"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

"การพัฒนากลไก-กระบวนการผู้แทนผู้บริโภคเพื่อร่วมกำหนดนโยบาย กฎหมาย มาตรการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคม"

สรุปงานประชุม "การพัฒนากลไก-กระบวนการผู้แทนผู้บริโภคเพื่อร่วมกำหนดนโยบาย กฎหมาย มาตรการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคม"

                                DSC00257.JPG

                                      DSC00202.JPG

          เมื่อไม่นานมานี้ สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) องค์กรอิสระในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้จัดประชุม "การพัฒนากลไก-กระบวนการผู้แทนผู้บริโภคเพื่อร่วมกำหนดนโยบาย กฎหมาย มาตรการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านโทรคมนาคม" ขึ้นที่ โรงแรมอมารี แอร์พอร์ต  นายแพทย์ประวิทย์  ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า การประชุมครั้งนี้เป็นการหารือร่วมกันของผู้แทนองค์กรผู้บริโภคจำนวน  45 องค์กร เพื่อจัดตั้งสภาผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ซึ่งจะเป็นเวทีของตัวแทนองค์กรผู้บริโภคจากทุกภูมิภาคของไทย ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการกำหนดนโยบาย เสนอกฎหมาย กฎระเบียบ หรือมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม และเป็นปากเป็นเสียงแทนผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม 

           “ เรื่องนี้องค์กรผู้บริโภคได้ผลักดันร่วมกันมาเป็นเวลานานแล้ว จนในที่สุดทาง กทช. ได้เห็นความสำคัญจึงได้กำหนดไว้ในแผนแม่บทฉบับที่ 2 ว่า ควรมีกลไกที่ผู้บริโภคสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย กฎหมาย หรือมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม” ผอ.สบท.กล่าว

                               DSC00286.JPG
                         DSC00288.JPGDSC00303.JPG
         
          ภารกิจ สำคัญของสภาผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมคือ การจัดทำข้อเสนอแนะ การให้ความเห็นต่อนโยบาย กฎระเบียบ และมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งในเชิงรับและเชิงรุก ทางด้านเชิงรับคือ เมื่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (คบท.) และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ( กทช.) ต้องการทราบความเห็นในเรื่องใดที่อาจมีผลกระทบกับผู้บริโภค สภาแห่งนี้ก็จะเป็นผู้ตอบหรือจัดกระบวนการหาคำตอบ ส่วนในเชิงรุกคือ เมื่อสภาฯ เห็นว่า คบท./ กทช. หรือหน่วยที่เกี่ยวข้อง สมควรมีนโยบาย กฎหมาย หรือมาตรการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ก็จะเป็นฝ่ายเสนอแนะและผลักดันให้เกิดนโยบายหรือกฎหมายดังกล่าว
 
          นอกจากนี้สภาผู้บริโภคยังมีหน้าที่ในการติดตาม ตรวจสอบ และผลักดันให้นโยบาย กฎหมาย และมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมมีผลใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ หรือมีการบังคับใช้  รวมทั้งศึกษาติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาผู้บริโภค และผลกระทบของนโยบาย กฎหมาย และมาตรการต่างๆ ที่มีต่อการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม
                                DSC00358.JPG

                                 DSC00315.JPG

          ทั้งนี้ สภา ผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมเป็นตัวแทนจากองค์กรผู้บริโภคใน 10 ภูมิภาค ประกอบด้วยกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคกลาง  ภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง ภาคอีสานตอนล่าง ภาคอีสานตอนบน  ภาคใต้ตอนบน ภาคใต้ตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก โดยมีตัวแทนภูมิภาคละ 3 คน นอกจากนี้ยังคัดเลือกจากกลุ่มประเด็นเฉพาะ คือ กลุ่มผู้พิการ กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ  กลุ่มชาติพันธ์ อีกจำนวน 15 คน และกลุ่มสุดท้ายเป็นกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน รวมทั้งหมด 50 คน

          สำหรับขั้นตอนการดำเนินการจัดตั้งสภาผู้บริโภค ในขณะนี้ได้มีการตั้งคณะทำงานสรรหาขึ้นมามีหน้าที่ในการจัดให้เกิดกระบวนการ ให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม ภายใน 90 วัน นับจากวันที่ 1 มิถุนายนเป็นต้นไป ระหว่างนี้คณะทำงานสรรหาจะปฏิบัติหน้าที่แทนสภาผู้บริโภคฯ เป็นการชั่วคราวก่อนจนกว่าการจัดตั้งสภาแล้วเสร็จ โดยประเดิมงานแรกด้วยการให้ความเห็นต่อร่างหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อ สังคม  ซึ่งจะเป็นโจทย์แรกที่คณะทำงานชุดนี้จะได้ทำ

                                   DSC00307.JPG
 
          “สถานะของสภาฯ ในเวลานี้ยังไม่จำเป็นที่จะต้องมีกฎระเบียบมารองรับสถานะ แต่สิ่งที่จำเป็นมากกว่าคือ ต้องทำให้สภาตรงนี้เกิดขึ้นจริง มีตัวตนจริง มีคณะบุคคลที่เป็นสมาชิกสภาที่ทำงานได้จริง และยืนอยู่บนหลักพื้นฐานว่า คณะทำงานนี้ต้องเป็นอิสระ ทั้งจาก กทช.  คบท. และ สบท. ด้วย“ นายแพทย์ประวิทย์กล่าว

          นายแพทย์ประวิทย์กล่าวต่อไปว่า ดังนั้นลักษณะต้องห้ามของสมาชิกสภาผู้แทนผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมที่ สำคัญคือ ต้องไม่เป็นผู้ที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทร คมนาคม ผู้ประกอบการโทรคมนาคม และในระยะไม่น้อยกว่า 5 ปีก่อนได้รับการเสนอชื่อ ต้องไม่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจโทรคมนาคมอันจะเป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัติ หน้าที่ เป็นต้น นอกจากนี้กรรมการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม หรือผู้รับผิดชอบโครงการของ สบท. ล้วนไม่มีสิทธิเป็นสมาชิกสภา ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้สภาผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมเป็นอิสระอย่างแท้จริง และสามารถทำงานเป็นปากเป็นเสียงให้กับผู้บริโภคได้อย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม
              

http://www.tci.or.th/news_show.asp?id=44

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
kb
http://camp02.blogspot.com/ camp02
http://kb1951.blogspot.com/ park
http://kbparks.blogspot.com/ kbpark
http://word1951.blogspot.com/ wordpress
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew