"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

ชีวิต 'นักรบสมรภูมิไซเบอร์' 'พ.อ.ธีรนันท์ นันทขว้าง' 'ทอทหาร' โลกอินเทอร์เน็ต

'พ.อ.ธีรนันท์ นันทขว้าง' 'ทอทหาร' โลกอินเทอร์เน็ต
   

“ทอทหาร” ในแวดวงสังคมทั่วไปอาจไม่มีคนรู้จัก หากแต่ในสังคมของโลกอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ชื่นชอบเรื่องราวด้านความมั่นคง แนวคิดทางการทหาร ชื่อนี้ไม่ธรรมดา เพราะโลดแล่นอยู่ในสมรภูมิไซเบอร์มาตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของแวดวงไอทีเมืองไทย ทั้งในเว็บไซต์ดังอย่าง pantip.com รวมถึงเว็บไซต์ส่วนตัว thai-military. net ที่พัฒนามาจากเว็บไซต์เดิม 37th.net จนมาถึงเว็บไซต์ในปัจจุบัน http://tortaharn.net ซึ่งนอกจากเรื่องราวในเว็บไซต์จะน่าสนใจแล้ว เบื้องลึก-เบื้องหลังของ “ทอทหาร” รายนี้ ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะเหตุใด ? นายทหารแห่งหน่วยรบพิเศษคนนี้จึงตัดสินใจเข้าสู่สมรภูมิไอที

“วันที่ผมเดินออกมา มีทั้งคนที่งง มีทั้งคนที่หัวเราะ คนเราถ้ากลัว เราก็คงไม่กล้าเปลี่ยน แปลง ถึงวันนี้ผมว่าเส้นทางที่ผมเดินมา ผมคิดว่าผมตัดสินใจไม่ผิด” เป็นบทสนทนาแรก ๆ ของ พ.อ.ธีรนันท์ นันทขว้าง รองผู้อำนวยการกองศึกษาวิจัยทางยุทธศาสตร์ ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ กองบัญชาการกองทัพไทย หรือที่ผู้คนในโลกไซเบอร์รู้จักดีในชื่อ “ทอทหาร” ซึ่งเขายังบอกต่อไปว่า...
   
จุดเปลี่ยนในชีวิตเขาเกิดขึ้นหลายครั้ง ครั้งแรกสมัยเรียนที่โรงเรียนสวนกุหลาบ มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมทหารในสมรภูมิรบที่ อ.ตาพระยา (สมัยก่อนขึ้นอยู่กับ จ.ปราจีนบุรี ปัจจุบันขึ้นกับ จ.สระแก้ว) ประกอบกับได้เห็นภาพงานพระราชทานเพลิงศพของเหล่าทหาร เห็นภาพครอบครัวคนที่สูญเสีย จึงเกิดความรู้สึกว่าทำไมคนเหล่านี้ แม้สูญเสียคนที่รัก แต่ทำไมมีความภูมิใจมากนัก จึงคิดว่าทหารเป็นอาชีพที่น่าสนใจ จึงตั้งใจว่าอยากเป็นทหาร จนสอบติดโรงเรียนเตรียมทหาร และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
   
ครั้งที่สองของจุดเปลี่ยน เกิดขึ้นเมื่อรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ประกาศนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า ทำให้ความฝันการเป็นทหารนักรบสะดุดลง เขาบอกว่าตอนนั้นไม่สนใจเรียนเลย มุ่งฝึกฝนร่างกายอย่างหนัก มุ่งจะเป็นนักรบออกสนามอย่างเดียว แต่พอจบมาตรงกับช่วงที่รัฐบาลประกาศนโยบาย กลายเป็นว่าสนามรบหายไป พอหาสนามรบไม่เจอก็เคว้ง ซึ่งช่วง “พฤษภาทมิฬ” เขาไม่ได้อยู่ในประเทศ เพราะไปเรียนหลักสูตรต่อต้านการก่อการร้ายสากลที่หน่วยเอสเอเอส (SAS) ที่ออสเตรเลีย และทางหน่วยนั้นไม่ยอมให้เดินทางกลับ เพราะกลัวว่าจะต้อง กลับมาทำงานในสถาน การณ์ ซึ่งก็อาจมองได้ว่าเป็นความโชคดี และเขาเองตอนนั้นก็เกิดภาวะที่ไม่มีความภูมิใจในการแต่งเครื่องแบบทหารอยู่ ช่วงหนึ่ง เพราะคนดูถูกทหารมาก
   
พ.อ.ธีรนันท์เล่าย้อนกลับไปว่า หลังเรียนจบโลดแล่นอยู่พักหนึ่ง ก็ได้เข้าสู่หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ทำหน้าที่รองหัวหน้าชุดปฏิบัติการรบพิเศษ กรมรบพิเศษที่ 4 ในปี 2533 และปี 2534 ก็ไปทำหน้าที่รองหัวหน้าชุด แล้วขยับเป็นหัวหน้าชุดปฏิบัติการพิเศษ (ฉก.90) กองร้อยปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ นอกจากนี้ก็ยังไปทำหน้าที่หัวหน้าชุดรักษาความปลอดภัย และนายทหารคนสนิท ให้กับ พล.อ.วิมล วงศ์วานิช ตอนที่เป็นผู้บัญชาการทหารบก และ พล.อ.บรรจบ บุนนาค ตอนที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระหว่างปี 2536-2538 โดย ในระหว่างนั้นก็เกิดจุดเปลี่ยนครั้งที่สาม
   
หลังมีโอกาสติดตามผู้ใหญ่ ทำให้ได้พบเห็นผู้คนและรู้จักโลกกว้างขึ้น มีโอกาสพบผู้ติดตามบรรดา กระทรวงต่าง ๆ ซึ่งแต่ละคนเรียนจบสูง ๆ รู้สึกว่าเหมือนตัวประหลาด เพราะไม่รู้เรื่องในสิ่งที่คนเหล่านั้นสนทนากัน จึงเกิดความคิดที่อยากจะไปเรียนต่อ ระหว่างนั้นได้อ่านหนังสือชื่อ “คลื่นลูกที่สาม” ของ อัลวิน ทอฟฟ์เลอร์ และหนังสือชื่อ “พาวเวอร์ชิพ” ซึ่งมีอิทธิพลในการปรับเปลี่ยนแนวคิดของตัวเขามาก
   
“ขอนายว่าอยากเรียนต่อ ตอนนั้นสนใจ ไอทีมาก คิดว่าเรื่องนี้สำคัญมากในอนาคต และจะมีพลังมาก จึงเลือกวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ สอบติดที่ลาดกระบัง เป็นจุดหักเหเลย จากภาพนักรบ กลายมาเป็นเทคนิคเชี่ยน เรียนจบปริญญาโทในเวลา 2 ปีครึ่ง ช่วงนั้นกองทัพเริ่มวางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โครงการซี ยกกำลัง 3 ไอ ก็ได้ทำงานและมีโอกาสได้ทุนด้วย พอใกล้จบก็คิดว่าอยากเรียนปริญญาเอกต่อ ก็พยายามทำเกรด ก็ได้มา สุดท้ายก็ไปเรียนที่สหรัฐอเมริกา ระหว่างนั้นก็เริ่มทำเว็บไซต์ตัวเอง คือ 37th.net และเปลี่ยนมาเป็น thai-military ซึ่งหอบกลับมาทำต่อที่เมืองไทยและพัฒนาไปเรื่อย จนกลายเป็นเว็บทอทหาร http:// tortaharn.net ในปัจจุบัน”
   
วันที่เปลี่ยนชีวิต พ.อ.ธีรนันท์บอกว่า มีเพื่อนทักท้วง และมองด้วยความงง ทั้งบางคนก็ยังหัวเราะเยาะ บอกว่าเรียนทำไม กองทัพจะได้ใช้เหรอ ? ซึ่งบทสรุปวันนี้ เขาบอกว่าก็คงเห็นอยู่แล้วว่าไอทีมีพลังมากแค่ไหน รูปแบบง่าย ๆ คือ “ฟอร์เวิร์ดเมล” อีกอันหนึ่งคือ “ทวิตเตอร์” กับ “เฟซบุ๊ก”
   
เขาเล่าอีกว่า เพื่อนทหารร่วมรุ่นคนหนึ่งบอกกับเขาว่า...วันนี้เขากำลัง “เล่นทหาร” อีกแบบหนึ่ง เป็นสมรภูมิรบในอีกรูปแบบหนึ่ง ประมาณว่าโลกมีความเปลี่ยนแปลง สมรภูมิรบก็มีความเปลี่ยนแปลง จากยุคสงครามใช้กำลังก็เปลี่ยนเป็น “สงครามข่าวสาร” ซึ่งในเว็บไซต์ของเขาก็มีการวิพากษ์เรื่องนี้ตรงไปตรงมา
   
“ไม่ผิดที่คนจะมองว่าชอบคิดแบบทหาร ก็เป็นอย่างนั้นจริง ผมไม่สามารถตอบได้ว่าเป็นอย่างไร ทหารเป็นอาชีพที่แปลก ลองคิดดูว่าคงไม่ง่ายที่จะเอาคนหนึ่งคนมาฝึกแล้วให้ไปตายแทนประชาชนที่เหลือ ได้ มันต้องมีอะไรสักอย่าง บางครั้งคนทั่วไปไม่เข้าใจว่าทำไมทหารต้องรักพวกพ้องมาก เพราะคนเหล่านี้เขาร่วมเป็นร่วมตายกันมา เวลารบกระสุนไม่เลือกนะว่าคนนี้นายทหาร คนนี้พลทหาร เท่ากันหมด และคนเหล่านี้แหละเวลาคับขัน เขาวิ่งเข้าไปหาเพื่อลากกันออกมา คือความผูกพัน
   
แต่ก็ไม่ยัดเยียดให้สังคมเข้าใจนะ ยังมีคนถามว่าวิพากษ์ตรง ๆ ไม่กลัวเหรอ ผมไม่กลัว ผมบริสุทธิ์ใจ และผมก็ยังรักความเป็นทหารอยู่ ถ้าไม่รักจะไปพูดถึงทำไม แต่ผมคิดว่ากองทัพก็ต้องปรับตัว แต่ว่าวิธีคิดหลายอย่างมันตกค้างเป็นวัฒนธรรม เพราะเป็นองค์กรที่ใหญ่ ผมก็คิดว่าเราน่าจะทำได้ จึงมองไปที่เรื่องการขายแนวคิด ไอทีเป็นแค่เครื่องมือ เพราะอยากให้คนเห็นว่าทหารก็พยายามที่จะปรับ แต่ก็ต้องใช้เวลา ส่วนตัวเองถามว่าสมบุกสมบันไหมกว่าจะมาถึงตรงนี้ มีอยู่ประโยคที่ชอบมาก ลูกศิษย์คนหนึ่งพูดกับผมว่า การหาตัวตนให้เจอไม่ยากหรอก แค่ดูว่าทำอะไรแล้วเราไม่ได้เงิน ไม่มีผลประโยชน์ แล้วยังทำอยู่ นี่แสดงว่าเรารักมัน” ...นักรบโลกไซเบอร์  “ทอทหาร” กล่าว
   
เราถามทิ้งท้ายว่า ในฐานะนักยุทธศาสตร์ คิดอย่างไรกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ? พ.อ.ธีรนันท์ตั้งคำถามกลับว่า วันนี้สังคมไทยต้องหันกลับมาดูว่าความเป็นคนไทยของพวกเรายังคงอยู่หรือไม่ ? และอะไรบ้างที่หล่นหายไป ? สิ่งที่สังคมไทยทำหายไปและต้องรีบนำกลับมาให้เร็วที่สุดคือ “ความเอื้ออาทร” “จิตสำนึกสาธารณะ” ถ้ายังยึดมั่นถือมั่นในผลประโยชน์ตัวเองเป็นที่ตั้ง ทุกอย่างก็พัง และจะก้าวเดินไปไหนไม่ได้อีกเลย 
   
“ถ้าเราเอาความเป็นคนไทยที่เคยหายไปกลับคืนมา สังคมเราจะน่าอยู่มากกว่านี้หรือเปล่า ? คงจะเป็นคำถามที่เชื่อว่า คนไทยหลาย ๆ คนก็หวังจะได้คำตอบในเร็ววันนี้”.

'ใช้ถูกที่...มีดีมากกว่าไม่ดี'

“ครอบครัวผมเป็นพลเมืองไซเบอร์ ผมเลี้ยงลูก สอนหนังสือลูกด้วยอินเทอร์เน็ต ใครหาผมไม่เจอ เจอผมได้ในนี้” ...พ.อ.ธีรนันท์บอกเล่าเรื่องราวครอบครัวเขากับโลกไอที
   
พ.อ.ธีรนันท์สมรสกับ ศศิ นันทขว้าง มีพยานรักเป็นลูกสาววัยน่ารัก 1 คน ชื่อ น้อง    โออาร์-ด.ญ.พัศวิญญา นันทขว้าง เขาบอกว่า ตอนลูกเกิด เขาและแฟนเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ก็อาศัยข้อมูลการดูแลเลี้ยงลูกจากอินเทอร์เน็ต ขณะที่การสอนหนังสือลูกศิษย์ก็จะใช้วิธีสื่อสารระหว่างกันผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อให้เข้าถึงกัน
   
ในโลกไซเบอร์ 50% คือเนื้อหาที่ไม่ดี แต่ถ้าเรามีภูมิคุ้มกัน ใช้ให้เป็น มันคือสิ่งที่ทรงพลัง เราเจอเด็กห้อยเอ็มพี 3 ห้อยไอพอด ผู้ใหญ่ก็ตัดสินเลยว่าเอาแต่ฟังเพลง แต่จริง ๆ เด็กบางคนเขาใช้เป็นเครื่องอัดเสียงอาจารย์ หรืออัดเสียงท่องหนังสือของตัวเองไว้ แล้วเขาก็ฟังตลอดเวลาเป็นออดิโอบุ๊กส์ นั่นคือวิธีคิดของเด็ก
   
“ทุกวันนี้ใครถามว่าเล่นเฟซบุ๊กทำอะไร ผมบอกว่าผมสอนลูกศิษย์ทางนี้ ลูกศิษย์ผมจะเจอกันสัปดาห์ละครั้ง แต่เหมือนกับว่าเราเจอกันทุกวัน หลายคนบอกว่าอินเทอร์เน็ตทำให้คนมันห่าง ผมว่าไม่ใช่นะ เรามีสิ่งที่เชื่อมโยงกันเป็นโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก  ดังนั้นถ้าเรารู้วิธี ในนี้มีดีมากกว่าไม่ดีแน่” พ.อ.ธีรนันท์กล่าว.

ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ : รายงาน

http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=524&contentId=53850


ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew