียนอะไรมากไปกว่านี้เกี่ยวกับประเด็นนี้ 19.00 น. หลังสลายการชุมนุม ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นถูกบันทึกผ่านตัวบุคคล ภาพถ่าย เนื้อข่าว เรื่องราว จนทำให้สิ่งที่เกิดทั้งวันมานี้กลายเป็นประวัติศาสตร์บทหนึ่งของประเทศไทย เลือดซึ่งคนเสื้อแดงบอกว่าเป็น "เลือดแห่งจิตวิญญาณประชาธิปไตย" 2 ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2500 ทันทีที่ยานสปุตนิก 2 ของโซเวียดพุ่งทะยานผ่านชั้นบรรยากาศของโลก โดยมีผู้โดยสารเป็นสุนัขเพศเมียชื่อ "ไลก้า" ประวัติศาสตร์แห่งมวลมนุษยชาติบทหนึ่งถูกบันทึก เป็นประวัติศาสตร์แห่งมวลมนุษยชาติซึ่งมีสัตว์เป็นตัวดำเนินเรื่อง เรียกได้ว่า ไลก้า เป็นสิ่งมีชีวิตสิ่งแรกของโลกที่ได้เดินทางสู่อวกาศ ถามว่าไลก้าเป็นสุนัขที่มีความอยากกระหายที่จะรับรู้ความเป็นไปอย่างนั้นหรือ คำตอบคือไม่ใช่ ไลก้าต้องการเล่นไปวันๆ กินอาหารอร่อยๆ นอนกลิ้งเกลือกไปมา งับรองเท้าเล่นบ้างเป็นบางเวลา เลียปากเจ้านายหลังทานอาหารเสร็จใหม่ๆ และอีกหลายสิ่งอย่างที่ไลก้าต้องการในตารางเวลาอันสับสนของไลก้า แต่ที่แน่ๆ ไม่มีการเดินทางไปอวกาศยู่ในนั้น ต้องโทษช่องว่างที่เกิดขึ้นระหว่าง ความอยากรู้อยากเห็น กับความขลาดกลัวของมนุษย์ ที่ทำให้ชีวิตของไลก้าไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป น่าสงสารไลก้าก็ตรงที่ไม่มีใครถามไลก้าเลยว่าอยากไปอวกาศหรือไม่ นักวิทยาศาสตร์ผู้พัฒนาโครงการบอกกับทุกคนว่า ไลก้ายินดีที่จะเป็นตัวแทนของมนุษยชาติในการเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดแรกที่เดิน ทางสู่อวกาศ เสียงไชโยโห่ร้องของผู้คนดังระงมไปทั่ว ไลก้าพยายามจะพูดขึ้น แต่ก็ไม่สามารถแทรกเสียงแห่งความปีติยินดีแห่งมวลมนุษยชาติได้ หลังจากเสียงเงียบลง ผู้พัฒนาโครงการได้เปิดโอกาสให้ผู้คนเข้ามาแสดงความยินดีและพูดอะไรบางอย่างกับไลก้า ก่อนที่จะออกเดินทาง "อวกาศเป็นสถานที่ๆ สวยงามมากจริงๆ ดีใจกับไลก้าด้วย" "ไลก้าจะนำแสงสว่างมาสู่มวลมนุษยชาติ สู้ๆ นะ" วูบหนึ่งไลก้ารู้สึกปีติยินดีกับการสรรเสริญจากผู้คนมากมาย แต่สักพักไลก้าก็รู้สึกมันไม่เป็นธรรมเท่าไรที่ไม่ยอมถามกันก่อนว่าจะไปหรือ ไม่ ถึงวันเดินทางยานสปุตนิก 2 ที่ไลก้าโดยสารไปนั้นค่อนๆ เคลื่อนตัวหลุดจากแรงโน้มถ่วงโลก สู่ชั้นบรรยากาศ ก่อนเข้าสู่อวกาศอันเวิ้งวาง ช่วงเวลานั้นไลก้ารู้สึกว่าตัวเองเป็น ′หมาหัวเน่า′ 3 การให้ข่าวของทั้งรัฐบาลและคนเสื้อ แดงในเวลานี้เป็นสิ่งที่ทำให้ผมรวมถึงใครอีกหลายคนเริ่มหวั่นเกรงเป็นอย่าง ยิ่ง ด้วยผมยังรู้สึกถึงความไม่จริงใจของทั้งสองฝ่ายที่ต่างใช้กลยุทธต่างๆ นานา เพียงเพื่อให้ฝ่ายตนได้รับชัยชนะ แน่นอนว่าชัยชนะย่อมมี กลิ่นหอมและรสหวานมากกว่าความพ่ายแพ้ เช่นนั้นแล้วใครๆ ก็อยากชนะเพียงแต่ผมสงสัยว่าวิธีการเพื่อให้ได้มานั้น ไม่มีใครสนใจมันเลยหรืออย่างไร น่าแปลกที่การต่อสู้ในชีวิตจริง ไม่ว่าจะในมิติของการเมือง ทุนนิยมเศรษฐกิจ ต่างไม่มีช่องระหว่างชัยชนะและความพ่ายแพ้ พื้นที่แห่งการแข่งขันนั้นต่างต้องช่วงชิงเพื่อให้ได้มา จึงไม่น่าแปลกใจที่เหตุการณ์เหล่านี้คงไม่จบลงในเร็ววัน ต่างฝ่ายต่างก็ใช้โอกาสที่เปิดแง้มแม้เพียงเล็กน้อย ช่วงชิงประโยชน์ให้กับฝ่ายตน โดยประโยชน์ที่ทั้งสองฝ่ายต้องการมากที่สุดในเวลานี้ คือการช่วงชิงความเข้าใจของประชาชน แต่น่าฉงนใจยิ่งนัก เมื่อนัยหนึ่งรู้สึกว่า ประชาชนเป็นกุญแจสำคัญของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อีกนัยหนึ่งก็ไร้ซึ่งความสำคัญใดๆ เลย ผมมีโอกาสได้รับข่าวสารทั้งสองฝ่าย และทุกครั้งที่ฟังนั้นผมจะได้ยินคำอย่าง ′พี่น้องประชาชนที่รักทุกท่าน′ ไม่ว่าจะฝ่ายรัฐหรือคนเสื้อแดง ผมในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ซึ่งอยู่ตรงกลางจึงเกิดความรู้สึกว่าตัวเองถูกเหมารวมเป็นตัวแปรหนึ่งเสียอย่างนั้น ทั้งที่ความเป็นจริง ผมเป็นเพียงคนธรรมดาในเมือง ที่ต้องการแสวงหาความสุขจากสิ่งที่หามาได้ จากสิ่งที่แวดล้อมอยู่รอบกาย ผมอยากออกไปทานอาหารในช่วงเย็น ผมอยากใส่เสื้อทีมฟุตบอลทีมโปรดไปชมเกมฟุตบอลกับเพื่อน อยากไปชมภาพยนตร์ในวันหยุด และผมยอมรับกฎหมาย ผมยอมรับผลการเลือกตั้ง ผมยอมรับประชาธิปไตย แต่ผมคงมิอาจยอมรับการเป็นพี่น้องประชาชนกับพวกท่านทั้งสองฝ่าย ช่วงเวลาแบบนี้เองที่ผมรู้สึกว่าตัวเองเหมือน ′ไลก้า′ 4 ผมไม่รู้หรอกว่า จิตวิญญาณประชาธิปไตยคืออะไร ผมรู้แค่ว่า มันก็แค่ได้รับการเห็นชอบจากมวลมนุษย์ว่า เป็นระบอบการปกครองที่เลวร้ายน้อยที่สุดก็แค่นั้น หลักหนึ่งของประชาธิปไตยที่ต้องยอมรับก็คือ เสียงส่วนน้อยมักจะเจ็บปวด แต่อีกสิ่งหนึ่งที่เจ็บปวดมากที่สุดของประชาธิปไตยในไทยไม่ว่าจะรัฐบาลไหนๆ ก็คือ ประชาชนมักถูกลืม ช่วงเวลาที่ไลก้ารู้สึกเคว้งคว้างในอวกาศนั้น ไลก้าจึงไม่รู้เลยว่า หลังจากสปุตนิก 2 เข้าสู่วงโคจรแล้ว ทางภาคพื้นได้บอกกับทุกคนว่า จะไม่มีการนำไลก้ากลับมายังพื้นโลก น่าสงสาร มันจะต้องตายในอวกาศ น่าสงสารยิ่งขึ้นไปอีก เพราะก่อนที่ไลก้าจะได้รับเกียรตินี้ ไลก้าเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีบ้าน ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว ก่อนมาพบกับพวกเขาเหล่านั้นที่เฝ้าสอนและให้อาหารไลก้า แต่ไลก้าก็ต้องออกเดินทางอย่างโดดเดี่ยวอีกครั้ง และต้องตายอย่างโดดเดี่ยว แต่กระนั้นช่วงเวลาที่ไลก้าเริ่มรับรู้แล้วว่าตัวเองจะต้องตายอยู่ในอวกาศ ไลก้าจึงได้แต่ทำใจ เพราะรู้ว่าตัวเองเป็นเสียงส่วนน้อย ไลก้าจึงตายอย่างโดดเดี่ยว ท่ามกลางดวงดาว หลังจากนั้นไม่นานทางภาคพื้นจึงได้ออกแถลงว่า ไลก้ามีชีวิตอยู่ในอวกาศนานถึง 4 วัน ก่อนจะตายอย่างสงบ ณ ยานอวกาศสปุตนิก 2 โดยยานสปุตนิก 2 ตกลงสู่บรรยากาศโลกในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2501 ไลก้าจึงไม่ได้เล่นไปวันๆ กินอาหารอร่อยๆ นอนกลิ้งเกลือกไปมา งับรองเท้าเล่นบ้างเป็นบางเวลา เลียปากเจ้านายหลังทานอาหารเสร็จใหม่ๆ และอีกหลายสิ่งอย่างที่ไลก้าต้องการในตารางเวลาอันสับสนของไลก้า ทุกคนชื่นชมไลก้าว่าเป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาวงการสำรวจอวกาศ แต่ทุกคนไม่รู้เลยว่า หลังจากถูกส่งขึ้นไปในอวกาศไม่นาน ไลก้ามีชีพจรสูงผิดปกติ แต่หลังจากอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก กลับมีชีพจรต่ำลง แสดงให้เห็นว่าไลก้ามีความเครียดสูง จากนั้นระบบควบคุมอุณหภูมิของยานอวกาศทำงานผิดปกติ ทำให้ไลก้าตายด้วยความร้อนสูง และอาการตื่นตระหนก ที่สุดแล้วไลก้าสามารถอุดช่องว่างระหว่างความอยากรู้อยากเห็น กับความขลาดกลัวของมนุษย์ ทั้งยังสร้างประโยชน์แก่วงการสำรวจอวกาศ แต่เวลานี้วงการสำรวจอวกาศไปไกลมาก ไม่มีใครนึกถึงไลก้าอีก ทุกคนนึกถึงแต่นีลล์ อาร์มสตรองกันหมด ผมเห็นประวัติศาสตร์มามากแล้ว ผมจึงมิอาจยอมรับการเป็นพี่น้องประชาชนกับพวกท่านทั้งสองฝ่าย ผมจะไม่ยอมให้ตัวเองเป็นเหมือนไลก้าเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์จอม ปลอมนี้หรอก โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง ผมมิอาจยอมรับการเป็นพี่น้องประชาชนกับพวกท่านทั้งสองฝ่าย. พบกันใหม่วันพฤหัสบดีหน้าครับ ภาพจาก www.trytodream.com/topic/3652%3F...hai-utf8 http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1268892950&grpid=07&catid=no§ionid=0225 |
--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
http://www.deepsouthwatch.org/node/687
http://www.tu.ac.th/org/ofrector/tu_council/record/nopporn.htm
http://www.visalo.org/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น