"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553

มองเขา-มองเรา : การเสนอข่าวจากสื่อนอก กับการชุมนุมใหญ่ 'เสื้อแดง'

มองเขา-มองเรา : การเสนอข่าวจากสื่อนอก กับการชุมนุมใหญ่ ‘เสื้อแดง’
ขณะที่หลายกลุ่มในกรุงเทพฯ ‘นอย’ กันมาก กับการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง และออกมาเรียกร้องสันติวิธีซ้ำๆ ซากๆ ตอกย้ำอคติบางอย่างที่มีต่อการชุมนุม ซึ่งถูกผลิตซ้ำในสื่อหลัก ตลอดช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เรามาดูกันบ้างว่า ต่างประเทศนำเสนอข่าวการชุมนุมของ ‘เสื้อแดง’ อย่างไรบ้าง



AFP : จำนวนผู้ชุมนุมจะบ่งชี้ศักยภาพในการเรียกร้องทางการเมือง
ในวันที่ 7 มี.ค. AFP รายงานเรื่องการเตรียมการของคนเสื้อแดงว่าประเทศไทยถูกแบ่งฝ่ายอย่างชัดเจน โดยมีการใช้คำว่า 'กลุ่มคนเสื้อแดงผู้นิยมทักษิณ' และ 'กลุ่มคนเสื้อเหลือง ผู้ที่เห็นว่าทักษิณฉ้อโกง และมีฝ่ายอมาตย์ ทหาร และชนชั้นนำในรั้วในวัง คอยสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง'

นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์จาก พอลล์ แชมเบอร์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องประเทศไทยจากมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์กของเยอรมนี พอลล์บอกว่าจำนวนของการชุมนุมจะเป็นตัวบ่งชี้เรื่องประสิทธิภาพทางการเมือง ของเสื้อแดง โดยขึ้นอยู่กับจำนวนของผู้ชุมนุมว่าจะมีเกิน 1 แสนคนหรือไม่

พอลล์บอกอีกว่าถ้าหากเกิดความรุนแรงเกิดขึ้นกับกลุ่มคนเสื้อแดง จะยิ่งทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงเพิ่มมากขึ้น ขยายตัวสูงขึ้น (Yet a violent outcome will only breathe new life into a Red Shirt movement looking to expand)

ขณะที่อาร์เนาด์ เลอวิวล์ จากสถาบันวิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมสมัย ประเมินว่ากลุ่มคนเสื้อแดงไม่มีพลังขับเคลื่อนมากพอในกรุงเทพฯ เพราะพวกเขาไม่มีทรัพยากร และกลุ่มคนเสื้อแดงต้องใช้พลังไปกับการขนขบวนผู้คนจากจังหวัดอื่น ๆ เข้ามา และคอยดูแลพวกเขาขณะอยู่ในกรุงเทพฯ

0 0 0


บทบรรณาธิการ เจแปนไทม์ เรื่อง "รอยแยกในการเมืองไทย"
6 มี.ค. 2010 หนังสือพิมพ์เจแปนไทม์ ของญี่ปุ่น มีบทบรรณาธิการที่กล่าวถึงเรื่องการเมืองไทยและการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงใน ชื่อว่า 'รอยแยกในการเมืองไทย' เนื้อหาส่วนหนึ่งพูดถึงการที่ ‘เสื้อแดง’ ถูกทำให้แปลกแยกจากสังคมไทย

"การแบ่งแยกฝ่ายเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ในทางการเมือง แต่มันก็ไม่ได้เข้าถึงปัญหาที่แท้จริง คือการที่กลุ่มผู้นิยมอดีตนายกฯ ทักษิณถูกทำให้แปลกแยกจากสังคม การที่รัฐบาลปัจจุบันไม่ได้ตระหนักถึงความเจ็บปวดของพวกเขา ทำให้รอยแยกทางการเมืองไทยยิ่งห่างออกไปอีก"

ตัวบทบรรณาธิการยังได้กล่าวถึงคดียึดทรัพย์อดีตนายกฯ ทักษิณ รวมถึงเหตุระเบิดธนาคารกรุงเทพฯ ที่ตามมาหลังจากนั้น โดยบอกว่า "...คนจำนวนมากเชื่อว่าทักษิณจะต้องถูกตัดสินให้มีความผิดแน่ เพราะถ้าศาลไม่ทักษิณผิด การกล่าวอ้างเพื่อการรัฐประหารครั้งที่ผ่านมาจะถูกว่ากล่าวอย่างเสื่อมเสีย รัฐบาลชุดต่อมาและรัฐธรรมนูญปี 2550 จะสิ้นความชอบธรรม ซึ่งหมายรวมถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์ด้วย"

"...เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่มากกว่าการกำจัดนักการเมืองคนหนึ่ง และการต่อสู้ของทักษิณก็เป็นมากกว่าการต่อสู้เพื่อให้ตัวเองพ้นผิด เพราะการดำรงตำแหน่งการเมืองของทักษิณถือเป็นการท้าทายอำนาจสถาปนาของไทย ผู้สนับสนุนทักษิณก็มาจากกลุ่มคนไทยในชนบทผู้ได้แต่เมียงมองอยู่ข้างถนนเวลา ที่เศรษฐกิจพัฒนา"

"...สำหรับกลุ่มต่อต้านทักษิณ ก็มองทักษิณเป็นนักประชานิยมผู้หลอกหาผลประโยชน์จากกลุ่มคนสนับสนุน กล่าวหาว่าทักษิณทำสิ่งที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ทั้งที่เขาได้รับคะแนนเสียงข้างมาก และยังหล่าวหาว่าทักษิณไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ ผู้เป็นที่รักยิ่ง ซึ่งข้อกล่าวหานี้เองก็เสียดแทงกระทั่งผู้สนับสนุนทักษิณ"

ขณะเดียวกันบทบรรณาธิการของเจแปนไทม์ก็บอกว่าต้องการให้ทั้งสองฝ่ายหัน หน้าเข้าหากัน "การที่ทั้งสองฝ่ายต้องการห้ำหั่นกันจนถึงที่สุดนั้นเป็นสิ่งที่ผิดพลาด ทั้งสองฝ่ายควรหาจุดร่วมเพื่อสร้างการประนีประนอมทางการเมือง โดยต้องหยุดทำให้คนจนและคนชนบทเป็นพลเมืองชายขอบ ควรเลิกทำให้เกิด 'ความแปลกแยก' ในขณะเดียวกัน การทุจริตที่มีอยู่จำนวนมากในไทยก็ควรจบลงด้วย

“ประชาชนคนไทยทุกคนควรสร้างและยอมรับระบอบการเมืองที่อยู่ภายใต้กฏกติกา และให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิมีเสียงในการกำหนดอนาคตของประเทศ อะไรก็ตามที่น้อยไปกว่านี้จะทำให้เกิดการแบ่งแยกและนำไปสู่สงครามกลางเมือง ได้”

0 0 0

อิระวดี : "เสื้อแดงพร้อมแล้วกับการเคลื่อนขบวนมวลชนนับล้าน"
ด้านอิระวดี สำนักข่าวของผู้ต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า มีผู้รายงานเกี่ยวกับการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงในวันที่ 12-14 มี.ค. ที่จะถึงนี้ ในพาดหัว "เสื้อแดงพร้อมแล้วกับการเคลื่อนขบวนมวลชนนับล้าน" (Redshirts ready for 'Million-man' March) โดยเน้นจากมุมมองของคนเสื้อแดง และอ้างอิงการที่เสื้อแดงบอกว่ารัฐบาลมีทางเลือกอยู่สองทางคือการปราบปราม กลุ่มคนเสื้อแดงหรือยุบสภา

ในเนื้อความระบุว่า ความรุนแรงในช่วงการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนและในช่วงสงกรานต์เมื่อปีที่ ผ่านมาได้สร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของผู้ต่อต้านรัฐบาล แต่ก็มีการใช้คำว่า 'การประท้วงโดยสงบ' (Peaceful Protest) ในประโยคที่ว่า “การประท้วงโดยสงบในครั้งนี้จะทำให้รัฐบาลต้องเลือกปราบปรามหรือเลือกยุบสภา ได้อย่างไรนั้น ยังไม่เป็นที่แน่ชัด”

นอกจากนี้ยังรายงานอีกว่าการสนับสนุนทักษิณเป็นแค่ส่วนเล็ก ๆ ่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ในการเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดง ผู้เรียกตนเองว่าเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย

0 0 0

นักวิเคราะห์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หวั่น เสื้อแดงเผลอทำอะไร ‘โง่ ๆ’
ด้านอัลจาซีร่า สื่อที่เน้นเรื่องราวความขัดแย้งของตะวันออกกลาง นำเสนอเรื่องราวก่อนการชุมนุมใหญ่ของเสื้อแดงมีการใช้คำว่า "a million-man march" เช่นเดียวกับอิระวดี ขณะเดียวกันก็นำเสนอเรืองที่นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้าเยี่ยมพระอาการประชวรของในหลวงเพื่อขอคำแนะนำในเรื่องการเมืองไทย

นอกจากนี้ยังนำเสนอความเห็นของแลร์รี่ จาแกน นักวิเคราะห์เรื่องเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกล่าวว่า "คนเสื้อแดงอาจจะเผลอทำอะไร 'โง่ ๆ' ในช่วงที่มีการชุมนุม และมีรายงานว่าระเบิดมือสูญหายไปจากค่ายทหารอย่างน้อย 20 ลูก"

แลร์รี่ บอกอีกว่า "รัฐบาลควรมองการประท้วงนี้อย่างจริงจัง เนื่องจากกลุ่มสนับสนุนทักษิณกำลังโกรธมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเขาคิดว่าไม่ได้รับความยุติธรรม และระยะห่างในสังคมไทยก็มีมากขึ้นเรื่อย ๆ รัฐบาลควรตระหนักถึงจุดนี้ด้วย"

0 0 0

ขณะที่สำนักอื่น ๆ เช่น BBC ของอังกฤษ, Bloomberg, วอยซ์ ออฟ อเมริกา (VOA), France24 โดยส่วนหนึ่งมีการนำมาจากสำนักข่าว AFP และ Reuters รายงานข่าวสถานการณ์โดยทั่วไปอย่างกลาง ๆ ไม่ได้มีการแสดงท่าทีใด ๆ

เช่นในวันที่ 11 มี.ค. AFP รายงานเรื่องที่รัฐบาลจะวางกองกำลัง 50,000 นาย เพราะเกรงจะเกิดความรุนแรง และสุเทพ เทือกสุบรรณ บอกว่าหากเสื้อแดงเข้าไปในฐานทัพทหารหรือสถานีตำรวจ รัฐบาลจะใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามและถือว่าพวกเขาเป็น 'ผู้ก่อการร้ายทันที'

0 0 0

บลูมเบิร์กพาดหัว "ผู้ประท้วงในไทยชุมนุมใหญ่ท้าทายอภิสิทธิ์"

12 มี.ค. 2010 บลูมเบิร์กพาดหัวข่าวว่า "ผู้ประท้วงในไทยชุมนุมใหญ่ท้าทายอภิสิทธิ์" (Thai Protesters Mass in Largest Challenge to Abhisit)

โดยในเนื้อหาข่าวมีการสัมภาษณ์ ศิริวร นิมิตรศีลมา คนไทยเกษียณอายุผู้อยู่ในสหรัฐฯ 46 ปี และกลับประเทศไทยในปี 2006 ซึ่งได้ให้ความเห็นว่า พวกเขาต้องการประชาธิปไตยและต้องการอดีตนายกฯ ทักษิณ กลับคืนมา

"เขา (ทักษิณ) เป็นนายกรัฐมนตรีในดวงใจของพวกเรา ถ้าหากอภิสิทธิ์คิดว่าเขาเป็นตัวแทนของเสียงข้างมาก เขาควรให้มีการเลือกตั้ง ทำไมเขาไม่คืนอำนาจให้กับประชาชน"

ขณะเดียวกัน นักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์ ฮิวจ์ ยังก์ ให้สัมภาษณ์กับ บลูมเบิร์กว่า สถานการณ์เช่นนี้ทำให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ และเขาเป็นห่วงในสถานการณ์เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต่างแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่าง ชัดเจนและไม่มีท่าทีว่าจะสามารถระนีประนอมกันได้ทั้งสองฝ่าย

นอกจากนี้ วินเซนต์ โฮ จาก Fitch Ratings บอกว่าความไม่แน่นอนทางการเมืองในครั้งนี้ชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวม ขณะเดียวกันเขาก็บอกว่าผลกระทบจากการชุมนุมในครั้งนี้เป็นสิ่งที่ดูถูกไม่ ได้

ด้าน โรเบิร์ท บอร์ดฟุต ผู้อำนวยการ ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและการเมือง บอกว่าการเลือกตั้งจะเป็นทางออกที่ดี แต่ตอนนี้ก็ยังการันตีอะไรไม่ได้ นอกจากนี้ยังกล่าวอีกว่า "คุณไม่สามารถมีกลุ่มการเมืองกลุ่มหนึ่งในเขตเมือง และอีกกลุ่มหนึ่งในเขตชนบท แล้วก็มาตีหัวกัน"

นอกจากนี้ยังได้สัมภาษณ์ เหวง โตจิราการ หนึ่งในแกนนำทางโทรศัพท์โดย เหวงบอกกับบลูมเบิร์กว่า ผู้ชุมนุมจะชุมนุมอย่างสันติ ไม่เหมือนเมื่อปีที่แล้วที่ทหารเข้ามาปราบการชุมนุมจนทำให้เกิดการจลาจล

"ใครก็ตามที่มาพร้อมอาวุธ ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกลุ่มเรา" เหวงกล่าวกับบลูมเบิร์ก "พวกเราต้องการแค่การเลือกตั้งใหม่ ไม่มีอะไรมากกว่านั้น"

0 0 0

ผู้เชี่ยวชาญใน ตปท. คาด หากเกิดความรุนแรงอาจไม่ใช่ฝีมือเสื้อแดง

ข่าวการชุมนุมของเสื้อแดงในหนังสือพิมพ์ New York Times วันที่ 11 มี.ค. เรียกการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงที่มีการโดยสารมาทางรถบัส รถบรรทุก และรถอีแต๋น ว่าเป็นยุทธการ "ป่าล้อมเมือง" New York Times รายงานอีกว่า การที่คนในชนบทเข้ามาชุมนุมกันในเมืองหลวงเน้นให้เห็นถึงความแตกแยกที่ฝัง รากลึกในประเทศ ระหว่างคนจนชนบทกับคนเมือง

New York Times ยังได้นำเสนอความเห็นของปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเมืองไทยจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาในสิงคโปร์ ซึ่งตั้งข้อสงสัยว่า ผู้ชุมนุมมักจะใช้คำว่า 'สงครามครั้งสุดท้าย' (Final Showdown) แต่พวกเขาเชื่อว่าจะทำให้นายกฯ อภิสิทธิ์ ลงจากอำนาจได้จริงไหม

นอกจากนี้ปวิน ยังบอกอีกว่าเขากลัวว่าจะมีคนกลุ่มอื่นมาสร้างความวุ่นวายเพื่อก่อให้เกิดความรุนแรง

"ถ้าเกิดเรื่องร้าย ๆ ขึ้น มันอาจจะไม่ได้มาจากเสื้อแดง" ปวินกล่าว "มันมีหลายกลุ่มมากในตอนนี้ มีอยู่ในทุก ๆ ที่ แม้แต่ในเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดงก็มีกลุ่มย่อย ๆ อยู่ พวกเราไม่ทราบว่าใครเป็นพวกใคร ในสถานการณ์แบบนี้ทำให้กลุ่มคนมือที่สาม ที่สี่ ที่ห้า ใช้ประโยชน์จากมันได้เสมอ"

ที่มา : ประชาไทออนไลน์
http://www.prachatai.com/journal/2010/03/28105
http://www.prachatai.com/journal/2010/03/28119
http://www.prachatai.com/journal/2010/03/28115


--
โปรดอ่าน blog
www.pridiinstitute.com
www.nakkhaothai.com
www.pcpthai.org
http://wdpress.blog.co.uk
http://www.cedthai.com/
http://rsm2009-rsm2009.blogspot.com
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
www.youtube.com/user/naiissarachon#p/a/u/0/34ZvscsnCbA

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew