"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552

บทความพิเศษ//คลาวด์คอมพิวติ้งกับเศรษฐศาสตร์โมเดลใหม่บนระบบเครือข่ายขององค์กร (1)

 
 บทความพิเศษ//คลาวด์คอมพิวติ้งกับเศรษฐศาสตร์โมเดลใหม่บนระบบเครือข่ายขององค์กร (1)

แอนดี้ อินแกรม6/10/2552

            เครือข่ายดาต้าเซ็นเตอร์ คือ แนวโน้มสุดฮอตที่อยู่ท่ามกลางกระแสความสนใจของภาคเศรษฐกิจและภาคเทคโนโลยี  คลาวด์ คอมพิวติ้ง เมื่อนำมารวมพลังกับซอฟท์แวร์เทคโนโลยีต่างๆ ระบบการบริหารจัดเก็บข้อมูล และศักยภาพในการประมวลผลที่ทันสมัย ก็กลายมาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่บีบคั้นระบบเครือข่ายที่ใช้กันมาแต่เดิม แม้จะยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงก็ตาม ปัจจุบันนี้ หากองค์กรใดต้องการที่จะทำการย้ายถ่ายโอนข้อมูลหรือแอพพลิเคชั่น สิ่งแรกที่จะนึกถึงก่อน คือ ค่าใช้จ่าย จากนั้นค่อยมาเรื่องของประสิทธิภาพการทำงาน แล้วจึงค่อยมาเรื่องของความคล่องตัวในการรองรับงานตราบที่ยังใช้เครือข่าย เดิมอยู่ ซึ่งวิธีการคิดเช่นนี้ ยังประโยชน์ต่างกันไปในแต่ละองค์กร บ้างได้ผลดี และมีอีกมากที่กลายมาเป็นข้อจำกัดทางธุรกิจ

            คลาวด์คอมพิวติ้งดาต้าเซ็นเตอร์เป็นศูนย์กลางการให้บริการบนเครือข่ายเน็ตเวิร์คที่โยงใยลูกค้า, พาร์ตเนอร์, ทีมงาน แม้กระทั่งผู้ควบคุมดูแลระบบเข้าด้วยกัน โดยมีเทคโนโลยีเป็นตัวกำหนดความสามารถในการใช้งาน และสภาพเศรษฐกิจ (economics) และสภาพตลาดเป็นตัวกำหนดสิ่งที่ต้องทำ อาทิ ต้องยกเครื่องคุณภาพการบริการในภาวะที่งบประมาณถูกตัดอย่างรุนแรง หรือภาวการณ์เร่งด่วนที่ต้องรับมือกับการขยายตัวของดาต้าโดยห้ามกระทบการบริ การ  

            สภาพการณ์เช่นนี้สอดคล้องกับรูปแบบความต้องการปัจจุบัน  เทคโนโลยีได้เปิดช่องทางสู่การทำเวอร์ช่วลไลซ์ (virtualize) ตั้งแต่โครงสร้างส่วนกลาง การทำคอมพิวติ้งและระบบการจัดเก็บข้อมูล ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่กับขนาดของงานโอปะเรชั่นในชั่วพริบตา ในเวลาเดียวกัน บริษัทและผู้บริโภคทั่วไปก็มีความต้องการด้านการสื่อสารคอนเท้นท์ที่เข้มข้น กว่าเดิม ต้องการบริการที่เร็วยิ่งขึ้นโดยไม่มีข้อจำกัดของอุปกรณ์หรือสถานที่ และแน่นอนที่ว่า คลาวด์คอมพิวติ้ง เป็นคำตอบที่ลงตัวเหมาะเจาะกับสภาพการณ์ความต้องการปัจจุบัน - ถ้าเพียงแต่ดาต้าเซ็นเตอร์จะหาทางจัดการกับข้อจำกัดที่ฝังอยู่กับรูปแบบโครง สร้างเครือข่ายที่ออกแบบใช้งานมาแต่เดิมให้ได้

 

ต้นตอที่มาของความซับซ้อนของเครือข่ายเน็ตเวิร์คและความสำคัญต่อธุรกิจ

            ดา ต้าเซ็นเตอร์เน็ตเวิร์คทุกวันนี้ (ข้อยกเว้นน้อยมาก) ซับซ้อนและต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงมากเกินกว่าที่จะคิดถึงเรื่องคลาวด์คอม พิวติ้งได้ไหว  ผู้บริหารที่ดูแลด้านนี้ควรต้องพิจารณาแนวโน้มดังต่อไปนี้ภายในดาต้าเซ็นเตอร์ที่ตนดูแลอยู่:

โครงสร้างแอพพลิเคชั่น (New application architecture) - แอพพลิเคชั่นโมเดลเดิม "stateful client-server" จำกัดการสื่อสารทราฟฟิกของแอพพลิเคชั่นไว้แค่ "เหนือ/ใต้" ระ หว่างเซิร์ฟเวอร์และไคลเอนท์ ไม่สามารถขยายการบริการให้รองรับยูสเซอร์จำนวนมากได้ แค่จำนวนหลายหมื่นก็ลำบากแล้ว ลืมไปได้เลยกับจำนวนเป็นล้าน แต่ปัจจุบัน โครงสร้าง Web 2.0 ออกแบบให้มุ่งรองรับการให้บริการโดยเฉพาะ (service-oriented) สามารถกระจายปริมาณทราฟฟิกไปตามเซิร์ฟเวอร์ได้ 

 

รูปแบบใหม่ของคอนเท้นท์ (New content) - เมื่อเราเดินทางมาถึงจุดที่ทุกอย่างเป็น ดิจิตัล หมด ยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับรูปแบบของ คอนเท้นท์ ที่มีความเข้มข้นมากขึ้น ในรูปแบบตระการตามากกว่าเดิม แน่นอนว่าเกี่ยวข้องโดยตรงกับรูปแบบการสื่อสารและจัดเก็บ และทุกรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นกับข้อมูลเหล่านั้น นั่นย่อมหมายถึงความต้องการด้านอื่นๆ ที่เพิ่มเป็นเงาตามตัว

 

รูปแบบใหม่ของไคลเอนท์ (New client) - ไคล เอนท์ที่ใช้งานแพร่หลายในปัจจุบัน มาในรูปแบบอุปกรณ์ทันสมัยต่างๆ ทั้งแบบพกพาสะดวก หรือแบบไร้สาย ดังนั้นโครงสร้างของเซิร์ฟเวอร์และสตอเรจเก็บข้อมูลก็ต้องเอื้อต่อทิศทางการ เติบโตให้ทันกัน แน่นอนว่า ย่อมมาพร้อมกับทราฟฟิกปริมาณมหาศาลบนเน็ตเวิร์คและการเชื่อมต่อสื่อสารที่มี แต่จะซับซ้อนยิ่งขึ้นไปทุกที  ความพยายามที่ก้าวให้ ทัน หรือให้แซงแรงกดดันข้างต้นนี้เป็นยารักษาโรคได้เพียงระยะสั้นเท่านั้น หรืออาจจะเป็นการเพิ่มความยุ่งยากซับซ้อนเข้าไปอีกด้วยก็ได้ ตัวอย่างเช่น

อุปกรณ์มากมายหลายจำพวกบนเน็ตเวิร์ค (More network device) - ลง เอยด้วยเน็ตเวิร์คฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งเสริมเข้ามาเพื่อแก้ปัญหาด่วน ยิ่งเพิ่มความสับสนบนเครือข่าย ยิ่งเพิ่มจำนวนมากยิ่งเพิ่มความสับสนอลหม่านในการต่อเชื่อมสื่อสาร เพิ่มภาระงานล้นบนเครือข่าย ทำให้เกิดความล่าช้า และเกิดค่าใช้จ่ายแฝง

 

เน็ตเวิร์คเฉพาะทาง (Single purpose networks) - ดาต้าเซ็นเตอร์มักจะเพิ่มเน็ตเวิร์คเฉพาะทางเข้ามาในระบบเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะครั้งไป เช่น อีเธอร์เน็ตเคลื่อนย้ายข้อมูล, Fibre Channel SANs เชื่อมต่อระบบจัดเก็บข้อมูลกับเซิร์ฟเวอร์ หรือ InfiniBand ใช้ สื่อสารระหว่างเซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น แต่ระบบเน็ตเวิร์คย่อยๆ พวกนี้ กลายมาเป็นตัวการที่ทำให้การทำเวอร์ช่วลไลเซชั่นเป็นเรื่องซับซ้อนยุ่งยาก และเพิ่มภาระให้การปฏิบัติงานประจำวันในการดูแลบริหารระบบเครือข่าย

 

การรวมกลุ่มทรัพยากรและการบริหารเครือข่ายสู่ศูนย์กลาง (Concentration of recourses and management) - การรวมโครงสร้างพื้นฐานและการปฏิบัติการเข้าสู่ดาต้าเซ็นเตอร์ไม่ว่าจะเป็นของตัวเอง, เอ้าท์ซอร์ส หรือ co-located ล้วนทำให้การใช้งาน, ประสิทธิภาพที่ได้รับ และการบริหารดีขึ้น แต่ก็มีประเด็นที่ต้องกังวลเพิ่มขึ้นเช่นกันในเรื่องของประสิทธิภาพจากงาน, ความเสถียรต่อเนื่องในการใช้งาน หรือกระทั่งเรื่องของความปลอดภัย

 

การทำเวอร์ช่วลไลเซชั่น (Virtualization) - อีกหนึ่งวิธีของการรวบรวมทรัพยากรไว้ที่เดียวกัน คือ ทำเวอร์ช่วลไลเซชั่นเพื่อสร้างพื้นที่สตอเรจ, เซิร์ฟเวอร์ หรือทำเน็ตเวิร์คปาร์ติชั่นบนเซิร์ฟเวอร์ ทั้งที่จริงๆ แล้วมีอยู่เพียงไม่กี่ตัว วิธีนี้ช่วยเรื่องการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นแอพพลิเคชั่น ฮาร์ดแวร์ สร้างความยืดหยุ่นในการใช้และดูแลจัดการปริมาณงานบนระบบเครือข่ายได้ดี อย่างไรก็ตาม การใช้งานหรือการโอนถ่ายข้อมูลแบบเวอร์ช่วลนั้นเพิ่มแรงกดดันด้าน ประสิทธิภาพและความคล่องตัวของเครือข่าย

            ปัญหา เช่นนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ของเครือข่ายดาต้าเซ็นเตอร์ หากแต่อาการเตือนภัยมักจะพบได้ก่อนในสภาวะการทำงานที่เข้มข้น มีความกดดันสูง ที่มักจะส่งผลกระทบไปถึงองค์กรที่ถึงแม้จะไม่ได้มีแผนการว่าจะใช้คลาวด์คอม พิวติ้ง แต่ก็ยังต้องพึ่งพาอาศัยองค์ประกอบของเทคโนโลยีนี้อยู่ดี

http://www.siamrath.co.th/uifont/Articledetail.aspx?nid=4321&acid=4321

--
ขอเชิญอ่าน  blog.Thank you so much.
chan
http://integration9.blogspot.com/ integration
http://sundara21.blogspot.com/      sandara
http://same111.blogspot.com/        culture
http://sea-canoe.blogspot.com/      seacanoe

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew