"เชิญชวนทุกท่านร่วมสร้างสรรค์กฎหมายเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน"

อินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน
Blognone
Share |

Suthichai Online - ข่าวประจำวัน

วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ข่าวจาก สกว.(จดหมายข่าว biodata ฉบับที่ 96 วันที่ 28 พฤษภาคม 2552)


 

Subject: ข่าวจาก สกว.(จดหมายข่าว biodata ฉบับที่ 96 วันที่ 28 พฤษภาคม 2552)
From: biodata@trf.or.th
Date: Thu, 28 May 2009 10:40:50 +0700



สาร  biodata ฉบับที่ 96
โลกใบเล็ก (3)
 เรียน สมาชิก biodata ทุกท่าน

"โลกใบเล็ก" ฉบับจบครับ  อ่านให้จบ  เพราะตอนท้ายมีข่าวดีแถม                ปรากฎการณ์ "โลกเล็ก" ที่เป็นผลมาจากข้อต่อแบบอ่อนนี้พบในธรรมชาติหลายอย่าง   นักวิจัยสมองเคยศึกษาสมองแมวและสมองตั๊กแตน (สมองคนคงยังไม่ได้ทำ)  และก็พบว่าทั้งสองอย่างมีปรากฎการณ์ "โลกเล็ก" เหมือนกัน  คือสมองนั้นประกอบด้วยเซลล์หรือนิวรอนเป็นพันล้านตัว  ซึ่งจำเป็นต้องประสานงานกันจึงจะเกิด action ได้   ทีนี้ถ้ามีแต่ข้อต่อแบบแข็งระหว่างนิวรอนทีละคู่ๆ อย่างเดียว  กว่าที่สัญญาณจะกระโดดไปทีละช่วงๆ ก็จะกินเวลามาก  ไม่ทันกับการตอบสนองต่อสิ่งที่มากระทบ   แต่เขาพบว่าในสมองมีข้อต่อเชื่อมกันอยู่แบบอ่อนด้วย  คือมีทางลัดให้สัญญาณวิ่ง  จึงทำให้เซลล์สมองสามารถติดต่อส่งสัญญาณระหว่างกันได้เร็ว  และตัดสินใจปฏิบัติการได้ภายในเสี้ยววินาที   เช่นถ้ามือไปแตะของร้อนก็จะชักมือกลับได้ทันที

                ทั้งหมดนั้นมองในแง่ประโยชน์ของ "โลกเล็ก" แต่ในแง่ร้ายก็มีคู่กันนะครับ  เช่นเรื่องโรคระบาด ปกติถ้าเกิดโรคระบาดขึ้นก็มักจะติดต่อกันอยู่ภายในกลุ่มคนที่สนิทสนมกันหรือในชุมชนเดียวกัน (ซึ่งเป็นข้อต่อแบบ "แข็ง")  แต่ถ้าไม่คุมให้ดีก็จะเกิด "ทางลัด" ได้  คือคนที่นานๆเจอกันทีเกิดมาเจอกันเข้า   แล้วเชื้อโรคก็กระโดดจากวงหนึ่งไปยังอีกวงหนึ่ง   จากประเทศหนึ่งข้ามทวีปไปอีกประเทศหนึ่งได้   กลายเป็น "โลกเล็ก" ของโรคติดต่อ  (ทำให้นึกถึงไข้หวัดใหญ่ 2009  นะครับ)

แน่นอนว่าเราไม่อยากให้เกิดปรากฎการณ์ "โลกเล็ก"  กับโรคติดต่อ   ดังนั้น นักระบาดวิทยาก็ต้องทำความเข้าใจกับข้อต่อแบบอ่อนเหล่านี้  และพยายามควบคุมให้อยู่   จะเห็นได้ว่าเมื่อโรค SARS ระบาด  เขาจำกัดวงของคนเป็นโรคทันที  และติดตามว่าคนที่เป็นโรคนี้ไปไหนมาบ้าง  พูดกับใครบ้าง  พักอยู่ที่ไหน  และคนที่เขาติดต่อด้วยนั้นไปทำอะไรอยู่ที่ไหน  ต่อกันไปเป็นทอดๆ   เพื่อพยายามจะเข้าใจว่า "เครือข่าย" ในกรณีนี้มีข้อต่อและทางลัดอย่างไรนั่นเอง  แล้วจะได้ตัดข้อต่อเหล่านั้นเสีย

แต่นั่นเป็นการทำงาน"ตามหลัง"เหตุการณ์ สิ่งที่จะมีประโยชน์กว่าคือใช้แนวคิดของ "โลกเล็ก" นี้ทำงานดักหน้าสถานการณ์เพื่อเข้าใจเครือข่ายและข้อต่อที่มีอยู่   แล้วจะได้วางมาตรการป้องกันโรคระบาดก่อนที่มันจะระบาด  เช่นตัดข้อต่อแบบอ่อนออกเสียก่อน  และคุมข้อต่อแบบแข็ง (ซึ่งตัดไม่ได้)ให้ดี  ซึ่งเขากำลังทำอยู่กับโรคระบาดหลายอย่าง (ข้อต่ออ่อนตอนนี้น่าจะเป็นการเดินทางทางอากาศ  ที่ไวรัสกระโดดข้ามประเทศได้)

                (งานนี้มีคนนำไปใช้ในการโฆษณาด้วย  เขาเรียกว่า "โฆษณาแบบติดเชื้อ(viral marketing)" ครับ  คือพยายามให้คนติดใจผลิตภัณฑ์แล้วเล่าต่อกันเป็นทอดๆ  มุ่งที่การขาย "ภาพ" ของผลิตภัณฑ์ให้ติดอยู่ใน "หัว" คน  มากกว่าขายตัวผลิตภัณฑ์  และพยายามหยอดข้อมูลลงไปที่จุด "ข้อต่อแบบอ่อน" ต่างๆด้วย   เพื่อให้ข่าวของผลิตภัณฑ์กระจายไปได้เร็วและกว้างที่สุด  กล่าวคือใช้แนวคิดของระบาดวิทยาในมุมกลับ   คำขวัญของพวกนี้ก็คือ "ใช้ลูกค้าทำงานให้คุณ (Make your customers work for you)"  เก๋ดีไหมครับ  เราในฐานะที่เป็นผู้ "สร้างสรรค์ปัญญา"  จึงควรจะรู้ทันการตลาดไว้บ้าง  จะได้ไม่ถูกใช้ฟรีๆ และจะได้ "พัฒนาประเทศ" ได้อย่างยั่งยืนหน่อย) (เรื่องพยายามมาใช้ สกว. ฟรีๆ เพื่อเป็นเครื่องมือบางอย่างนี้มีจริงนะครับ ผมถือว่าเป็นการ marketing แบบ "อิง brand"  แบบสมัยก่อนที่ขายเหล้าพ่วงเบียร์  ตู้ ATM  ก็เป็นข้อต่ออ่อนระหว่าธนาคารกับลูกค้า  ที่ make your customers work for you)

สุดท้าย เรื่องข้อต่อแบบอ่อนนี้เกี่ยวกับการทำงานของ สกว. ด้วย   ที่เกี่ยวก็เพราะ สกว. เป็นองค์กรที่ทำงานด้วย "เครือข่าย" เป็นหลักใหญ่เลยทีเดียว   ไม่ใช่แค่ให้เงินทุนวิจัยเท่านั้น  แต่มีหน้าที่สร้างเครือข่ายวิจัยและบำรุงรักษาเครือข่ายให้เจริญงอกงาม   คุณค่าของ สกว. ในสังคมไทยจึงอยู่ที่นักวิจัย  ผู้ใช้ผลงานวิจัย  ผู้ประสานงาน  ผู้สนับสนุนในวงการต่างๆ   และความสัมพันธ์ระหว่างท่านเหล่านี้

แต่เรามักจะมีแนวโน้มมุ่งให้ความสนใจกับเครือข่ายที่มีความสัมพันธ์แบบ "แข็ง" เท่านั้น  คือนักวิจัยที่ทำงานอยู่ในกลุ่มสาขาวิชาเดียวกัน  มีอะไรสนใจร่วมกันเป็นหลัก  หรือถึงแม้จะข้ามสาขาวิชาได้ก็ยังติดอยู่ในกลุ่ม "ศาสตร์" เดียวกัน  ซึ่งนับจำนวนนักวิจัยจริงๆ แล้วก็คงมีคนไม่กี่สิบคนหรือร้อยคน  ในขณะที่คนไทยมีตั้ง 62 ล้านคนที่ควรจะเชื่อมต่อไปให้ถึง  จึงเรียกได้ว่านักวิจัยยังไม่ "สัมผัส" กับสังคมไทยจริงๆเลย (นี่คือที่มาของการทำงานของ สกว. ที่ออกนอกมหาวิทยาลัย  และการสร้างเครือข่ายกับ "กลไก" ต่างๆ  เพื่อการขยายเครือข่ายแบบข้อต่ออ่อน  ที่ "สาร biodata" เพียรพยายามยกตัวอย่างงานต่างๆ มาเขียนให้อ่านกัน  นั่นเอง  Biodata เองก็ถือได้ว่าเป็นข้อต่ออ่อนในการจัดการโจทย์วิจัย)

นักวิจัยส่วนใหญ่ก็มีความสุขอยู่กับการทำงานในแวดวงที่รู้จักคุ้นเคยเท่านั้น  คงยังไม่เคยออกไปทอดผ้าป่าแล้วคุยกับคนที่ไปคณะเดียวกัน  หรือคุยกับคนที่มาประชุมข้างๆ ห้องในเรื่องอื่น(ซึ่งเป็นเรื่องที่เรานึกว่าเรา"ไม่เกี่ยว")  หรือคุยกับคนงานขุดท่อที่มาทำงานอยู่หน้าบ้าน  หรือรัฐมนตรี(ถ้าเขายอมคุยด้วย)บ้าง   อันนี้หมายความว่าคุยด้วยความสนใจอยากจะรู้จักจริงๆ นะครับ  ไม่ใช่คุยฆ่าเวลา   น่าจะเป็นประโยชน์มากถ้าทำได้

แน่นอนว่าการเริ่มต้นเครือข่ายก็ต้องเริ่มจากข้อต่อแบบแข็งก่อน  เพราะเป็นฐานรากที่สำคัญในวงการวิชาชีพ   แต่เมื่อมีข้อต่อแบบแข็งพอสมควรแล้ว  ผมคิดว่าจำเป็นต้องสร้างข้อต่อแบบ "อ่อน" ไว้ให้มากพอสมควร เพราะในแง่ของการวิจัยนั้น  ข้อต่อแบบอ่อนจะทำให้เรารับรู้สถานการณ์จริง ข้อสนเทศจะไหลได้เร็วและทันเวลา อยากรู้เรื่องอะไรก็หาข้อมูลได้ (มีทางลัดให้ใช้)   เครือข่ายวิจัยจะเข้มแข็งขึ้น  และจะตอบสนองกับความเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้นอีกมาก

(เรื่องข้อต่อและเครือข่ายจึงกลายเป็นส่วนประกอบของการจัดการความรู้แบบหนึ่งนะครับ   มีผู้เคยให้นิยามของการ "จัดการความรู้" แบบหนึ่งว่าหมายถึง "การทำให้ข้อสนเทศถูกส่งไปยังคนที่ควรจะรู้  ภายในเวลาที่สมควร" หรือ "To make the right information available to the right people at the right time"  แปลว่าต้องส่งตัวข้อสนเทศ(หรือ information) ที่เหมาะสมและถูกต้องจริงๆ ไปให้ตัวคนที่ควรจะรู้ข้อสนเทศนั้น  ให้ทันเวลาที่เขาควรจะรู้  (คือไม่ใช่ส่งแบบเหวี่ยงแหไปให้ทุกคน  อย่างนั้นของดีๆอาจกลายเป็น "ขยะ" ได้ หรือถ้าเขาได้รับข้อสนเทศนี้ช้าไปก็ไม่มีประโยชน์) (สงสัยว่า "สาร biodata มีภาพลักษณ์เป็น right information, right people, right time หรือ junk ทั้งหมด  สมาชิกช่วยให้ความเห็นด้วย    เรามั่นใจว่า  ขณะนี้อย่างน้อยเราได้เป็นข้อต่ออ่อนที่ท่านใช้งานได้ด้วยตนเอง  คือการ search หานักวิจัยมาร่วมงานกัน)

นอกจากนี้โปรดสังเกตว่าสิ่งที่ถูกส่งผ่านนั้นคือข้อสนเทศ (information) นะครับ  ไม่ใช่ความรู้ ---- อาจจะเป็นเพราะว่าในมุมมองนี้ถือว่า "ความรู้" จริงๆ นั้นส่งผ่านไม่ได้  เพราะต้องเกิดขึ้นด้วยเงื่อนไขเฉพาะตัว  ด้วยประสบการณ์  วิจารณญาณ  ระบบคุณค่า  และอื่นๆ   พูดง่ายๆ คือแต่ละคนต้องบรรลุเอาเอง)

ทั้งหมดนี้เรียกว่าเป็น "โลกเล็ก" ของวงการวิจัยนะครับ   ซึ่ง สกว.อยากให้เกิด  เพื่อให้เครือข่ายวิจัยของประเทศไทยเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพสูง   เรียกว่าเราไปเที่ยวที่ไหน  คุยกับใครก็ตาม  ก็จะได้ข้อสนเทศมาใช้ในงานวิจัย   หรือได้ "ข้อต่อแบบอ่อน" ไว้ใช้ในยามที่จำเป็นได้ (และแน่นอนว่าเรื่องนี้เกิดผลทั้ง 2 ทาง  คือคนที่เราไปคุยด้วยเขาก็มีข้อต่อแบบอ่อนที่จะติดต่อกับเราเหมือนกัน  เผื่อคนงานขุดท่อมีอะไรสงสัยอาจจะอยากติดต่อกับนักวิจัย   หรือรัฐมนตรีอยากได้ information บางเรื่อง)   และอีกหน่อยก็หวังว่าไม่ว่าเราจะไปที่ไหนก็ตาม  จะพบคนที่เคยเกี่ยวข้องกับ สกว. เสมอ  แล้วเราก็จะอุทานว่า "โลกกลม!"

ขอต่อฉบับหน้าครับ  ระหว่างนี้ฝากลองนึกดูว่าท่านมีข้อต่อแบบอ่อนกับใครที่ไหนบ้าง? 

ปิยะวัติ  

                จบเรื่อง "โลกใบเล็ก" แล้วครับ   และอาจารย์ปิยะวัติก็พ้นวาระการบริหาร สกว. แล้ว  แต่ท่านก็ยังเป็น "ข้อต่ออ่อน" ของวงการวิจัยอยู่   คนงานขุดท่อบ้านใครอยากทำวิจัย  สมาชิก biodata ก็สามารถทำตัวเป็นข้อต่ออ่อนกระโดดลัดมาที่ biodata ได้   

                ข้อเขียนเหล่านี้ของ อ. ปิยะวัติ  รวมประมาณ 260 หน้า   สกว. จัดพิมพ์เป็น limited edition  แจกให้กับเครือข่าย สกว.  เป็นหนังสือหายาก  น่าอ่านทุกเรื่อง  Biodata จะแบ่งมาจำนวนหนึ่งใช้จัดสรรเป็นรางวัลให้กับสมาชิกตามเงื่อนไขข่าวดีข้างล่างนี้   

                ข่าวดีประจำฉบับ

                ขณะนี้คงทราบแล้วว่าตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม  เราจัดสมาชิกภาพออกเป็น 3 สถานะ (เงิน ทอง พลาตินัม  ตามเงื่อนไขใน "สาร biodata" ฉบับ 88)  การแจกในโอกาสแรกนี้คือแก่สมาชิกที่มี record สูงสุดในแต่ละสถานภาพ  ท่านละ 1 เล่มพร้อมลายเซ็นต์ อ. ปิยะวัติ  โดยจัดส่งทางไปรษณีย์ สิ้นเดือนหน้า (30 มิถุนายน)  Biodata จะแจกกับสมาชิกที่มีการเพิ่มข้อมูลในรอบเดือนมากที่สุด 1 ท่าน  และเราจะเปลี่ยนกติกาไปเดือนละอย่าง  เพื่อกระจายโอกาสให้กับทุกคน  หนังสือมีจำกัดมาก  หมดแล้วหมดเลย


 

ตามเงื่อนไขการจัดสถานภาพสมาชิก

สมาชิกทุกท่านมีสถานะเป็น silver member  การเปลี่ยนสถานะจะเริ่มวันที่ 1 พฤษภาคม 2552  ซึ่งขึ้นกับจำนวนข้อมูลของท่านดังตารางและอายุ


* คิดเฉพาะ record ของผลงานตีพิมพ์ ทุนวิจัย และการเป็นที่ปรึกษา (นักศึกษาบัณฑิตศึกษา/อุตสาหกรรม/ภาคราชการ) โดยมีคะแนน record ละ 10 คะแนน 
ท่านที่ได้คะแนนสูงสุดของแต่ละสถานภาพมีดังนี้

อายุ
Platinum
Gold
Silver
น้อยกว่า 30   ดร ธรรมนูญ ศรีทะวงศ์ ดร.สุขุม อิสเสงี่ยม
30 – 40 ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ นายพรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ ดร.โชติรัตน์ รัตนามหัทธนะ
40 – 50 ดร.อัญชลีพร วาริทสวัสดิ์ หล่อทองคำ ดร.วราวุฒิ ครูส่ง ดร.สนทยา ลิ้มมัทวาภิรัติ์
      ดร.พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล
      ดร. ฉัตรไชย รัตนไชย
50 ขึ้นไป   ดร อนุวัฒน์ ศิริวัฒน์ ดร.ศุภวรรณ ตันตยานนท์

ขอให้สนุกกับการอ่านครับ

 ข่าวประชาสัมพันธ์
ประกาศโจทย์ สำนักประสานงานชุดโครงการวิจัยโลจิสติกส์ ปี 2552  ที่มา : คุณเวธนี (ฝ่าย5)  [22-พ.ค.-2009]  

ประกาศทุนของสกว.อื่นๆ  คลิก
รายการวิจัยไทยคิด วันอาทิตย์ที่ 31 พ.ค. 52  เวลา 16.00 น. สถานีทีวีไทย สัปดาห์นี้ เสนอตอน
"นวัตกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ" และสามารถติดตามชมตอนที่ผ่านมาได้    คลิก

ข้อมูล biodata ล่าสุด
ข้อมูลถึงวันที่ 28 พฤษภาคม 2552 มีผู้ลงทะเบียนทั้งสิ้น 9,102 ราย

 

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
28 พฤษภาคม 2552




See all the ways you can stay connected to friends and family

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
http://facthai.wordpress.com/ ต้องรู้เท่าทันในการรับรู้ข่าวสารจากทุกแหล่งข่าว/ FACT - Freedom Against Censorship Thailand กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย http://facthai.wordpress.com/ http://twitter.com/jiew