ธปท.พบการเปลี่ยนแปลงการลงทุนในการหากำไรจากดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ โดยหันมาปล่อยกู้กันเองระหว่างธนาคาร และปล่อยสินเชื่อด้วยการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตร ธปท.และตราสารหนี้ภาคเอกชนมากขึ้น ...
นางฤชุกร สิริโยธิน ผู้อำนวยการอาวุโสสายวิเคราะห์และติดตามฐานะสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ไตรมาสแรกที่ผ่านมา ระบบธนาคารพาณิชย์ยังคงมีรายได้จากดอกเบี้ยจากการปล่อยสินเชื่อประมาณ 70% ของรายได้รวม ขณะที่รายได้อื่นๆที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย เช่น ค่าธรรมเนียมและปริวรรตเงินตรา อยู่ที่ 30% และหากเทียบรายได้ที่ธนาคารพาณิชย์ได้จากดอกเบี้ยในไตรมาสแรกของปีนี้เทียบกับเดือน ธ.ค.ปีที่ผ่านมา ลดลง 8% ขณะที่รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยลดลง 4.8%
ทั้งนี้ ธปท.เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงการลงทุนในการหากำไรจากดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ โดยหันมาปล่อยกู้กันเองระหว่างธนาคาร (อินเตอร์แบงก์) และปล่อยสินเชื่อด้วยการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล พันธบัตร ธปท.และตราสารหนี้ภาคเอกชนมากขึ้น โดยในไตรมาสแรกของปีนี้ ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อในอินเตอร์แบงก์เพิ่มขึ้น 15.6% จากการขยายตัว 12.5% ในไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมา ขณะที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและ ธปท.เพิ่มขึ้นเป็น 9.9% จาก 8.9% และลงทุนในตราสารหนี้เพิ่มขึ้นเป็น 15.6% จาก 14.9% ขณะที่ยอดการเพิ่มของการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น 4.8% ในเดือน พ.ค.เทียบกับ 11.6% สิ้นไตรมาสที่ 4 ปีที่ผ่านมา
"ธปท.มองว่าถึงแม้ว่าตลาดสินเชื่อจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แต่หากเลือกได้ ธนาคารพาณิชย์จะยังคงเป็นการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจและประชาชนเป็นรายได้หลัก แต่ก็ต้องยอมรับว่าในช่วงที่ลูกหนี้มีความเสี่ยงมากขึ้น ธนาคารพาณิชย์ก็ต้องปรับตัว เพราะขณะนี้สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์มีสูงถึง 2.2 ล้านล้านบาท คิดเป็น 5 เท่าของสภาพคล่องที่ ธปท.ให้สำรองตามเกณฑ์สำรองเงินสด และหากคิดเฉพาะสภาพคล่องส่วนเกินในขณะนี้มีสูงถึง 1.7 ล้านล้านบาท ธนาคารพาณิชย์จึงคงอยากจะลงทุนในพันธบัตรหรือการขอสินเชื่อของรัฐบาล หากรัฐบาลต้องการที่จะระดมเงินกู้ตาม พ.ร.ก. และ พ.ร.บ.กู้เงิน 800,000 ล้านบาทมากขึ้นในช่วงต่อไป เพราะมีความเสี่ยงต่ำกว่าการปล่อยสินเชื่อ".
ทีมข่าวเศรษฐกิจ
http://www.thairath.co.th/content/eco/17866
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
เพิ่มแผนที่และทิศทางไปสู่งานปาร์ตี้ของคุณ แสดงเส้นทาง!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น